บทความ

ประวัติวันครู ดอกไม้วันครู งานวันครู

ประวัติวันครู

วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2500 หลังจากพระราชบัญญัติครูประกาศใช้ 12 ปี สถานที่จัดงานวันครูครั้งแรกของจังหวัดพระนครและธนบุรี คือ กรีฑาสถานแห่งชาติ

จุดเริ่มต้นของการมีวันครู มาจากความปราถนาและการเรียกร้องของครูจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งปรากฏในหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนอื่นๆ หลายด้านหลายทางความเห็นของครูที่แสดงออกมานั้นพยายามที่จะชี้ให้เห็นความสำคัญของครู และอาชีพครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก จึงควรที่จะมีวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู เปิดโอกาสให้ครูทั้งหลายได้พักผ่อน ได้บำเพ็ญกุศล และตลอดจนดำรงกิจกรรมอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของครู และการศึกษาของชาติตามควร

จากความต้องการและการเรียกร้องของครูดังกล่าว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา กิตติมศักดิ์ ได้นำไปเสนอในที่ประชุมผู้แทนคณะครูทั่วประเทศไทยในคราวประชุมสามัญของคุรุสภา เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2499 ที่ประชุมสามัญของคุรุสภามีมติเห็นชอบและให้เสนอคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาพิจารณาเพื่อกำหนดให้มีวันครูขึ้น โดยกำหนดความมุ่งหมายไว้เพื่อประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจาร์ย เพื่อส่งเสริมสามัคคคีธรรมระหว่างครูกับประชาชน ส่วนกำหนดวันเห็นควรกำหนด วันที่ 16 มกราคม ซึ่งเป็นวันประกาศพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 ใน ราชกิจจานุเบกษา เป็นวันครู

คณะกรรมการอำนวยคุรุสภาในการประชุมเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2499 ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อศึกษารายละเอียด คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่ากิจกรรมในงานวันครูควรมีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ในตอนบ่ายเป็นพิธีระลึกพระคุณบูรพาจารย์และปฏิญาณตน นอกนั้นให้มีกิจกรรมพิเศษเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพครูด้วยกันและระหว่างครูกับประชาชน

ต่อมาคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาในคราวประชุมเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ได้มีมติรับข้อเสนอของคณะอนุกรรมการและให้กระทรวงศึกษาธิการนำเสนอรัฐบาลเพื่อให้กำหนดวันที่ 16 มกราคม เป็นวันครูซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศิกายน พ.ศ. 2499 ให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้เด็กและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ วันครูจึงได้เริ่มจัดขึ้นในปีแรกตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 เป็นต้น

การจัดงานวันครู ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์สำคัญที่ได้กระทำมาแต่ต้น คือ หนังสือประวัติวันครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ

ดอกไม้วันครู

คณะกรรมการจัดงานวันครู พ.ศ. 2539 ได้มีมติกำหนดให้ดอกกล้วยไม้เป็นดอกประจำวันครู โดยพิจาราณาเห็นว่าธรรมชาติของดอกกล้วยไม้มีลักษณะคล้ายคลึงกับงานจัดการศึกษาและสภาพชีวิตครู ดังคำกลอนของ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ปูชนียบุคคลแห่งวงการศึกษาไทย ที่ว่า

จากคำประพันธ์ข้างต้นที่เปรียบเทียบดอกกล้วยไม้กับชีวิตครู ด้วยเพราะกว่ากล้วยไม้แต่ละช่อจะผลิดอก ให้เราได้ชื่นชม ต้องใช้เวลานานและต้องการดูแลเอาใจใส่ไม่น้อย เช่นเดียวกับครูแต่ละคน กว่าจะสั่งสอนเคี่ยวเข็ญ ศิษย์คนแล้วคนเล่าให้มีความเจริญงอกงามก้าวหน้าในชีวิตได้ ก็ต้องใช้เวลาอบรบสั่งสอนมิใช่น้อยเช่นกัน

นอกจากการศึกษาที่ครูได้มอบให้ศิษย์แล้ว ครูยังได้มอบสิ่งมีค่ามากที่สุด คือ ความรักและเสียสละจาก หัวใจของความเป็นครู วันครูที่ 16 มกราคม ของทุกปี จึงขอเชิญชวนทุกท่าน “รำลึกถึงพระคุณครู กลับไปไหว้ คารวะครู” และหากจะมีวันครูเพื่อประกอบพิธีกรรมสักวันหนึ่งดังที่เป็นมาก็ดีแล้ว แต่จะดีกว่านั้นถ้าเรา ตระหนักกันให้ได้ว่า “วันครู” มีอยู่ทุก ๆ วัน

Powered by GliaStudio

การศึกษาไทย

เว็บไซต์ข่าวสารการศึกษาของครูและบุคลากรทางการศึกษา อัพเดททุกวัน ติดตามเราเพื่อไม่พลาดความเคลื่อนไหว ของข่าวสารการศึกษา ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button