จี้ศธ. ดันร่างกม.การศึกษาชาติเข้าสภา หวั่นหากเปลี่ยนรัฐบาลทำ พรบ.ชะงัก

นายดิเรก พรสีมา ประธานสมัชชาเครือข่ายครูและ บุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.คท.) เปิดเผยว่า กรณีที่หลายฝ่ายออกมาเรียกร้องให้รัฐบาล และ น. ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ถอน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. … ออกจากการพิจารณา ของสภาผู้แทนราษฎรนั้น ส่วนตัวคิดว่ารัฐบาลและ ศธ.ควร เร่งผลักดันร่างนี้เข้าสู่สภาโดยเร็ว ส่วนรายละเอียดใดที่ยัง ไม่ชัดเจน ให้ไปปรับแก้ในขั้นคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ซึ่ง ถือเป็นขั้นตอนปกติในการพิจารณากฎหมายทั่วไป“พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่มีประโยชน์ จะทำให้ การปฏิรูปการผลิตและพัฒนาครูเป็นไปตามแนวทางใหม่ได้ ซึ่งจะสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ไม่ใช่เป็นไปตาม ความต้องการของผู้ผลิตเหมือนที่ผ่านมา โดยใน พ.ร.บ.การ ศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ กำหนดให้มีคณะกรรมการดูแลเรื่อง การผลิตและพัฒนาครู ทำให้ความต้องการของผู้ใช้และ ผู้ผลิตเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นข้อดี เพราะปี 2570 ความต้องการครูใหม่จะลดลง เหลือประมาณปีละ 7 พันคน เนื่องจากอัตราเกษียณและประชากรที่เกิดใหม่ลดลง สถาบัน ผลิตครูจะต้องปรับเปลี่ยนบทบาท เน้นทำหน้าที่พัฒนาครู ให้มากขึ้น จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในการพัฒนาครูให้ มีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนให้ตรงตามศตวรรษ ที่ 21 มากขึ้น” นายดิเรกกล่าวนายดิเรกกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม อนาคตคุณลักษณะ ผู้เรียน คุณลักษณะคนไทย จะเปลี่ยนไป ดังนั้น คุณลักษณะ ของครูต้องเปลี่ยน หากจะเปลี่ยนได้ต้องปรับการเรียนการ สอนในสถาบันการผลิตครู ให้นักเรียน นักศึกษาแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์มากขึ้น ส่วนที่ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนช่วย จัดการศึกษามากขึ้นนั้น ถ้าสามารถจัดการศึกษาได้ดี ก็ต้อง ให้โอกาส เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้เรียนเป็นอันดับแรก และคิดว่ามีเพียงภาคเอกชนส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่จะเข้ามาทำ เรื่องนี้ได้
“ผมมีข้อที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.ฉบับนี้ แต่คิดว่าเป็น เรื่องเล็กน้อย บางเรื่องไม่ควรกำหนดไว้ในกฎหมายแม่ แต่ไปกำหนดรายละเอียดได้ในกฎหมายลูก ทั้งร่าง พ.ร.บ.อาชีวศึกษา พ.ศ. … ร่าง พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ. … เป็นต้น อีกเหตุผลหนึ่งที่ต้องเร่ง ผลักดันกฎหมายฉบับนี้ หากนับตั้งแต่รัฐประหารปี 2557 ถือว่า พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติล่าช้ามานานกว่า 7 ปี ขณะที่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ไม่มีผลบังคับใช้ ทำให้ การพัฒนาการจัดการศึกษาหยุดชะงัก อย่างด้านอาชีวศึกษา ที่ต้องเร่งพัฒนาฝีมือแรงงาน ก็ทำไม่ได้ เพราะรอความ ชัดเจนของกฎหมายใหม่ ขณะเดียวกันยังกังวลว่าหาก เปลี่ยนแปลงรัฐบาล จะยืดเยื้อออกไปอีก ต้องเริ่มนับหนึ่ง ใหม่ กว่าจะตั้งไข่ได้ ต้องใช้เวลา 1-2 ปี ทำลายโอกาสของ ประเทศมากยิ่งขึ้น” นายดิเรกกล่าว
ที่มา มติชน ฉบับที่ 15833 วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 หน้า7