สรุปลักษณะการวิจัยในชั้นเรียนแบบง่าย

241
1

“การวิจัยแบบง่าย” คือ การศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนอย่างมีระบบ เชื่อถือได้ สอดคล้องกับการปฏิบัติงานตามปกติของครู และเขียนรายงานสั้น ๆ มีความสมบูรณ์ในตัวเอง

“การวิจัยแบบง่าย” เป็นแนวทางหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research: CAR) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนของครู โดยการทำวิจัยแบบง่าย ซึ่งครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังนี้

  1. เป็นการพัฒนานักเรียนอย่างเป็นระบบ เชื่อถือได้
  2. ดำเนินการในสภาพการทำงานตามปกติของครู โดยครูเป็นผู้วิจัย

หลักการ

การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เป็นกระบวนการแก้ปัญหา และพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือ การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีจิตใจที่ดีงาม และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เป็นกระบวนการแก้ปัญหาแบบส่วนร่วมระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนอย่างแท้จริงที่ตอบสนองการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบ

การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มุ่งแก้ปัญหาที่เป็นปัญหาที่เกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนเป็นครั้ง ๆ ไป เป็นการวิจัยปัญหาของผู้เรียนในชั้นเรียนของตนเอง เพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนเฉพาะชั้นเรียนนั้นๆ  

เป้าหมายที่สำคัญของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน คือ การวิจัยเพื่อสร้างและพัฒนางาน พัฒนาคน และพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา และองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป

สรุปลักษณะการวิจัยในชั้นเรียนแบบง่าย

  1. ผู้ทำวิจัยยังคงทำงานตามปกติของตน
  2. ไม่ต้องสร้างเครื่องมือวิจัย (แต่สร้างเครื่องวัดผล)
  3. ไม่มีข้อมูลจำนวนมาก และไม่ต้องใช้สถิติที่ซับซ้อน
  4. ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากการสังเกต การพูดคุย และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
  5. ไม่ต้องทบทวนรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  6. ใช้เวลาทำวิจัยไม่นาน
  7. ความยาว 2 – 3 หน้าต่อเรื่อง
  8. นักเรียนได้รับการพัฒนา
  9. ไม่มีระบุประชากร การสุ่มตัวอย่าง
  10. ไม่ต้องใช้สถิติสรุปอ้างอิง และไม่มีระดับนัยสำคัญ
  11. ไม่มีการทดสอบก่อน หลัง
  12. ไม่มีกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม
  13. เน้นการแก้ไขที่สาเหตุของปัญหาของนักเรียน บางคน  บางเรื่อง

คลิกให้คะแนนโพสต์นี้!
[รวม: 1 เฉลี่ย: % เฉลี่ย%]
บทความก่อนหน้านี้ตัวอย่างข้อตกลงในการพัฒนางาน PA ครูกับผู้บริหารสถานศึกษา
บทความถัดไปวิทยฐานะครู มีอะไร? บ้างมาดูกัน

1 ความคิดเห็น

  1. […] ขอบเขตการวิจัยในชั้นเรียนนั้นจะให้ความสำคัญกับการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม  […]

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่