สรุปย่อ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
- ให้ไว้ ณ วันที่ 14 สิงหาคม 2542 ประกาศ ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2542
- มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2542 รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการ
- เกิดจากหมวด 5 มาตรา 81 ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ (จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ)
มาตรา 4 การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคล และสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสรรค์สร้าง จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้ อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต
- การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
- การศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่า การศึกษาอันเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
- การประกันคุณภาพภายใน หมายความว่า การประเมินผล และการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรในสถานศึกษา / หน่วยงานต้นสังกัด
- การประกันคุณภาพภายนอก หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพทางการศึกษา ( สมศ )
- ผู้สอน หมายความว่า ครู และคณาจารย์ในสถานศึกษาต่าง ๆ
- ครู หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพ ซึ่งที่มีหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ในสถานศึกษา ทั้งรัฐ และเอกชน
- คณาจารย์ หมายความว่า บุคลากร ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอน และการวิจัย ในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐ/เอกชน(ข้อสังเกต ไม่มีคำว่า วิชาชีพ/การเรียน/การส่งเสริม)
- ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพ ที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษา ทั้งรัฐ และเอกชน
- ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพ ที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษา นอกสถานศึกษา ตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
- บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งทำหน้าที่ในการให้บริการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มี 9 หมวด 78 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล
หมวดที่ 1 บททั่วไป ความมุ่งหมาย และหลักการ ( มาตรา 1 – 9 )
มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
มาตรา 8 หลักการจัดการศึกษา มีองค์ประกอบ ดังนี้
- เป็นการศึกษาตลอดชีวิต สำหรับประชาชน
- ให้สังคมมีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษา
- การพัฒนาสาระ และกระบวนการเรียนรู้ ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
หมวดที่ 2 สิทธิ และหน้าที่ทางการศึกษา ( มาตรา 10 – 14 )
มาตรา 10 การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิ และโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้ อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และไม่เก็บค่าใช้จ่าย
- การศึกษาสำหรับคนพิการ รัฐต้องจัดให้ตั้งแต่แรกเกิด หรือพบความพิการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลือ
- บุคคลที่มีความสามารถพิเศษ รัฐต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคล ( ความแตกต่างระหว่างบุคคล )
มาตรา 13 บิดามารดา หรือผู้ปกครอง มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ ( การศึกษาตามอัธยาศัย )
- การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และการศึกษาบุตร
- เงินอุดหนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การลดหย่อน หรือยกเว้นภาษี สำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษา
มาตรา 14 บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และอื่น ๆ มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ ( การศึกษาตามอัธยาศัย )
- การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และการศึกษาบุตร
- เงินอุดหนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การลดหย่อน หรือยกเว้นภาษี สำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษา
หมวดที่ 3 ระบบการศึกษา ( มาตรา 15 – 21 )
มาตรา 15 ระบบการศึกษา มี 3 ระบบ
- การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลา
ของการศึกษา การวัดผล และประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่ แน่นอน
- การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการ
ศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษา
- การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ
มาตราที่ 16 การศึกษาในระบบ มี 2 ระดับ คือ
- การศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดให้ไม่น้อยกว่า 12 ปี ก่อนอุดมศึกษา
- การศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา
มาตรา 17 การศึกษาขั้นบังคับ จำนวน 9 ปี โดยเด็กอายุย่างเข้าปีที่ 7 เข้าเรียนในสถานศึกษา
มาตรา 18 การจัดการศึกษาปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดในสถานศึกษา ดังนี้
- สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย เช่น ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
- โรงเรียน เช่น โรงเรียนรัฐ / เอกชน
- ศูนย์การเรียน
หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา (มาตรา 22 – 30) เป็นหัวใจของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ
มาตรา 22 การจัดการศึกษายึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ และถือว่า ผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ
มาตราที่ 23 จุดเน้นในการจัดการศึกษา ( ทั้ง 3 ระบบ )
- ความรู้ คุณธรรม 3. กระบวนการเรียนรู้ 4. บูรณาการ ตามความเหมาะสม ดังนี้
- ความรู้เกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม รวมถึงประวัติความเป็นมาของสังคมไทย และระบอบการปกครอง
- ความรู้ และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
- ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
- ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
- ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
มาตรา 25 รัฐส่งเสริมการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต
มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดประเมินผู้เรียน ควบคู่กับกระบวนการเรียนการสอน ( โดยถือว่า
การประเมินผล เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษา และเป็นหน้าที่ของสถานศึกษา )
มาตรา 27 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนด หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรา 30 สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมผู้สอนให้
สามารถวิจัย เพื่อพัฒนาผู้เรียน
หมวด 5 การบริหาร และการจัดการศึกษา ( มาตรา 31 – 46 )
ส่วนที่ 1 การบริหาร และการจัดการศึกษาของรัฐ
มาตรา 32 การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวง ที่เป็นองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภา จำนวน 4 องค์กร คือ ( ข้อสอบแน่ ๆ )
- สภาการศึกษา มีหน้าที่
- พิจารณา เสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ กับการศึกษาทุกระดับ
- พิจารณาเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา
- พิจารณาเสนอนโยบาย และแผน ในการสนับสนุนทรัพยากร เพื่อการศึกษา
- ดำเนินการประเมินผลการจัดการศึกษา
- ให้ความเห็น และคำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมาย และกฎกระทรวง
- คณะกรรมการสภาการศึกษา ( จำนวน 59 คน )ประกอบด้วย ( ข้อสอบ )
- ประธานกรรมการ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- กรรมการโดยตำแหน่ง
- ผู้แทนองค์กรเอกชน
- ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ
- ผู้แทนคณะสงฆ์
- ผู้แทนศาสนาอิสลาม
- ผู้แทนศาสนาอื่น
- ผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่น้อยกว่ากรรมการประเภทอื่นรวมกัน ( 30 คน )
- เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นกรรมการ และเลขานุการ ( เป็นนิติบุคคล )
- คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่ พิจารณา เสนอแผนพัฒนามาตรฐาน และ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( ข้อสอบ )
- คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ( ข้อสอบออกแน่ ๆ )
- กรรมการโดยตำแหน่ง ( ปลัดกระทรวง / เลขาฯ สภา / เลขาฯ อุดมศึกษา / เลขาฯ อาชีวศึกษา / เลขาฯ คุรุสภา / ผอ.สำนักงบประมาณ / ผอ.สำนักสอนวิทย์ และเทคโนฯ / ผอ.สำนักรับรองมาตรฐาน และประกันคุณภาพ)
- ผู้แทนองค์กรเอกชน
- ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ ( ไม่มีผู้แทนศาสนา )
- ผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่น้อยกว่ากรรมการประเภทอื่นรวมกัน ( 12 คน และผู้แทนพระ 1 รูป )
- เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกรรมการ และเลขานุการ ( เป็นนิติบุคคล )
- คณะกรรมการการอาชีวศึกษา ( ลักษณะคล้ายกันกับคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน )
- คณะกรรมการการอุดมศึกษา ( ลักษณะคล้ายกันกับคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน )
มาตรา 37 การบริหาร และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึง
- ปริมาณสถานศึกษา
- จำนวนประชากร
- วัฒนธรรม
- ความเหมาะสมด้านอื่น ๆ ( ข้อสอบออกแน่ ๆ )
- รัฐมนตรีกระทรวง โดยคำแนะนะของ สภาการศึกษา มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดเขตพื้นที่การศึกษา ( ข้อสอบ )
มาตรา 38 คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจในการ กำกับ ดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษา ( ข้อสอบออกแน่ ๆ )
- คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ( จำนวน 15 คน )ประกอบด้วย
- ผู้แทนองค์กรชุมชน
- ผู้แทนองค์กรเอกชน
- ผู้แทนองค์กรส่วนท้องถิ่น
- ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู
- ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษา
- ผู้แทนสมาคมผู้ปกครอง และครู
- ผู้ทรงคุณวุฒิ
- ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา เป็นกรรมการ และเลขานุการ
- คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย
- ผู้แทนผู้ปกครอง
- ผู้แทนครู
- ผู้แทนองค์กรชุมชน
- ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ผู้แทนศิษย์เก่า
- ผู้แทนพระภิกษุ/องค์กรศาสนาอื่น
- ผู้ทรงคุณวุฒิ
- ผู้บริหารสถานศึกษา เป็นกรรมการ และเลขานุการ
ส่วนที่ 2 การบริหาร และการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มาตรา 41 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาได้ทุกระดับ
ส่วนที่ 3 การบริหาร และการจัดการศึกษาของเอกชน
มาตรา 44 สถานศึกษาเอกชน เป็น นิติบุคคล
- คณะกรรมการสถานศึกษาเอกชน ประกอบด้วย
- ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน
- ผู้รับใบอนุญาต
- ผู้แทนผู้ปกครอง
- ผู้แทนองค์กรชุมชน
- ผู้แทนครู
- ผู้แทนศิษย์เก่า ( ไม่มีผู้แทน องค์กรส่วนท้องถิ่น และ ศาสนา )
- ผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา 45 สถานศึกษาเอกชน มีสิทธิจัดการศึกษาได้ทุกระดับ
หมวดที่ 6 มาตรฐาน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา ( มาตรา 47 – 51 )
มาตรา 47 ให้มีระบบประกันคุณภาพทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษา
ทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก
มาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน โดยให้ถือว่า การประกันคุณภาพภายใน
- เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา
- ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
- จัดทำรายงานประจำปีเสนอหน่วยงานต้นสังกัด / หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- เปิดเผยต่อสาธารณชน
มาตรา 49 ให้มี สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพทางการศึกษา มีฐานะเป็น
องค์กรมหาชน มีหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการ และทำการประเมินคุณภาพภายนอก เพื่อตรวจสอบ คุณภาพ ของสถานศึกษา อย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุก 5 ปี นับแต่ประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชน
มาตรา 51 กรณีผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษา ไม่ได้มาตรฐานให้ สมศ. จัดทำข้อเสนอแนะ การปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่กำหนด หากไม่ดำเนินการให้รายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หมวดที่ 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ( มาตรา 52 – 57 )
มาตรา 53 ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา มีฐานะเป็นองค์กรอิสระ ภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพ มีอำนาจ ( ทำให้เกิด พ.ร.บ.สภาครู ฯ )
- กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ / ออก และเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการ
ปฏิบัติตามมาตรฐาน และจรรยาบรรณของวิชาชีพ / พัฒนาวิชาชีพ
- ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน
ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ยกเว้น
- บุคลากรที่จัดการศึกษา ตามอัธยาศัย
- ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตการศึกษา
- วิทยากรพิเศษทางการศึกษา
- คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ในระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา
หมวดที่ 8 ทรัพยากร และการลงทุน เพื่อการศึกษา ( มาตรา 58 – 62 )
มาตรา 59 บรรดาอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาของรัฐ ที่เป็นนิติบุคคลได้มา โดยมีผู้อุทิศให้หรือซื้อ แลกเปลี่ยนจากรายได้ของสถานศึกษาไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุ ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสถานศึกษา ( ข้อสอบ )
- บรรดารายได้ และผลประโยชน์ต่าง ๆ ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง ให้จัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาได้
หมวดที่ 9 เทคโนโลยี เพื่อการศึกษา ( มาตรา 63 – 69 )
มาตรา 63 รัฐต้องจัดคลื่นความถี่ สื่อตัวนำ โครงสร้างพื้นฐานอื่น ที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษา
มาตรา 64 รัฐส่งเสริม และสนับสนุนการผลิต และพัฒนาแบบเรียน โดนเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
บทเฉพาะกาล ( มาตรา 70 – 78 )
มาตรา 70 บรรดา กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ใช้บังคับอยู่ ให้ใช้ต่อไป แต่ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ พ.ร.บ. บี้ บังคับใช้ ( ข้อสอบ )
มาตรา 71 กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานทางการศึกษา และสถานศึกษา ที่มีอยู่ในวันที่ พ.ร.บ.บังคับใช้ ให้ใช้ต่อไป แต่ไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่ พ.ร.บ. บี้ บังคับใช้
มาตรา 72 ห้ามมิให้ใช้ มาตรา 10 ( การศึกษาพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ) มาบังคับใช้ จนกว่าจะมีการดำเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. แต่ต้องไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญบังคับใช้
- ภายใน 6 ปี นับแต่วันที่ พ.ร.บ.นี้บังคับใช้ ให้มีการประเมินภายนอกทุกแห่ง ( 2548 )
มาตรา 75 ให้จัดตั้งสำนักงานปฏิรูปทางการศึกษา เป็น องค์กรมหาชนเฉพาะกิจ
มาตรา 76 คณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา จำนวน 9 คน
มีวาระดำรงตำแหน่งวาระเดียว 3 ปี เมื่อครบแล้วยุบตำแหน่ง และสำนักงาน