วิทยฐานะ

การประเมิน PA ครู คืออะไร

การประเมิน PA ครู คืออะไร

สำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานที่นำมาใช้ในการประเมินวิทยฐานะใหม่ที่ทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำหนด ซึ่งเรียกว่า วPA นั้น จะนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในพิจารณาเกี่ยวกับเงินเดือนและการขอวิทยฐานะ คือ ใช้ในการขอเลื่อนวิทยฐานะ การขอเลื่อนขั้นเงินเดือน และการคงไว้ซึ่งวิทยฐานะ โดยมีองค์ประกอบในการพัฒนางาน 2 ส่วน ประกอบด้วย 

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ซึ่งแบ่งเป็น

      1. ชั่วโมงการปฏิบัติงาน การปฏิบัตงานตามมาตรฐานตำแหน่งครู และมีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

      2. คุณภาพการปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติงาน แบ่งออกเป็น ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

การประเมิน PA ครู คืออะไร

    ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป ข้าราชการครูในสังกัดของ ก.ศ.ค. จะต้องยื่นข้อตกลงในการพัฒนางานตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทุกปีงบประมาณเสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งผู้อำนวยการจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสำหรับประเมิน จำนวน 3 คน ประกอบด้วย

      1. ผู้อำนวยการสถานศึกษา ที่เป็นประธานกรรมการ

      2. กรรมการจำนวน 2 คน โดยอาจแต่งตั้งจากศึกษานิเทศก์ไม่ต่ำกว่า คศ.3  อาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือ ครูจากโรงเรียนอื่นไม่ต่ำกว่า คศ.3 หรือ ผู้ทรงคุณวิติจากภายนอกโรงเรียนที่มีความเหมาะสมก็ได้

ซึ่งการพิจารณานั้น จะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ด้าน คือ

ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดยจะพิจารณาจาก แผนการจัดการเรียนรู้ที่ตรงตามวิดีทัศน์บันทึกการสอน  บันทึกวิดีโอการสอน และ บันทึกวิดีโอ ที่แสดงถึงสถาพปัญหาและแรงบันดาลใจในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งคศ. 2 นั้นจะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65 ส่วนคศ. 3 จะต้องไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70

ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน จะพิจารณาจาก ผลงานหรือผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนที่ปรากฏภายหลังการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนตามวิดีโอสอน โดยส่งเป็น บันทึกดิจิทัล ภาพถ่าย หรือ เอกสาร ซึ่ง คศ. 2 จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65 ส่วน คศ. 3 จะต้องไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70

สำหรับผู้ที่ประสงค์จะขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ สามารถยื่นคำขอต่อโรงเรียนได้ตลอดปีการศึกษา โดยแบ่งเป็นภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อให้โรงเรียนได้นำข้อมูลเข้าสู่ระบบ DPA ซึ่งมีผู้อำนวยการเป็นผู้ดูแลพร้อมหลักฐาน คือ 

      1. ผลการพัฒนางานตามข้อตกลงในระยะเวลาย้อนหลัง 3 หรือ 2 หรือ 1 รอบการประเมิน และแต่กรณี เป็นไฟล์ PDF  
      2. แผนการจัดการเรียนรู้ ตามที่ปรากฏในวิดีโอบันทึกการสอนในรูปแบบ PDF 1 ไฟล์
      3. บันทึกวิดีโอการสอนที่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้
      4. บันทึกวิดีโอที่แสดงถึงสภาพปัญหาและแรงบันดาลในในการจัดการเรียนรู้

อ้างอิง https://otepc.go.th/th/content_page/item/3412-pa-8.html

Powered by GliaStudio

การศึกษาไทย

เว็บไซต์ข่าวสารการศึกษาของครูและบุคลากรทางการศึกษา อัพเดททุกวัน ติดตามเราเพื่อไม่พลาดความเคลื่อนไหว ของข่าวสารการศึกษา ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ชุดข้าราชการ ชุดข้าราชการหญิง ชุดกากี ชุดข้าราชการ shopee
Back to top button