การเขียน วPA วิทยฐานะแบบใหม่ และ PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร
วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. ลงนามในหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. แจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ใหม่) หรือเกณฑ์ PA ทั้ง 4 สายงาน ได้แก่ สายงานการสอน (ว 9/2564) สายงานบริหารสถานศึกษา (ว 10/2564) สายงานนิเทศการศึกษา (ว 11/2564) และสายงานบริหารการศึกษา (ว 12/2564) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติ โดยจะเริ่มใช้หลักเกณฑ์ใหม่นี้ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป
ฤดูกาลการเขียน วPA เวียนมาอีกครั้ง คุณครู ต้องเตรียมพร้อมอะไรบ้าง มาเรียนรู้ประสบการณ์จริงจากโรงเรียนนำร่อง ที่จะช่วยครูตั้งหลักคิด จับจุดเขียน วPA ให้ตอบโจทย์การเรียนรู้ในห้องเรียนอย่างตรงจุด เพื่อให้ครูสามารถตั้งเป้าหมาย และออกแบบการเรียนรู้ได้อย่างยืดหยุ่นและสร้างสรรค์ยิ่งขึ้น . พบกับแขกรับเชิญพิเศษ ‘ครูชาญชัย ก้อใจ’ จากโรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี จ.เชียงราย และครูชำนาญการพิเศษ ‘ครูมัทนา รุ่งแจ้ง’ จากโรงเรียนบ้านเวียงหวาย จ.เชียงใหม่ ที่จะมาแบ่งปันประสบการณ์การเขียนวPA ให้เป็นตัวอย่าง ซึ่งสามารถพัฒนานักเรียนและพัฒนาการสอนได้อย่างน่าสนใจ
เนื่องจาก สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้ประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู หรือ ว9/2564 หรือ วPA ส่งผลทำให้ไม่ว่าจะเป็น การเลื่อนเงินเดือน การเลื่อนวิทยฐานะ หรือแม้แต่การคงสภาพวิทยฐานะ ก็จะใช้รูปแบบการประเมินแบบเดียวกัน และคุณครูหรือบุคลากรบางท่านอาจยังมีข้อสงสัย ว่าต้องทำอย่างไร และจะต้องเขียน วPA อย่างไรให้ถูกต้องและเกิดประโยชน์ที่สุด โดยใน VDO นี้ทางครูทิพวัลย์ สังข์โชติ ครูโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 88 จ.สุราษฎร์ธานี ได้มาแชร์วิธีการเขียน วPA อย่างไร? เพื่อให้เกิดคุณค่ากับนักเรียนที่สุด.
“วิทยฐานะแบบใหม่ ทำอย่างไรที่จะไม่ดึงครูออกจากห้องเรียน” แนวทางของผู้บริหารการศึกษา ที่จะทำงานร่วมกับครูในการประเมินวิทยฐานะแบบใหม่หรือ วPA ผู้บริหารการศึกษาควรมีวิธีการคิดแบบไหน ? ต้องทำงานร่วมกับครูอย่างไร ? PLC สำคัญแค่ไหน? ดร.ศุภโชค ปิยะสันติ์ ผอ.โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี ได้สรุปแนวทางการบริหาร ที่จะทำให้ผอ.และครูมีส่วนร่วมในการกำหนด วPA ร่วมกัน และตอบทุกข้อสงสัย เพื่อให้ผู้บริหารและครูได้กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนไปในทิศทางเดียวกัน เพราะการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษาควรเกิดที่ห้องเรียน “Focus on classroom”
การสัมภาษณ์นางสาวจารุนันท์ แก้วทองนาค ผู้อำนวยการภารกิจระบบตำแหน่งและวิทยฐานะที่ 1 (ภว.1) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.)
เรื่อง PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร ตามที่ทาง ก.ค.ศ. แจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ใหม่) หรือเกณฑ์ PA ทั้ง 4 สายงาน เริ่มตุลาคม 2564
– สายงานการสอน (ว 9/2564)
– สายงานบริหารสถานศึกษา (ว 10/2564)
– สายงานนิเทศการศึกษา (ว 11/2564)
– สายงานบริหารการศึกษา (ว 12/2564)
รายละเอียดเพิ่มเติม