นักการศึกษา วิชาการศึกษา ข้อสอบครูผู้ช่วย
นักการศึกษา วิชาการศึกษา ข้อสอบครูผู้ช่วย
1. นักการศึกษาที่ควรรู้จัก ซิกมันด์ ฟรอยด์ Sigmund Freud มาสโลว์ abraham h maslow โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ นักจิตวิทยาทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทฤษฎีแรงจูงใจ Howard Gardner ลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ทฤษฎีพหุปัญญา อิลิคสัน Erik Erikson สกินเนอร์ BF. SKINNER กิลฟอร์ด Guilford ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ ทฤษฎีการเสริมแรง ทฤษฎีโครงสร้างทางปัญญา บลูม Benjamin S Bloom พาฟลอฟ I Van Pavlov เดอ โบโน Edward de Bono ทฤษฎีลําดับขั้นการเรียนรู้ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ทฤษฎีหมวก 6 ใบ พุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย
ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ นักการศึกษา
2. ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ มาสโลว์ กล่าวถึง ความต้องการของมนุษย์ ว่ามนุษย์มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด แบ่งเป็น ลําดับขั้น เมื่อได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานแล้ว จะมีความต้องการในระดับที่สูงขึ้นไป เรื่อยๆ ลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว แบ่งเป็น 5 ขั้น ดังนี้ 1. ต้องการของร่างกาย (Physiological needs) เป็นความต้องการพื้นฐานเพื่อความอยู่รอด ของชีวิต เช่น อาหาร เครื่องแต่งกาย ที่อยู่อาศัย ความต้องการทางเพศ ความสะดวกสบาย เป็นต้น 2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs) เป็นความต้องการที่เหนือกว่าความ ต้องการอยู่รอด เช่น ต้องการความมั่นคงในการทํางาน ความปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ เป็นต้น 3.ความต้องการด้านสังคม (Social needs) หมายถึง ความต้องการความรัก ความเป็น เจ้าของ (Love and belongingness needs) 4.ความต้องการการยกย่อง (Esteem needs) หมายถึง ความต้องการได้รับการยอมรับนับ ถือจากบุคคลอื่น อยากมีชื่อเสียง เกียรติยศ 5. ความต้องการประสบความสําเร็จสูงสุดในชีวิต (Self-actualization needs) เป็นความ ต้องการสูงสุดแต่ล่ะคน ที่จะทําทุกสิ่งทุกอย่างให้สําเร็จตามเป้าหมายของชีวิต เช่น อยากเป็นดารา นักร้องซุปเปอร์สตาร์ อยากเป็นนักกีฬาทีมชาติ อยากเป็นนักวิชาการระดับโลก เป็นต้น ตัวอย่างข้อสอบ 1.ข้อใดเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานที่ต่ําที่สุด ของมนุษย์ ก.ความต้องการความรัก ข. ความต้องการทางร่างกาย ค. ความต้องการประสบความสําเร็จ ง. ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย 2.ข้อใดจัดเป็นความต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์ ก.ความต้องการความรัก ข. ความต้องการเกียรติยศ ชื่อเสียง ค. ความต้องการประสบความสําเร็จ ง. ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย
ทฤษฎีลําดับขั้นการเรียนรู้ของบลูม นักการศึกษา
3. ทฤษฎีลําดับขั้นการเรียนรู้ของบลูม Bloom ได้กําหนดพฤติกรรมทางการศึกษา ออกเป็น 3 ด้านหลักๆ ได้แก่ 1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) หมายถึง ความรู้ ความคิด 2.ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) หมายถึง ทักษะการปฏิบัติ กระบวนการ 3.จิตพิสัย (Affective Domain) หมายถึง ความรู้สึก ค่านิยม คุณลักษณะ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย จิตพิสัย 1.ความรู้ ความจํา 1.เลียนแบบ 1.การรับรู้ 2.ความเข้าใจ ขั้นพื้นฐาน 2.ทําตามแบบ 2.การตอบสนอง 3.การนําไปใช้ 3.ทําด้วยความชํานาญ 3.การเกิดค่านิยม 4.การวิเคราะห์ 4.ทําในสถานการณ์ต่างๆได้ 4.การจัดระบบคุณค่า 5.การสังเคราะห์ ขั้นสูง 5.แก้ปัญหาโดยฉับพลัน 5.สร้างลักษณะนิสัย 6.การประเมินค่า หมายเหตุ แนวคิดนี้จะสัมพันธ์กับการวัดประเมินผลแบบ K P A (ความรู้ ทักษะ เจตคติ) ปกติข้อสอบ ส่วนใหญ่จะถามเกี่ยวกับด้านพุทธิพิสัยเป็นส่วนใหญ่ ควรท่องให้ได้ทั้ง 6 ข้อ ซึ่งแบ่งออกเป็นการคิดขั้น พื้นฐาน ได้แก่ 1 – 3 และการคิดขั้นสูงได้แก่ 4 – 6 ลักษณะของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่บ่งบอก K P A 1.หลังจากศึกษาใบความรู้ที่ 1 แล้ว นักเรียนสามารถบอกความหมายของการออกกําลังกายได้ อย่างถูกต้อง ( K ด้านความรู้ หรือ พุทธิพิสัย) 2.หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มแล้วนักเรียนอธิบายความสําคัญของการออกกําลังกายได้อย่าง น้อย 5 ข้อ (A จิตพิสัย) 3.หลังจากฝึกปฏิบัติตามฐานแล้ว นักเรียนสามารถสาธิตวิธการอบอุ่นร่างกายได้อย่างถูกต้อง ี (P ทักษะพิสัย) โดยปกติการกําหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมจะระบุส่วนประกอบสําคัญ 3 ส่วน คือ (มักจะออกสอบ) 1.เงื่อนไข เช่น หลังจากทํานั่น ทํานี่ แล้ว 2.พฤติกรรม เช่น บอก อธิบาย แสดงทักษะ เล่าเรื่อง สาธิต 3.เกณฑ์ เช่น อย่างถูกต้อง อย่างน้อยกี่ครั้ง อย่างน้อยเท่าไร่ แต่การนําไปสู่การปฏิบัติจริงครูมักไม่ได้กําหนดจุดประสงค์ครบทั้ง 3 ส่วน
ทฤษฎีหมวก 6 ใบของเดอ โบโน เดอโบโน นักการศึกษา
4. ทฤษฎีหมวก 6 ใบของเดอ โบโน เดอโบโน ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการคิดและการพัฒนาความสามารถในการคิดไว้จํานวน มากมาย หนึ่งแนวคิดที่มักจะเจอในข้อสอบ คือ การคิดแบบหมวก 6ใบ (The Six Thinking Hats) เป็นเทคนิคที่นํามาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน โดยแบ่งนักเรียน ออกเป็นกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มมีตัวแทนนักเรียนที่สวมหมวก 6 สี ได้แก่ 1.หมวกสีขาว แทนความบริสุทธิ์ เป็นตัวแทนของข้อมูล ข้อเท็จจริง ตัวเลข ที่ทกคนยอมรับ ุ โดยไม่มีการโต้แย้ง คนที่สวมหมวกสีขาว ต้องแสดงข้อมูลทีเป็นจริง ่ 2.หมวกสีแดง แทนอารมณ์ ความรู้สึก คนที่สวมหมวกสีแดงต้องแสดงความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ ชอบ ดี ไม่ดี กลัว สงสัย ฯลฯ 3.หมวกสีดํา แทนความคิดทางลบในทางที่ไม่ดี คนที่สวมหมวกสีดําต้องแสดงข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อเสีย ข้อบกพร่อง หรือโทษของสิ่งนั้นๆ 4.หมวกสีเหลือง แทนสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง คนสวมหมวกสีเหลืองต้องแสดงความคิดเห็นในจุดที่ดี สิ่งที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์ 5.หมวกสีเขียว แทนสีของพืช หมายถึง การเจริญเติบโต ความอุดมสมบูรณ์ คนที่สวมหมวกสี เขียวจึงต้องแสดงข้อมูลที่เป็นแนวคิดใหม่ๆ มีความเป็นไปได้และมีประโยชน์ 6.หมวกสีน้ําเงิน เป็นสีของท้องฟ้า แทนความสงบ สุขุม การควบคุม คนสวมหมวกสีน้ําเงิน ต้องเป็นผู้ควบคุมบทบาทของสมาชิกในกลุ่ม ตัวอย่างข้อสอบ 1. การจัดการเรียนรู้แบบหมวก 6 ใบ เป็นการพัฒนา ด้านใด ก. การเขียน ข. การคิด ข. การอ่าน ง. ทักษะชีวิต 2. หมวกสีแดง หมายถึงอะไร ก. อารมณ์ ความรู้สึก ข. แนวคิดใหม่ๆ ค. ข้อเท็จจริง ตัวเลข ง. สิ่งที่เป็นโทษ
ทฤษฎีกรวยประสบการณ์ นักการศึกษา
5. ทฤษฎีกรวยประสบการณ์ ของเอดการ์เดล เอดการ์เดล (Edgar Dale) ได้นําเสนอ แนวคิดกรวยประสบการณ์ ว่าการจัดการเรียนรู้ หรือ การถ่ายทอดประสบการณ์สําหรับนักเรียน มีลําดับของความสามารถในการรับรู้จากลําดับที่สามารถทํา ให้นักเรียนเข้าใจได้น้อยที่สุดไปถึงมากที่สุด ตั้งเป็นรูปกรวย เริ่มตั้งแต่นามธรรมไปจนถึงรูปธรรม ดังนี้ ตัวอย่างข้อสอบ
1.การจัดการเรียนรู้โดยผ่านประสบการณ์แบบใดที่จะทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรูน้อยที่สุด
ก. ประสบการณ์ตรง
ข. การบรรยาย
ค. การให้ดูภาพ
ง. การชมนิทรรศการ
2.การจัดการเรียนรู้แบบวัจนสัญลักษณ์ หมายถึงอะไร
ก.การพูด การบรรยาย
ข. การให้ดูสื่อการสอน ภาพถ่าย
ค. การสาธิต ลงมือทํา
ง. การศึกษานอกสถานที่