วิทยฐานะ

การจัดการเรียนรู้ตามภาระงาน วPA

การเขียนแผนพัฒนาตนเอง (Individual plan = ID plan เพื่อทำข้อตกลงของมีวิทยฐานะ ว.PA) ต้องเริ่มต้นจากชั้นเรียน และจบลงในชั้นเรียน ซึ่งการจัดการเรียนรู้ตามภาระงาน ใน ว PA ได้มาจากการวิเคราะห์ชั้นเรียนว่า ผู้เรียนแต่ละคนเขามีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไรในรายวิชาที่ครูสอน เพื่อจะได้แก้ไข และพัฒนาเขาให้มีทักษะ

การเขียนแผนพัฒนาตนเองของครู ได้มาจากการวิเคราะห์ชั้นเรียนว่า ผู้เรียนแต่ละคนเขามีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไรในรายวิชาที่ครูสอน เพื่อจะได้แก้ไข และพัฒนาเขาให้มีทักษะ, ความรู้,ความเข้าใจ, และทัศนคติ ได้มาตรฐานตามเกณฑ์,จุดเน้น,และตัวชี้วัด เพื่อมั่นใจได้ว่าเขามีทักษะและปัญญา คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น และแก้ปัญหาเป็น ข้อมูลที่ได้ทั้งหมด จะเข้าสู่กระบวนการแก้ปัญหา ปรับปรุงและพัฒนาโดยทันที


การเขียนแผนพัฒนาตนเอง เริ่มจาก…

1. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมห้องเรียนหรือการเรียนการสอนในรายวิชาที่รับผิดชอบ เพื่อทราบศักยภาพของการจัดการเรียนการสอนในส่วนของผู้เรียน ครู วัสดุอุปกรณ์ การจัดการเรียนรู้ตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม จะวิเคราะห์จากปัจจัยที่มีอิทธิพลหรือกระทบต่อการจัดการเรียนรู้ 4 ด้าน ได้แก่ ด้าน โอกาส (Opportunities: O) ด้าน อุปสรรค (Threats) ด้าน จุดแข็ง (Strengths) ด้าน จุดอ่อน (Weaknesses: W)


2.นำผลการวิเคราะห์ไปกำหนดทิศทางการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จัดการเรียนรู้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดภายใต้บริบทขององค์กร ตามเกณฑ์มาตรฐาน,จุดเน้น,และตัวชี้วัดการกำหนดทิศทางการใช้หลักสูตรหรือทิศทางการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การกำหนด วิสัยทัศน์ พันธะกิจ และเป้าประสงค์ของการเรียนรู้ของหลักสูตรหรือการจัดการเรียนรู้ดังนี้ การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) นำผลการพยากรณ์จากตารางวิเคราะห์ SWOT มากำหนดเป็นวิสัยทัศน์ ดังตัวอย่างการเขียนวิสัยทัศน์ ห้องเรียนสู่ความเป็นเลิศ กรณีมี สถานะ STAR, ห้องเรียนแห่งรุ่งอรุณ กรณีมี สถานะ CASH COWS, ห้องเรียนแห่งการพัฒนา กรณีมี สถานะ QUESTION, ห้องเรียนสู่มาตรฐาน กรณีมี สถานะ DOGS


การเตรียมการวางแผนการเรียนรู้ (Pre – plan)  นำผลการ SWOT Analysis มาจัดทำเป็นทิศทางการเรียนรู้ วิสัยทัศน์ พันธะกิจ เป้าประสงค์ของรายวิชา นำคำอธิบายคุณภาพผู้เรียนหรือมาตรฐานสาระที่จะนำมาเป็นคำอธิบายรายวิชา ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ มาบูรณการเพื่อ กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Objective) กำหนดเกณฑ์ระดับคุณภาพการเรียนรู้ (Criteria)ของแต่ละวัตถุประสงค์ กำหนดกลยุทธ์การเรียนรู้แต่ละระดับการเรียนรู้ กำหนดสื่อ/นวัตกรรม กำหนดแบบวัดและประเมินผล กำหนดเวลาเรียนทั้งรายวิชาและรายจุดประสงค์ แล้วนำสิ่งที่กำหนดบันทึกลงในแบบฟอร์มการวิเคราะห์หลักสูตรรายวิชา ทั้งนี้ในการกำหนดเกณฑ์ระดับคุณภาพของวัตถุประสงค์การเรียนรู้นั้นมีกระบวนการทำดังนี้ นำวัตถุประสงค์ทีละข้อ มาจัดทำเกณฑ์ระดับคุณภาพ(Criteria) จำนวน 5 ระดับ ที่สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ดังนี้  ระดับคุณภาพระดับที่ 1 (Failed)  ระดับคุณภาพระดับที่ 2 (Passed)  ระดับคุณภาพระดับที่ 3 (Faired)  ระดับคุณภาพระดับที่ 4 (Good)  ระดับคุณภาพระดับที่ 5 (Excellent) โดยแต่ละระดับคุณภาพของแต่ละวัตถุประสงค์ให้เขียนคำอธิบายคุณภาพในรูปของความสามารถในการแสดงออกของการเรียนรู้ (Performance standard) ตามสมรรถนะการเรียนรู้


 การกำหนดกลยุทธ์การเรียนรู้ตามศักยภาพผู้เรียน

กำหนดเป้าหมายผลการเรียนเฉลี่ย 1.00-2.00 ควรใช้กลยุทธ์การถ่ายทอดความรู้(Transmission)โดยการจัดการสอน (Teach)หลากหลายวิธี ฝึกฝน (Train) ให้ประพฤติปฏิบัติตาม และโน้มน้าวให้เชื่อฟัง (Tame)


กำหนดเป้าหมายผลการเรียนเฉลี่ย 2.01-3.00 ควรใช้กลยุทธ์การสร้างองค์ความรู้ (Transformational) โดยการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่อ (Media) และนวัตกรรม (Innovation) ที่หลากหลายให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวผู้เรียนเองอย่างเป็นขั้นตอน


กำหนดเป้าหมายผลการเรียนเฉลี่ย 3.01-4.00 ควรใช้กลยุทธการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Transactional) ในการพัฒนาองค์ความรู้และผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาด้วยตัวผู้เรียนเองอย่างสร้างสรรค์และมีจินตนาการ


การกำหนดเป้าหมายผู้เรียน (มาตรฐานการเรียนรู้ต่ำสุดหรือ Benchmark)

นักเรียนในแต่ละห้องเรียนแต่ละรายวิชาจะมีศักยภาพแตกต่างกัน ปกติจะมีการแบ่งผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่มง่ายๆ คือ กลุ่มผู้เรียนที่มีศักยภาพการเรียนรู้ต่ำหรือกลุ่มอ่อน กลุ่มที่มีศักยภาพปานกลาง และกลุ่มที่มีศักยภาพสูงหรือ กลุ่มเก่ง ผลการวิเคราะห์ห้องเรียนจะทำให้ครูทราบคล่าว ๆว่าศักยภาพผู้เรียนในห้องเรียนมีแนวโน้มเป็นอย่างไร การตรวจสอบที่ดีควรทำการทดสอบก่อนเรียนจะทำให้ทราบศักยภาพผู้เรียนที่ชัดเจนขึ้น การกำหนดเป้าหมายผู้เรียนควรกำหนดให้สอดคล้องกับเป้าหมายห้องเรียน ดังนี้


กลุ่มอ่อน กำหนดเป้าหมายผลการเรียนขั้นต่ำที่ระดับผลการเรียน 1.00

กลุ่มปานกลาง กำหนดเป้าหมายผลการเรียนขั้นต่ำที่ระดับผลการเรียน 2.00

กลุ่มเก่ง กำหนดเป้าหมายผลการเรียนขั้นต่ำที่ระดับผลการเรียน 3.00


การทำข้อตกลงกับผู้อำนวยการโรงเรียนด้านการจัดการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้   ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร,การออกแบบการจัดการเรียนรู้,การจัดกิจกรรมการเรียนรู้,การสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม,เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้,การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้,การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์,เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้,การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนและการอบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน


กระบวนการเรียนการสอน   กระบวนการเรียนการสอน โดยย่อมี 4 ขั้นตอน

1.Introduction..การนำเข้าสู่บทเรียน ด้วยการสร้างแรงจูงใจ “Motivation” เพื่อนำเข้าสู่บทเรียน,คุณครูต้องบอกวัตถุประสงค์ในการ “ทำกิจกรรม” การเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ บอกมาตรฐาน (ด้านทักษะ,ความรู้,ความเข้าใจ,การปรับใช้, และทัศนคติที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้,บอกจุดเน้นในการสร้างสมรรถนะของผู้เรียน, และตัวเลขชี้วัด เป็นร้อยละของคะแนนเต็ม แล้วก็สร้างแรงจูงใจ,เร้าใจด้วยคำพูด รูปภาพ คลิป เสียง ฯ..


2.Learning Process..กระบวนการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนการสอน ต้องเป็นไปตามธรรมชาติของรายวิชาที่สอน จะสอนอย่างไร เนื้อหา สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ที่จะใช้สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดผล ฯ ตามกระบวนการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 นักเรียน เรียนรู้แบบ Active learning ทั้งเป็นแบบกลุ่มและเดี่ยว มุ่งให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาในตัวตน (Child centered หรือ Student Based Learning) และเป็นกิจกรรมแบบ Interactive มีการโต้ตอบกับครู,เพื่อน,และสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้


3. Application เวลาปฏิบัติการ ภาระงาน หรือ การทำกิจกรรมของ “ครู และ เด็ก” ครูสอนให้น้อยๆ Teach less ให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองมากๆ Learn more


4. Reflection การสะท้อนผลงาน การวัดผลประเมินผลตามความเป็นจริงสะท้อนทั้งการสอนของครู ผลการเรียนของเด็ก Authentic assessment นั้นคือ วัดผล สมรรถนะ,Performance, Competency ที่ตัวผู้เรียนเป็นรายบุคคล


สิ่งสำคัญ การจัดการเรียนการสอน ให้ควบคู่ไปกับการประเมิน เพื่อแก้ไขปัญหาการเรียน ปรับปรุง และพัฒนา พร้อมกับบันทึกข้อมูล เก็บสถิติของผู้เรียนแต่ะคนและถ่ายคลิปการสอนไว้ เพื่อให้ผู้ประเมินสืบค้นร่องรอยการสอนจริง


การขอมีวิทยฐานะ ว PA ของครูจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการที่คุณครูสามารถพัฒนา “สมรรถนะ”ของผู้เรียน ได้ผลการเรียนตามเกณฑ์มาตรฐาน และตัวชี้วัดเป็นรายบุคคล ที่กำหนดไว้เป็นตัวเลข ร้อยละต่อคะแนนเต็มร้อย ผ่านครบทุกคนหรือไม่  แต่ละคนได้คะแนนเท่าไร ซึ่งคณะกรรมการประเมิน สามารถประเมินตามสภาพจริง Authentic assessment เพื่อพิสูจน์ ที่ตัวนักเรียนแต่ละคนได้ทุกเมื่อ

—————————————-

Powered by GliaStudio

การศึกษาไทย

เว็บไซต์ข่าวสารการศึกษาของครูและบุคลากรทางการศึกษา อัพเดททุกวัน ติดตามเราเพื่อไม่พลาดความเคลื่อนไหว ของข่าวสารการศึกษา ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ชุดข้าราชการ ชุดข้าราชการหญิง ชุดกากี ชุดข้าราชการ shopee
Back to top button