เชิญศึกษาเส้นทางสู่ครูเชี่ยวชาญ วPA จากคุณครูผู้มีประสบการณ์
เชิญศึกษาเส้นทางสู่ครูเชี่ยวชาญ วPA จากคุณครูผู้มีประสบการณ์
เมื่อเราพูดถึง “เส้นทางสู่ครูเชี่ยวชาญ” คุณครูหลายคนอาจจะมีแรงบันดาลใจในการก้าวไปให้ถึง และคุณครูอีกหลายคนอาจจะได้คำตอบแล้วว่า “พี่พอแล้วแค่นี้ ที่ชำนาญการพิเศษ” !
เส้นทางสู่ครูเชี่ยวชาญอาจจะไม่ง่ายสำหรับใครหลายๆคน แต่ก็คงไม่ยากเกินความพยายาม จะมีแนวทางแบบไหน ต้องพบเจอปัญหาอะไร ได้ใช้วิธีการแก้ไขอย่างไร
ผลงานทั้ง 3 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ คลิปวีดิทัศน์การสอน คลิปที่แสดงถึงสภาพปัญหา ที่มา หรือแรงบันดาลใจ ผลลัพธ์ของผู้เรียน และวิจัยหรือนวัตกรรม จะมีความร้อยรัดและสอดคล้องกันอย่างไร เพื่อตอบโจทย์ “คิดค้นและปรับเปลี่ยน”
มารับชมย้อนหลัง “คิดค้นและปรับเปลี่ยนโจทย์สำคัญ ครูเชี่ยวชาญ วPA” จากคุณครูผู้มีประสบการณ์ ได้ที่ :
“ทุกคนมีความฝันและเป้าหมายที่แตกต่าง แรงบันดาลใจที่มีย่อมแตกต่างกัน”
เมื่อพูดถึงเส้นทางอาชีพ ใครหลายคนอาจจะมีแรงบันดาลใจในการก้าวไปให้ถึงหรือใครอีกหลายคนอาจจะได้คำตอบแล้วว่า “พอแค่นี้ก่อน” และถึงแม้ว่าเส้นทางความสำเร็จในอาชีพตามที่คาดหวังอาจจะไม่ง่ายแต่คงไม่ยากเกินความพยายาม และในครั้งนี้จะเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับแนวทาง และวิธีการดำเนินงานทั้ง 3 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ คลิปวีดิทัศน์การสอนคลิปที่แสดงถึงสภาพปัญหา ที่มาหรือแรงบันดาลใจผลลัพธ์ของผู้เรียนและวิจัยหรือนวัตกรรมอย่างไรให้สอดคล้องกับระดับปฏิบัติการที่คาดหวัง เพื่อตอบโจทย์ “คิดค้นและปรับเปลี่ยน” เส้นทางสู่ครูเชี่ยวชาญ วPA
จากเกณฑ์การประเมิน วPA ที่มีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาวิชาชีพของครูตามมาตรฐานวิทยฐานะระดับเชี่ยวชาญทำให้ครูต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจุดเริ่มต้นในการก้าวสู่ครูเชี่ยวชาญสามารถทำได้ด้วยแนวทางดังนี้
1. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนถึงสิ่งที่ต้องการตามระดับปฏิบัติที่คาดหวัง
2. ศึกษาหลักเกณฑ์ ผลงานที่ใช้เสนอขอรับการประเมินทั้ง 3 ด้าน และตัวชี้วัดในคู่มือของ ก.ค.ศ. ให้ละเอียด
3. ทำประเด็นท้าทายในรายวิชาที่สอน มองให้เห็นปัญหาอย่างครอบคลุมในวิทยฐานะที่จะยื่นขอ
(กรณียื่นขอครูเชี่ยวชาญ เสนอแนะคิดงานด้านที่ 3 ว่าจะต้องทำอย่างไรที่จะตอบโจทย์ “ตามวิทยฐานะ”)
4. มองหาแนวทางการแก้ปัญหาตามประเด็นท้าทาย (เทคนิควิธีการสอน, นวัตกรรม, สื่อการสอน ฯลฯ)
5. บริหารจัดการเวลาในการทำงาน
6. หาเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อนร่วมอาชีพ หรือภูมิปัญญา
7. ศึกษาระเบียบวิธีการวิจัย
8. พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
สำหรับผลงานที่ใช้เสนอขอรับการประเมินระดับเชี่ยวชาญ (คิดค้น ปรับเปลี่ยน) ประกอบด้วยผลงานทั้ง 3 ด้าน ดังนี้
ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน พิจารณาจาก
1) แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ใช้จัดการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดหลักและตัวชี้วัดย่อยขององค์ประกอบ 8 ตัวชี้วัดและนำไปใช้สอนจริงในห้องเรียน จำนวน 1 ไฟล์ (ไฟล์ PDF ไม่จำกัดหน้า)
2) คลิปการสอนที่แสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังสอดคล้องกับแผนความยาวไม่เกิน 60 นาที จำนวน 1 ไฟล์
3) คลิปที่แสดงถึงสภาพปัญหา ที่มา หรือแรงบันดาลใจในการจัดการเรียนรู้ความยาวไม่เกิน 10 นาที (mp4) 1 ไฟล์
ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน พิจารณาจากผลงาน ผลการปฏิบัติความสามารถในการเรียนรู้ทักษะหรือสมรรถนะการเรียนรู้ของผู้เรียนในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล *เลือกส่งได้ไม่เกิน 3 ไฟล์
1) ไฟล์วิดีทัศน์ผลลัพธ์ ความยาวไม่เกิน 10 นาที 1 ไฟล์
2) ไฟล์ PDF ไม่เกิน 10 หน้า 1 ไฟล์
3) ไฟล์รูปภาพ PDF ไม่เกิน 10 หน้า 1 หน้า A4 เรียงภาพไม่เกิน 6 ภาพ มีคำบรรยายใต้ภาพ 1 ไฟล์
ด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการ งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้หรือนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 1 เรื่องทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสนใจและความชำนาญของครูผู้สอนในการออกแบบการจัดการเรียนรู้
จะเห็นได้ว่าการส่งผลงานคิดค้นและปรับเปลี่ยนสิ่งสำคัญคือ ด้านที่ 3 ผลงานทางวิชาการคิดค้นและปรับเปลี่ยนวิจัยหรือนวัตกรรมที่สร้างขึ้นสามารถสอดคล้องกับด้านที่ 1 ที่เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้การจัดการชั้นเรียนแผนการจัดการเรียนรู้ หรือการสอนในคลิปการสอนและนำไปสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งตอบโจทย์ในเรื่องของการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
ขอบคุณที่มา https://www.starfishlabz.com