บทความ

วิชาการศึกษา เรื่อง การประเมินตามสภาพจริง

วิชาการศึกษา เรื่อง การประเมินตามสภาพจริง

การประเมินตามสภาพจริง
การประเมินผลตามสภาพจริง เป็นการประเมินผลผู้เรียนรอบด้านตามสภาพจริงของผู้เรียน มีลักษณะสำคัญดังนี้

  1. เน้นการประเมินที่ดำเนินการไปพร้อม ๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งสามารถทำได้ตลอดเวลา ทุกสภาพการณ์
  2. เน้นการประเมินที่ยึดพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนจริง ๆ
  3. เน้นการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียน
  4. ใช้ข้อมูลที่หลากหลาย ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายและสอดคล้องกับวิธีการประเมิน ตลอดจนจุดประสงค์ในการประเมิน
  5. เน้นคุณภาพผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ ความสามารถหลายๆ ด้าน
  6. การประเมินด้านความคิด เน้นความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์
  7. เน้นให้ผู้เรียนประเมินตนเอง และการมีส่วนร่วมในการประเมินของผู้เรียน ผู้ปกครอง และครู

    การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง เป็นการประเมินการแสดงออกของผู้เรียนรอบด้านตลอดเวลาใช้ข้อมูลและวิธีการหลากหลาย ด้วยวิธีการและเครื่องมือ ดังนี้

    1. ศึกษาวัตถุประสงค์ของการประเมิน เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนรอบด้าน ดังนั้น จึงใช้วิธีการที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ เช่น การสังเกต สัมภาษณ์ การตรวจผลงาน การทดสอบบันทึกจากผู้เกี่ยวข้อง การรายงานตนเองของผู้เรียน แฟ้มสะสมงาน เป็นต้น
    2. กำหนดเครื่องมือในการประเมิน เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน ให้เป็นการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนรอบด้านตามสภาพจริงแล้ว ในการกำหนดเครื่องมือจึงเป็นเครื่องมือที่หลากหลาย เช่น

    1) การบันทึกข้อมูล จากการศึกษา ผลงาน โครงงาน หนังสือที่ผู้เรียนผลิต แบบบันทึกต่างๆ ได้แก่ แบบบันทึกความรู้สึก บันทึกความคิด บันทึกของผู้เกี่ยวข้อง (นักเรียน เพื่อน ครู ผู้ปกครอง) หลักฐานร่องรอยหรือผลงานจากการร่วมกิจกรรม เป็นต้น
    2) แบบสังเกต เป็นการสังเกตพฤติกรรม การร่วมกิจกรรมในสถานการณ์ต่าง ๆ
    3) แบบสัมภาษณ์ เป็นการสัมภาษณ์ความรู้สึก ความคิดเห็น ทั้งตัวผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้อง

ลักษณะ ดังนี้
4) แฟ้มสะสมงาน เป็นสื่อที่รวบรวมผลงานหรือตัวอย่างหรือหลักฐานที่แสดงถึงผลสัมฤทธิ์ ความสามารถ ความพยายาม หรือความถนัดของบุคคลหรือประเด็นสำคัญที่ต้องเก็บไว้อย่างเป็นระบบ
5) แบบทดสอบ เป็นเครื่องมือวัดความรู้ ความเข้าใจที่ยังคงมีความสำคัญต่อการประเมินสำหรับผู้ประเมิน ประกอบด้วย ผู้เรียนประเมินตนเอง ครู เพื่อน/กลุ่มเพื่อน ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องกับนักเรียน


หลักการ

  1. ประเมินความก้าวหน้าและการแสดงออกของนักเรียน
  2. มีรากฐานบนพัฒนาการ และการเรียนรู้ของนักเรียนที่แตกต่างกัน
  3. การประเมินจากสภาพจริงและการพัฒนาหลักสูตรต้องจัดให้ส่งเสริมซึ่งกันและกัน
  4. การประเมินจากสภาพจริงและหลักสูตรต้องพัฒนามาจากบริบทบนรากฐานทางวัฒนธรรมที่นักเรียนอาศัยอยู่
  5. ผู้สอนต้องสามารถบูรณาการปรับขยายหลักสูตรได้เหมาะสม

    ลักษณะการประเมินตามสภาพจริง
  1. เน้นพฤติกรรมที่แสดงออกจากความสามารถที่แท้จริง
  2. ทำไปพร้อมๆกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
  3. ให้ความสำคัญกับจุดเด่นของผู้เรียน
  4. ตั้งอยู่บนพื้นฐานสถานการณ์จริง
  5. มีการใช้ข้อมูลที่หลากหลาย
  6. ตอบสนองการเรียนรู้และความสามารถของผู้เรียนอย่างกว้างขวาง
  7. สนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน
  8. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเอง
  9. เกิดความร่วมมือระหว่างครู ผู้ปกครองและผู้เรียน
  10. ตอบสนองหลักสูตรที่เน้นการเรียนรู้ในสภาพจริงการประเมินตามสภาพจริงแบ่งเป็น 2 ลักษณะดังนี้
    1) การประเมินอย่างเป็นทางการ คือ ข้อสอบมาตรฐาน
    2) การประเมินอย่างไม่เป็นทางการ มี 4 ด้าน ดังนี้ บุคลิกภาพ, กระบวนการ, ผลผลิต,แฟ้มสะสมผลงาน มีเครื่องมือในการประเมินคือ เบับทึก
Powered by GliaStudio

การศึกษาไทย

เว็บไซต์ข่าวสารการศึกษาของครูและบุคลากรทางการศึกษา อัพเดททุกวัน ติดตามเราเพื่อไม่พลาดความเคลื่อนไหว ของข่าวสารการศึกษา ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ชุดข้าราชการ ชุดข้าราชการหญิง ชุดกากี ชุดข้าราชการ shopee
Back to top button