วิชาการศึกษา เรื่อง การวิเคราะห์หาคุณภาพของข้อสอบรายข้อ
วิชาการศึกษา เรื่อง การวิเคราะห์หาคุณภาพของข้อสอบรายข้อ
การวิเคราะห์หาคุณภาพของข้อสอบรายข้อ
การวิเคราะห์ข้อสอบรายข้อ เป็นการตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบแต่ละข้อ โดยพิจารณาจากสมบัติที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ความยาก อำนาจจำแนก และประสิทธิภาพของตัวลวง
- ความยากของข้อสอบ (P) หมายถึง สัดส่วนของจำนวนผู้ที่ตอบข้อสอบได้ถูกต้องต่อจำนวนผู้ที่ตอบข้อสอบทั้งหมด หรือหมายถึงจำนวนร้อยละของผู้ตอบข้อสอบนั้น ๆ ถูก สามารถหาได้จากสูตร
- อำนาจจำแนก (r) หมายถึง ความสามารถของข้อสอบในการจำแนกหรือแยกให้เห็นความแตกต่างระหว่างผู้สอบที่มีผลสัมฤทธิ์ต่างกัน เพื่อที่จะใช้พยากรณ์หรือบ่งชี้ความแตกต่างที่เห็นชัดในด้านความสามารถ เช่น จำแนกคนเก่งกับคนอ่อนจากกันได้ โดยถือว่าคนเก่งควรทำข้อสอบข้อนั้นได้ส่วนผู้ที่อ่อนไม่ควรทำข้อสอบข้อนั้นได้ อำนาจจำแนกของข้อสอบ จะมีค่าตั้งแต่ – 1 ถึง + 1 ค่าอำนาจจำแนกที่ดี ควรมีค่าตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป
r คือ ค่าอำนาจจำแนก
RH คือ จำนวนนักเรียนที่ตอบถูกในกลุ่มคะแนนสูง
RL คือ จำนวนนักเรียนที่ตอบถูกในกลุ่มคะแนนต่ำ
NH คือ จำนวนนักเรียนทั้งหมดในกลุ่มคะแนนสูง
กรณีที่ค่า r ติดลบ แสดงว่า ข้อสอบข้อนั้นจำแนกกลับ คนเก่งทำไมได้ แต่คนอ่อนทำได้ ถือว่าเป็นข้อสอบที่ไม่ดีควรตัดทิ้ง นอกจากนี้ครูผู้สอนควรตรวจสอบการจัดการเรียนสอนของตนว่าเพราะเหตุใดผู้ที่เรียนเก่งจึงไม่เข้าใจในเรื่องที่สอน
0.60 – 1.00 อำนาจจำแนกดีมาก เป็นข้อสอบที่ดีมาก
0.40 – 0.59 อำนาจจำแนกดี เป็นข้อสอบที่ดี
0.20 – 0.39 อำนาจจำแนกพอใช้
0.10 – 0.19 อำนาจจำแนกต่ำ (ควรปรับปรุงหรือตัดทิ้ง)
-1.00 – 0.09 อำนาจจำแนกต่ำมาก (ควรปรับปรุงหรือตัดทิ้ง)
ขั้นตอนการหาค่าความยากง่ายและอำนาจจำแนก
- ตรวจให้คะแนนข้อสอบ แล้วเรียงกระดาษคำตอบจากคะแนนมากไปหาน้อย
- แบ่งกระดาษคำตอบออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเรียกว่า กลุ่มสูง (PH) โดยนับจากคะแนนสูงลงมาประมาณ 27% ของกระดาษคำตอบทั้งหมด และกลุ่มหลังเรียกว่ากลุ่มต่ำ (PJ) โดยนับจากคะแนนต่ำขึ้นไปประมาณ 27% ของกระดาษคำตอบทั้งหมด
- หาจำนวนคนที่ตอบถูกในแต่ละข้อของกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ
- หาค่าความยาก (P) และค่าอำนาจจำแนก (r) ตามสูตร