บทความ

วิชาการศึกษา เรื่อง วิธีการหาคุณภาพเครื่องมือ

วิธีการหาคุณภาพของเครื่องมือ
วิธีการหาคุณภาพของเครื่องมือ

วิชาการศึกษา เรื่อง วิธีการหาคุณภาพเครื่องมือ

การหาคุณภาพของเครื่องมือทั้งฉบับ
การวิเคราะห์ข้อสอบทั้งฉบับ เป็นการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัด เกี่ยวกับความเที่ยงตรง (Validity) และความเชื่อมั่น (Reliability) รายละเอียด ดังนี้

1.ความเที่ยงตรง หมายถึง ความสามารถของเครื่องมือวัด ที่สามารถวัดได้ในสิ่งที่ต้องการวัดเป็นความสอดคล้องระหว่างผลการวัด กับสิ่งที่ต้องการวัด ความตรงที่ใช้ในการทดสอบจำแนกเป็น 3ชนิด ได้แก่ความตรงตามเนื้อหา ความตรงตามโครงสร้าง และ ความตรงตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง โดยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ จะเกี่ยวข้องกับความตรงตามเนื้อหามากกว่าความตรงชนิดอื่น ๆ

การหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) เป็นการหาค่าความเที่ยงตรงที่ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาว่าข้อสอบหรือข้อคำถามแต่ละข้อ วัดได้ตรงตามสิ่งที่ต้องการวัดเนื้อหาหรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้มากน้อยเพียงใด โดยใช้กณฑ์การประเมิน ดังนี้

ให้คะแนน +1 หมายถึง แน่ใจว่าข้อสอบวัดจุดประสงค์/เนื้อหานั้น
ให้คะแนน 0 หมายถึง ไม่แนใจว่าข้อสอบวัดจุดประสงค์/เนื้อหานั้น
ให้คะแนน -1 หมายถึง แนใจว่าข้อสอบไม่วัดจุดประสงค์/เนื้อหานั้น

แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ หาค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามแต่ละข้อกับจุดประสงค์หรือเนื้อหา (Index of Item-Objective Congruence หรือ IOC) จากสูตร

กณฑ์การตัดสินค่า IOC ถ้ามีค่า 0.50 -1.00 แสดงว่า ข้อคำถามนั้นวัดได้ตรงจุดประสงค์ หรือตรงตามเนื้อหานั้น แสดงว่า ข้อคำถามข้อนั้นใช้ได้ ถ้ามีค่า IOC ต่ำกว่า 0.5 แสดงว่า ข้อคำถามนั้นวัดไม่ตรงจุดประสงค์หรือไม่ตรงตามเนื้อหานั้น ควรพิจารณาปรับปรุงหรือตัดทิ้ง

  1. ความเชื่อมั่น หมายถึง ความคงที่ของคะแนนที่วัดได้แต่ละครั้ง วิธีการหาค่าความเชื่อมั่น
    ของแบบทดสอบทำได้หลายวิธีคือ

1) วิธีสอบช้ำ
2) วิธีแบบทดสอบคู่ขนาน
3) วิธีหาความสอดคล้องภายใน แบ่งเป็น

3.1) วิธีแบ่งครึ่งแบบทดสอบ ใช้สูตรของสเปียร์แมน บราวน์ (SpearmanBrown)
3.2) วิธีหาจากสูตรคูเดอร์และริชาร์ดสัน สูตรที่ใช้มี 2 สูตร คือ สูตร KR – 20 ใช้ในกรณีที่ค่าความยากง่ายของข้อสอบแต่ละข้อไม่เท่ากัน และ สูตร KR – 21 ใช้ในกรณีที่ค่าความยากง่ายของข้อสอบทุกข้อเท่ากันหรือไม่แตกต่างกันมาก
3.3) วิธีหาจากสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ใช้สูตรของครอนบัค (Cronbach)

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น

  1. จำนวนข้อสอบ ความยาวของแบบทดสอบ
  2. ลักษณะคำถาม
  3. ความคงที่ของการให้คะแนน
  4. ระดับความยาก
  5. ลักษณะของผู้รับการทดสอบ
  6. วิธีหาค่าความเชื่อมั่น
  7. สภาพแวดล้อมในการดำเนินการสอบ

Powered by GliaStudio

การศึกษาไทย

เว็บไซต์ข่าวสารการศึกษาของครูและบุคลากรทางการศึกษา อัพเดททุกวัน ติดตามเราเพื่อไม่พลาดความเคลื่อนไหว ของข่าวสารการศึกษา ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ชุดข้าราชการ ชุดข้าราชการหญิง ชุดกากี ชุดข้าราชการ shopee
Back to top button