ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยในชั้นเรียน
การวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นกระบวนการจัดทำกับข้อมูลที่ผู้วิจัยรวบรวมมาได้ โดยนำมาจัดระเบียบ จำแนกหมวดหมู่ คำนวณค่า สรุป และนำเสนอให้อยู่ในรูปที่เหมาะสม สื่อความหมายได้ เพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของการวิจัย ซึ่งการดำเนินการเป็นดังนี้
วิธีการเก็บข้อมูล เช่น การทดสอบ การสังเกต การสอบถาม การสัมภาษณ์ แบบสอบถามเป็นต้น
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ใช้วิธีทางสถิติผความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนฯ สหสัมพันธ์ สัมประสิทธิ์ การเปรียบเทียบ เป็นต้น
ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนา(ชื่อผลงานของท่าน) ดังนี้
1. วิเคราะห์หาค่าความพึงพอใจของผู้ใช้(ชื่อผลงานของท่าน) โดยหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามทั้งฉบับ
2. ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม นำมาแจกแจงความถี่และค่าร้อยละ
3. ข้อมูลที่เป็นแบบมาตราส่วน คำนวณค่าเฉลี่ย (χบาร์ ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) แต่ละข้อนำมาเทียบกับเกณฑ์ แปลความหมาย ดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจอย่างยิ่ง
ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายถึง มีความพึงพอใจมาก
ค่าเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึง มีความไม่พึงพอใจ
ค่าเฉลี่ย 0.00 – 1.50 หมายถึง มีความไม่พึงพอใจอย่างยิ่ง
4. ข้อมูลที่เป็นคำถามปลายเปิดและการสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมเป็นข้อเสนอแนะ
5. เพื่อตรวจสอบความชัดเจน เข้าใจง่าย และความสอดคล้องของเนื้อหาของข้อคำถาม โดยวิเคราะห์หาจากดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (Index of Item Objective Concurrence : IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน
สรุปการวิจัยในชั้นเรียน
1. ผู้วิจัยยังคงทำงานตามปกติของตน
2. ไม่ต้องสร้างเครื่องมือวิจัย
3. ไม่มีข้อมูลจำนวนมาก
4. ไม่ต้องทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5. ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากการสังเกต การพูคุย และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
6. ใช้เวลาในการทำวิจัยไม่นาน ขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหาและจำนวนบุคคลที่ต้องแก้ไข
7. ความยาว 2-3 หน้าต่อเรื่อง
8. นักเรียนครูได้รับการแก้ไขและพัฒนา
9. ไม่มีการระบุประชากร กลุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง
10. ไม่ต้องใช้สถิติสรุปอ้างอิง และไม่มีระดับนัยสำคัญ
11. ไม่มีการทดสอบก่อนหลัง
12. ไม่มีกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม
13. เป็นการวิจัยเชิงคุณลักษณะ (Qualitative research มากกว่า Quantitative research)
14. เน้นกรแก้ไขที่สาเหตุของปัญหาของนักเรียนและครู