ข่าวการศึกษา

ประกาศใช้ “ใบรับรองแพทย์แบบใหม่” 2566 สำหรับข้าราชการที่ได้บรรจุ

ประกาศคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2566

สำหรับใบรับรองแพทย์แบบใหม่ที่แทบท้ายประกาศฉบับนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 

ส่วนที่ 1 สำหรับผู้ขอรับการตรวจสุขภาพ ระบุรายละเอียดดังนี้

  • ชื่อ-นามสกุล
  • ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้
  • โทรศัพท์
  • อีเมล
  • เลขประจำตัวประชาชน

จากนั้นจะระบุว่า “ข้าพเจ้าขอหนังสือรับรองสุขภาพเพื่อเข้ารับราชการ

  • ในตำแหน่ง
  • กรม
  • กระทรวง

จากนั้นจะถามประวัติสุขภาพ ซึ่งมี 4 ข้อ สามารถตอบได้ว่า ไม่มี หรือ มี (ระบุ) ดังนี้ 

  1. โรคประจำตัว ไม่มี/มี (ระบุ)
  2. อุบัติเหตุและการผ่าตัด ไม่มี/มี (ระบุ)
  3. เคยเข้ารับการรักษาในฐานะผู้ป่วยใน ไม่มี/มี (ระบุ)
  4. ประวัติเกี่ยวกับสุขภาพที่สำคัญ (เว้นช่องว่างให้กรอก)

 
ท้ายของส่วนที่ 1 จะถามความยินยอมให้ตรวจสอบ เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ระบุไว้ในหนังสือฉบับนี้ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ จากนั้นจะให้ลงชื่อ นามสกุล พร้อมระบุวัน / เดือน / ปี อีกครั้ง

ส่วนที่ 2 สำหรับแพทย์ผู้ตรวจ จะระบุดังนี้

  • สถานที่ตรวจ / วัน เดือน ปี ที่ตรวจ
  • ชื่อนามสกุลของแพทย์ที่ตรวจ 
  • ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม เลขที่
  • สถานที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  • ได้ตรวจร่างกาย นาย/นาง/นางสาว แล้วเมื่อวันที่ เดือน พ.ศ. มีรายละเอียดดังนี้
    • น้ำหนักตัว
    • ความสูง
    • ความดันโลหิต
    • ชีพจร 
    • สภาพร่างกายทั่วไป อยู่ในเกณฑ์ ปกติ/ผิดปกติ (ระบุ)

และนอกจากนี้แพทย์ยังต้องรับรองว่าบุคคลดังกล่าว ปรากฎหรือไม่ปรากฏ โรค 5 โรค ดังต่อไปนี้

  1. โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฎอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
  2. โรคติดยาเสพติดให้โทษ
  3. โรคพิษสุราเรื้อรัง
  4. โรคติดต่อร้ายแรงที่ปรากฎอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
  5. โรคเรื้อรังที่ปรากฎอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่

จากนั้นแพทย์ยังต้องเขียนบรรยายการตรวจพบ / ความเห็นว่าควรส่งตรวจเพิ่มเติมหรือไม่ และสรุปความเห็นของแพทย์ 

นอกจากนี้ในท้ายของประกาศ ยังระบุหมายเหตุ 4 ข้อสำหรับแพทย์ ดังนี้

  1. ชื่อส่วนราชการ
  2. ต้องเป็นแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  3. ให้แสดงว่าเป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์เพียงใด
  4. ประทับตราโรงพยาบาลด้วย
  5. ใบรับรองแพทย์ฉบับนี้ให้ใช้ได้ 1 เดือน นับแต่วันที่ตรวจร่างกาย

สำหรับประกาศฉบับดังกล่าว ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2566 และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป นั่นหมายความว่าเริ่มใช้บังคับวันที่ 18 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป

ประกาศใช้ "ใบรับรองแพทย์แบบใหม่" 2566 สำหรับข้าราชการที่ได้บรรจุ
ประกาศใช้ "ใบรับรองแพทย์แบบใหม่" 2566 สำหรับข้าราชการที่ได้บรรจุ
ประกาศใช้ "ใบรับรองแพทย์แบบใหม่" 2566 สำหรับข้าราชการที่ได้บรรจุ
Powered by GliaStudio

การศึกษาไทย

เว็บไซต์ข่าวสารการศึกษาของครูและบุคลากรทางการศึกษา อัพเดททุกวัน ติดตามเราเพื่อไม่พลาดความเคลื่อนไหว ของข่าวสารการศึกษา ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button