ความเป็นปรนัย Objectivity ที่เกี่ยวข้องกับการวัดผล
ความเป็นปรนัย Objectivity
ความเป็นปรนัย (Objectivity) ความเป็นปรนัย หมายความว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการวัดผลครั้งนั้นมีความเห็นสอดคล้อง กันในเรื่องของคำถาม ค่าของคะแนนหรืออันดับที่ที่วัดได้ตลอดจนการแปลงค่าคะแนนเป็นผลประเมิน ในการตัดสินคุณค่าก็สอดคล้องตรงกัน การพิจารณาความเป็นปรนัยของแบบทดสอบมีหลายประการ คุณสมบัติความเป็นปรนัยของ แบบทดสอบที่สำคัญ ได้แก่คุณสมบัติ 3 ประการดังนี้
1) ชัดแจ้งในความหมายของคำถาม ข้อสอบที่เป็นปรนัย ทุกคนที่อ่านข้อสอบไม่ว่าจะ เป็นผู้สอบหรือผู้ตรวจข้อสอบย่อมจะเข้าใจตรงกันไม่ตีความไปคนละแง่
2) ตรวจให้คะแนนได้ตรงกัน ข้อสอบที่มีความเป็นปรนัย ไม่ว่าจะเป็นผู้ออกข้อสอบหรือ ใครก็ตามสามารถตรวจให้คะแนนได้ตรงกัน ข้อสอบที่ผู้ตรวจเฉลยไม่ตรงกัน แสดงให้เห็นถึงความไม่ ชัดเจนในคำถามหรือคำตอบ
3) แปลความหมายของคะแนนได้ตรงกัน โดยทั่วไปข้อสอบปรนัยนั้นผู้ตอบถูกจะได้ 1 คะแนน ตอบผิดจะได้ศูนย์คะแนน จำนวนคะแนนที่ได้จะแทนจำนวนข้อที่ถูก ทำให้สามารถแปล ความหมายได้ชัดเจนว่าใครเก่ง อ่อนอย่างไร ตอบถูกมากน้อยต่างกันอย่างไร ข้อสอบประเภทถูกผิด จับคู่ เติมคำ เลือกตอบที่ขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่าเป็นข้อสอบปรนัยเฉพาะรูปแบบของ ข้อสอบเท่านั้น ส่วนคุณสมบัติยังไม่เป็นปรนัย ความเป็นปรนัยของข้อสอบ จะนำให้เกิดคุณสมบัติทาง ความเชื่อมั่น ของคะแนน อันจะนำไปสู่ความเที่ยงตรง ของการวัดผลด้วย
สรุปความเป็นปรนัย Objectivity ที่เกี่ยวข้องกับการวัดผล
ปรนัย อ่านได้สองแบบคือ ปะระไน หรือ ปอระไน หมายถึง วัตถุวิสัยการสอบแบบที่ผู้สอบมักไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นส่วนตัว เป็นคำถามที่ต้อง การคำตอบตายตัว ดังนั้น ในการสอบแบบปรนัย ผู้สอบมักจะต้องเลือกคำตอบที่ถูกต้องจากตัวเลือกหลายๆ ตัวที่ให้ไว้ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ข้อสอบช้อยส์” ที่มาจากคำภาษาอังกฤษว่า choices ที่แปลว่า ตัวเลือกหลายๆ ตัว