วPA คืออะไร

5762
4

วPAคืออะไร คำว่า “PA” คืออะไร


จากข้อมูลของ ก.ค.ศ. มี 2 คำที่ปรากฏ ได้แก่ “Peformance Agreement” และ “Performance Appraisal” ซึ่งหากจะหาความหมายตรงคำ ได้แก่ Performan แปลว่า สมรรถนะ, สมรรถภาพ การกระทำ, พฤติกรรม

Agreementแปลว่า การเห็นด้วย, การเห็นชอบร่วมกัน,การยอมรับร่วมกัน, ข้อตกลง, ความตกลง

Appraisal แปลว่า การประเมิน, การตีรดา, การประเมินค่า, การหาค่า

performance appraisal แปลว่า การประเมินผลการปฏิบัติงาน

ในหลักวิชาการบริหารงานบุคคลทั้งภาครัฐและเอกชนเกี่ยวกับการประเมินบุคคล มีการใช้แนวคิด

เรื่อง การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลง (Performance Agreement) มาอย่างกว้างขวางแล้ว และในการประเมินเพื่อขอมีและเลื่อนวิทยฐนะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก็ปรากฏว่า สำนักงาน กค.ศ. ได้เคย  มีหลักกณฑ์และวิธีการนี้ประกาศใช้ (แต่ยังไม่ได้ใช้) คือ หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษวิทยฐนะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญตามข้อตกลงในพัฒนางาน (ส่งพร้อมหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศร 0206.4/ว 7 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2558) และนิยามศัพท์สำคัญเกี่ยวเนื่องกับ คำว่า “ข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement)” ดังต่อไปนี้

ข้อตกลงในการพัฒนางาน หมายถึง ข้อเสนอในการพัฒนางานตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่ผู้ขอรับการประเมินได้จัดทำไว้กับคณะกรรมการชุดที่ 1 และได้รับความเห็นชอบจาก อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หรือ ก.ค.ศ. แล้วแต่กรณี ให้เป็นข้อตกลง เพื่อแสดงว่าภายในระยะเวลาที่กำหนดจะพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ดีขึ้น ปรากฏผลสำเร็จ เป็นที่ประจักษ์ และสามารถยกระดับคุณภาพผู้เรียนและคุณภาพการศึกษได้ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ

การพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน หมายถึง การพัฒนางานตามหน้าที่และความรับผิดชอบ ให้มีคุณภาพตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับการประเมิน

ผลการพัฒนางานตามข้อตกลง หมายถึง ผลการพัฒนางานที่ผู้ขอรับการประเมินได้ดำเนินการตามข้อตกลงที่ทำไว้เพื่อพัฒาคุณภาพผู้เรียนให้ดีขึ้นจนบังเกิดผลป็นที่ประจักษ์และสามารถกระดับคุณภาพผู้เรียนและคุณภาพการศึกษได้ตมนโยบายของกระทวงศึษาธิการภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อตกลง

ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน หมายถึง ผลการพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้สูงขึ้นตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ

ผลสัมฤทธิ์ทาการเรียน หมายถึง ผลที่เกิดจกกระบวนการจัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนหรือโครงการที่ทำให้ผู้เรียนกิดการพัฒนตมมาตฐานการเรียนที่สอดคล้องกับสาขาหรือกลุ่มสาระการเรียนหอวิชาที่เสนอขอรับการประเมิน

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง คุณลักษณะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนในด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึก บุคลิกลักษณะนิสัยที่ดีงม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก

ผู้เรียน หมายถึง นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับบริการการบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของตัวชี้วัดของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนตกันตามหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์กันตั้แต่ 2 วิชาขึ้นไป โดยนำเอาเนื้อหาวิชามาผสมผสานและเชื่อมโยกัน ทำให้เกิดความรู้ความข้าใจลักษณะองค์รวมสามารถนำไปประยุคตใช้ในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีคุณภาพ

สำหรับคำว่า “ข้อตกลงในกาพัฒนางาน หรือ PA” ตามหลักเกณฑๆ ใหม่นี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่และมาตรฐานวิทยฐานะ ประกอบด้วย (1)
ชั่วโมงปฏิบัติงาน และ (2) คุณภาพการปฏิบัติงนตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ซึ่งจะเห็นว่า ครูที่จะยื่น PA ต่อผู้อำนวยโรงเรียนในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 นี้ จะต้องประกอบด้วย 2 ส่วน ดังกล่าว หลังจากนั้น ก็จะต้องมีการพัฒนางานตามข้อตกลงจนสิ้นสุดปีงบประมาณ จึงจะมีการประเมิน โดยผลการประเมินใช้ประโยชน์เพื่อ (1) เลื่อนเงินเดือน (2) คงวิทยฐานะ และ (3) เลื่อนวิทยฐานะ

วpa คืออะไร คำว่า “PA” คืออะไร

คลิกให้คะแนนโพสต์นี้!
[รวม: 5 เฉลี่ย: % เฉลี่ย%]
บทความก่อนหน้านี้เครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูไทย ออกแถลงการณ์ฉบับล่าสุด
บทความถัดไปหลักเกณฑ์ เบื้องต้น วPA

4 ความคิดเห็น

  1. สิ่งที่”ครู”ต้องเติม-เสริมตัวเองอยู่ตลอดเวลาคือการประเมินตัวเองก่อน..ไปประเมินคนอื่น

  2. -ประเด็นท้าทาย จำเป็นต้องเหมือนกันทุกปีไหมคะ (ในรอบการประเมินเดียวกัน)
    – ในกรณีที่ ปีหน้าเด็กเลื่อนชั้น ครูสอนเด็กใหม่

  3. ผู้ประเมินจะเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระุหรือฝ่ายวิชาการ และนิเทศก์ ส่วนตัวมองว่า แม้จะคิดในทางที่ดีว่า ครูคือผู้ที่เข้าใจสภาพนักเรียนดีว่าเป็นอย่างไร สมรรถนะแบบไหนที่ต้องพัฒนา แต่ก็ห่วงเรื่องเอกสารนั่งเขียน การประเมินน่าจะใช้เด็กมาร่วมในการประเมินด้วย ไม่ควรจะเป็นครูหรือเอกสารที่ครูทำเท่านั้น และควรเป็นเด็กที่ไม่รู้มาก่อนว่าต้องเข้ามาให้ข้อมูล เพื่อให้เห็นว่าเด็กเองมีสมรรถนะที่เพิ่มขึ้น หรือได้รับการพัฒนาจากที่ครูผู้สอนได้เห็น และเห็นด้วยที่ว่า ครูอาจจะต้องประเมินตนเองก่อนว่ามีศักยภาพพอที่จะไปพัฒนาคนอื่น หรือไม่

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่