สอบครูผู้ช่วย สพฐ. รอบทั่วไป ปี 66 ต้องอ่านอะไร รู้ไว้จะได้บรรจุ
ครูผู้ช่วย คือตำแหน่งแรกบรรจุของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานการสอน ตาม พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในมาตรา 30 ได้กำหนดว่า ผู้ที่จะรับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณาแล้ว เนื่องจากสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้มีหนังสือซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารอัตรากำลังสำหรับการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2566 เพื่อเป็นการบริหารอัตรากำลังให้เกิดประโยชน์ต่อทางราชการ จึงกำหนดการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ข้อสอบภาค ก ภาค ข และ ภาค ค ตามประกาศของ ก.ค.ศ. เกี่ยวกับการสอบครูผู้ช่วยของปี 2566 ได้ให้รายละเอียด การสอบ ภาค ก คือวิชาความสามารถทั่วไป ภาค ข คือความสามารถในวิชาเอก และภาค ค เป็นคุณลักษณะส่วนบุคคลและเกี่ยวกับวิชาชีพครู ดังนี้
ภาค ก คะแนนเต็ม 200 คะแนน แบ่งออกเป็น
– ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (100 คะแนน)
– ทักษะภาษาอังกฤษ (50 คะแนน)
– ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (50 คะแนน)
ภาค ข คะแนนเต็ม 200 คะแนน แบ่งออกเป็น
– มาตรฐานความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน (วิชาเอก) (100 คะแนน)
– มาตรฐานความรู้ทั่วไปในการจัดการเรียนการสอน (75 คะแนน)
– ความรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน (25 คะแนน)
ภาค ค คะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งออกเป็น
– คุณลักษณะส่วนบุคคล (25 คะแนน)
– การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ (25 คะแนน)
– สัมภาษณ์ (50 คะแนน) (รออัพเดท)
สอบครูผู้ช่วย สพฐ. รอบทั่วไป ปี 66 ต้องอ่านอะไร รู้ไว้จะได้บรรจุ
การสอบครูผู้ช่วยภาค ก
ความรู้ความสามารถทั่วไป โดยมีคะแนนเต็มอยู่ที่ 200 คะแนน ซึ่งแบ่งเป็นข้อสอบปรนัย 3 ส่วน คือ
1. ความสามารถในการวิเคราะห์ (100 คะแนน)
ในส่วนนี้การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา คือ การใช้ภาษาไทยเพื่อสื่อสารและ ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย การจับใจความสำคัญ การสรุปความ การตีความหมาย ข้อความ หรือสถานการณ์ต่างๆ โดยแบ่งเป็น 2 หัวข้อย่อยๆ ได้แก่
1.) การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม ได้แก่ การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคำ ข้อความ หรือรูปภาพ ตลอดจนการหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพ สถานการณ์ หรือแบบจำลองต่างๆ
2.) การคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ความเข้าใจ ความคิดรวบยอด และแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น การเปรียบเทียบและวิเคราะห์เชิงปริมาณ ตลอดจนการประเมินความเพียงพอของข้อมูล
2. ทักษะภาษาอังกฤษ (50 คะแนน)
ในส่วนนี้เป็นการวัดความเข้าใจหลักการสื่อสาร ในการใช้ศัพท์ สำนวน และโครงสร้างประโยคที่เหมาะสม ทั้งในเชิงความหมาย และบริบท รวมไปถึงการวัดความสามารถด้านการอ่าน โดยทดสอบการทำความเข้าใจในสาระของข้อความหรือบทความ และการวัดความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ ในระดับเบื้องต้นอีกด้วย
3. ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (50 คะแนน)
วัดความรู้ที่เป็นพื้นฐานของการเป็นข้าราชการที่ดี ได้แก่ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง นห้าที่และความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตลอดจนเเจตคติและจริยธรรมสำหรับข้าราชการ
การสอบครูผู้ช่วยภาค ข
เป็นการสอบมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ โดยมีคะแนนเต็ม 200 คะแนน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1. มาตรฐานความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน (วิชาเอก) (100 คะแนน)
เป็นการทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย ในเรื่องต่อไปนี้
1.1) การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก สังคม และแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.2) จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยาให้คำปรึกษาในการวิเคราะห์และพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
1.3) หลักสูตร ศาสตร์การสอน และการใ้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้
1.4) การวัดประเมินผลการเรียนรู้และการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
1.5) การออกแบบและการดำเนินการเกี่วกับงานประกันคุณภาพการศึกษา
2. มาตรฐานความรู้ทั่วไปในการจัดการเรียนการสอน (75 คะแนน)
เป็นการทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย
3. ความรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน (25 คะแนน)
เป็นการทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย ในเรื่องต่อไปนี้
3.1) กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติงาน ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
1. รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
2. กฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ
3. กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
4. กฎหมายว่าด้วยระเบียข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5. กฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
6. กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
7. กฎหมายว่าด้วยคุ้มครองเด็ก
8. กฎหมายว่าด้วยการศึกษาปฐมวัย
3.2) แนวทางปฏิรูปการศึกษา ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
1. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
2. แผนการศึกษาแห่งชาติ
3. นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ
การสอบครูผู้ช่วยภาค ค
เป็นประเมินจากการสัมภาษณ์ โดยมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน ซึ่งในส่วนนี้วัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง วิชาชีพ และการปฏิบัติงานในสถานศึกษา แล้วแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1. คุณลักษณะส่วนบุคคล (25 คะแนน)
เป็นประเมินจากการสัมภาษณ์ ดังนี้
1.1) บุคลิกลักษณะ ท่วงทีวาจา
1.2) วุฒิภาวะทางอารมณ์และการมีปฏิภาณการแก้ปัญหา
1.3) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เจตคติ และอุดมการณ์ความเป็นครู
2. การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ (25 คะแนน)
ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน ดังนี้
2.1) ประวัติการศึกษา
2.2) ผลงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพและวิชาเอกที่สำเร็จการศึกษา
2.3) การเข้าถึงชุมชน และการมีจิตสาธารณะ
3. สัมภาษณ์ (50 คะแนน) (รออัพเดท)