กลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ชื่อเรื่อง กลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนสาธิตองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 (บ้านท่าเรือมิตรภาพที่ 30)
ผู้วิจัย เอกพงษ์ บัวจันทร์
ปีที่ทำการวิจัย 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสาธิตองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 (บ้านท่าเรือมิตรภาพที่ 30) 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสาธิตองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 (บ้านท่าเรือมิตรภาพที่ 30) 3) เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสาธิตองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 (บ้านท่าเรือมิตรภาพที่ 30) ด้านคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษา ขั้นพื้นฐาน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสาธิตองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 (บ้านท่าเรือมิตรภาพที่ 30) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คณะกรรมการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครู และตัวแทนชุมชน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น จากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ คณะกรรมการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูและตัวแทนชุมชนต่อจากนั้นจัดทำกลยุทธ์โดยใช้เทคนิค SWOT ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนนำผลการวิเคราะห์มาจัดทำรายกลยุทธ์และตรวจสอบกลยุทธ์โดยการจัดประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ
ผลการวิจัย พบว่า
สภาพปัจจุบันของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสาธิตองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 (บ้านท่าเรือมิตรภาพที่ 30)ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดลำดับแรก คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการประเมินผลอย่างมีคุณภาพ รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อนงานด้วยเครือข่ายเข้มแข็ง และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการรับผลประโยชน์และขยายต่อความสำเร็จร่วมกัน
ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดลำดับแรกคือการมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อนงานด้วยเครือข่ายเข้มแข็งรองลงมาคือการมีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมมือวางแผนและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการรับผลประโยชน์และขยายต่อความสำเร็จร่วมกัน
กลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลัก 13 กลยุทธ์รอง ได้แก่ กลยุทธ์หลักที่ 1 ค้นหารับรู้คู่ชุมชน ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์รอง กลยุทธ์หลักที่ 2 ร่วมมือวางแผน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์รอง กลยุทธ์หลักที่ 3 ขับเคลื่อนงานด้วยเครือข่ายเข้มแข็ง ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์รอง กลยุทธ์หลักที่ 4 ประเมินผลอย่างมีคุณภาพ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์รอง และกลยุทธ์หลักที่ 5 รับผลประโยชน์และขยายต่อความสำเร็จร่วมกัน ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์รอง
ผลสำเร็จของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนสาธิตองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 (บ้านท่าเรือมิตรภาพที่ 30)ปรากฏผลดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานกำหนดทุกกลุ่มวิชา นักเรียนมีความรู้ความสามารถทางวิชาการได้รับรางวัลการแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่าง ๆ นักเรียนมีความประพฤติดี กริยามารยาทเรียบร้อย นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ชอบออกกำลังกาย นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือจากชุมชน ผู้มีอุปการคุณและหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ทุนการศึกษา ความพึงพอใจของครู ผู้ปกครองและนักเรียนต่อผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด