การจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTADเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องการวัดความยาวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTADเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องการวัดความยาวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ              เรื่องเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน (ครองประชานุกูล)
The Development of Learning Achievement in mathematics
(Time Subject) by Using Exercises for 2nd Grade Students at Bansuan Municipal (Klong Pracha Nukool) School.
 
ไพลิน ชูเชิด1*
Pilin Choochird 1*
1 โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน (ครองประชานุกูล) ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.สุโขทัย 64220
1 Bansuan Municipal (Klong Pracha Nukool) School T.Bansuan Mueang Sukhothai 64220
Corresponding author E-mail: pilin8439@gmail.com
 
บทคัดย่อ
          การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน (ครองประชานุกูล) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและ               หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะเรื่องเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน                (ครองประชานุกูล) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน (ครองประชานุกูล) ก่อนเรียนและหลังเรียน                 ผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน (ครองประชานุกูล) จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบฝึกทักษะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพ (E1 /E2 ) และสถิติทดสอบสมมติฐานของการวิจัยโดยใช้สถิติ Dependent Sample t – test คำนวณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน (ครองประชานุกูล) มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 80.76/80.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ เรื่องเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน (ครองประชานุกูล) โดยใช้แบบฝึกทักษะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  
 
คำสำคัญ : แบบฝึกทักษะ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Abstract
          The purposes of this research were 1) to investigate the efficiency of exercises for Time Subject in order to attain the criteria of 80/80; 2) to compare the learning achievement of 2nd grade students before and after using exercises for Time Subject, The sample consisted of 23 grade two students of Bansuan Municipal (Klong Pracha Nukool) School in the first semester of the academic year 2022. They were selected by Purposive Sampling. The statistics used for analyzing the collected data were: mean, standard deviation, and t-test dependent sample.
The results of the study were as follows: 1) the efficiency of exercises for Time subject was obtained at 80.76/80.87, higher than a predetermined threshold. 2) the mathematic learning achievement of 2th grade students was significantly higher than before the experiment using exercises for Time Subject at .05 level.
 
Keywords : Exercises, Learning achievement
 
บทนำ
          คณิตศาสตร์เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีความสำคัญ เพราะคณิตศาสตร์ช่วยพัฒนาความคิดของนักเรียนให้สามารถคิดได้อย่างถูกต้อง เป็นระบบ มีเหตุผล แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพและสามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็นกลุ่มสาระที่สถานศึกษาต้องใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอน เพื่อสร้างพื้นฐานการคิดและเป็นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาและวิกฤติของชาติ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถ               อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (กรมวิชาการ. 2551) ทั้งนี้คณิตศาสตร์เป็นวิชา เกี่ยวกับความคิด ความคิด             ทางคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีโครงสร้างหรือข้อตกลงชัดเจน การดำเนินการทางคณิตศาสตร์ทุกขั้นตอนต้องเป็น             ไปตามโครงสร้างหรือข้อตกลงหรือตามแบบแผนที่วางไว้ และการสรุปทุกขั้นตอนต้องมีเหตุผลอ้างอิงอย่างสมเหตุสมผลด้วยความมีเหตุผลทางคณิตศาสตร์ทำให้มนุษย์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ ได้เสมอ (สมวงษ์ แปลงประสพโชค, สมเดช บุญประจักษ์ และจรรยา ภู่อุดม. 2556) แต่จากรายงานการประเมินปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบการศึกษาของประเทศไทย (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2560: 67-69) พบว่า การจัดการศึกษาของชาติยังขาดคุณภาพ และมาตรฐานในทุกระดับชั้น คุณภาพ และการเรียนรู้ของคนไทยอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำโดยพิจารณาจากคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) มีค่าเฉลี่ยต่ำในทุกกลุ่มสาระ
          โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน (ครองประชานุกูล) เป็นอีกสถานศึกษาหนึ่งที่ประสบปัญหาทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ซึ่งข้อมูลในปีการศึกษา 2563 – 2564 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2                   (กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์) พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 2 ปีการศึกษาต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ และเมื่อวิเคราะห์สาระการเรียนรู้เป็นรายหน่วยการเรียนรู้ พบว่า หน่วยการเรียนรู้ที่มีปัญหาในทั้ง 2 ปีการศึกษา คือ หน่วยการเรียนรู้เรื่องเวลา โดยปีการศึกษา 2563 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 68.28 และปีการศึกษา 2564              มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 68.36 ทั้งนี้ทางสถานศึกษาได้ตั้งคะแนนเฉลี่ยไว้ที่ร้อยละ 70 จากผลประเมิน                 คุณภาพการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนประสบปัญหาด้านการจัดเรียนการสอนซึ่งสมควรได้รับการปรับปรุงแกไขอย่างเร่งดวน
          ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์                      โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน (ครองประชานุกูล)           เพื่อใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดอีกทั้งยังเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อนวัตกรรม เพื่อใช้ในการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพสูงต่อไป         
วัตถุประสงค์การวิจัย

  1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะทักษะเรื่องเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน (ครองประชานุกูล) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
  2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน (ครองประชานุกูล) ก่อนเรียนและหลังเรียน

 
วิธีการดำเนินการวิจัย
ผู้วิจัยมีวิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร คือ นักเรียนที่เรียนในปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านสวน (ครองประชานุกูล) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 23 คน ภาคเรียนที่ 1                                ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน (ครองประชานุกูล) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย                         ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้คุณสมบัติคือ เป็นห้องเรียนที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการสอนนายวิชาคณิตศาสตร์
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้จัดทำขึ้นประกอบด้วย
– แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเวลา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน(ครองประชานุกูล) จำนวน 4 เล่ม
– แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเวลา ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ
การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเวลา โดยการสร้างตามลำดับขั้นตอน ดังนี้

  1. ศึกษาเอกสาร และตำราที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครื่องมือวัดผลและประเมินผล
  2. วิเคราะห์หัวข้อเนื้อหา และจุดประสงค์การเรียนรู้ แล้วนำไปสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเวลา จำนวน 30 ข้อ ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก โดยมีการให้คะแนนตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน ไม่ตอบได้ 0 คะแนน

 

  1. นำแบบทดสอบเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญชุดเดิมเพื่อตรวจพิจารณาความสอดคล้องของเนื้อหา (Content Validity) และจุดประสงค์การเรียนรู้โดยกำหนดค่าคะแนนของดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ดังนี้

                     + 1      หมายถึง แน่ใจว่าแบบทดสอบตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้
                     0         หมายถึง ไม่แน่ใจว่าแบบทดสอบไม่ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้
                     – 1       หมายถึง  แน่ใจว่าแบบทดสอบไม่ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้

  1. นำผลการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละข้อที่มีค่า IOC มากกว่า 0.5 เป็นแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเวลา ซึ่งผลการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญมีข้อสอบที่อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม                  ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.8 -1.0 ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ที่เหมาะสมมีคุณภาพยอมรับได้ จำนวน 30 ข้อ และผู้รายงานได้รับข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับด้านภาษาในคำถามและตัวเลือกจึงได้นำแบบทดสอบ                  มาปรับปรุงแก้ไข แล้วจึงนำมาจัดพิมพ์เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเวลา เพื่อนำไปทดลองใช้ (Try-out) ต่อไป
  2. นำแบบทดสอบไปทดลองใช้ (Try-out) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลบ้านสวนใต้ (ครองประชานุกูล) ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 31 คน
  3. นำผลการทดลองที่ได้มาวิเคราะห์รายข้อหาความยากง่าย (p) และค่าอำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบเป็นรายข้อ แล้วคัดเลือกเฉพาะข้อที่มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.20 ถึง 0.80 และค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 1.00 ซึ่งผลจากการวิเคราะห์แบบทดสอบ จำนวน 30 ข้อ ปรากฏว่ามีข้อที่อยู่เกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 21 ข้อ ผู้รายงานจึงตัดแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเวลา ออกอีก 1 ข้อ เพื่อความเหมาะสม จึงได้แบบทดสอบที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและมีความเหมาะสม จำนวน 20 ข้อ โดยมีค่า   ความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.40-0.80 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.31-0.63
  4. นำแบบทดสอบที่คัดเลือก จำนวน 20 ข้อ มาหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับโดยวิธีการของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) สูตร KR20 ด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ปรากฏว่าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเวลา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86
  5. จัดพิมพ์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเวลา ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว เพื่อใช้เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการนำไปทดลองใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2565 ต่อไป      

การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้

  1. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง เวลา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามเกณฑ์ 80/80
  2. วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนด้วย แบบฝึกทักษะ เรื่อง เวลา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ t-test

 
 
ผลการวิจัย
ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

  1. ผลการหาแบบฝึกทักษะเรื่องเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน (ครองประชานุกูล)

ตารางที่ 1 แสดงผลการหาแบบฝึกทักษะเรื่องเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน (ครองประชานุกูล)

รายการ

แบบฝึกทักษะ

รวม

แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์

1

2

3

4

 
 

คะแนนเต็ม

10

10

10

10

40

20

จำนวนกลุ่มตัวอย่าง

23

23

23

23

 
 

คะแนนรวมทุกคน

186

191

182

184

743

372

คะแนนเฉลี่ย

8.09

8.30

7.91

8.00

32.30

16.17

คะแนนเฉลี่ยร้อยละ

80.87

83.04

79.13

80.00

80.76

80.87

E1/E2

80.76

80.87

 

  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน (ครองประชานุกูล) โดยใช้แบบฝึกทักษะ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 
วิจารณ์ผล
ผู้วิจัยได้วิจารณ์ผลการวิจัยได้ดังนี้

  1. แบบฝึกทักษะเรื่องเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน (ครองประชานุกูล) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 23 คน พบว่ามีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 80.76/80.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้เนื่องจากแบบฝึกทักษะ ได้ผ่านกระบวนการและขั้นตอนการสร้างอย่างเป็นระบบตามขั้นตอนการสร้างแบบฝึกทักษะ กล่าวคือ                       มีความมุ่งหมายในการสร้างที่แน่นอน มีการวางแผนและกำหนดจุดมุ่งหมายวิเคราะห์ทักษะและเนื้อหาที่ต้องการใช้สร้างแบบฝึกทักษะ กำหนดรูปแบบของแบบฝึกทักษะ เน้นกระบวนการการแก้ปัญหา กระตุ้นให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของขจรศักดิ์ สีเสน (2560 : 59 – 60) ที่ได้ทำการศึกษาเรื่องการใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 ผลการวิจัยพบว่า การใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการแก้โจทย์ปัญหา การบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6       ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 86.43/82.67 และนักเรียนมีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน                      ในส่วนของรูปแบบของแบบฝึกทักษะเรื่องเวลา เมื่อพิจารณาดูเนื้อหาและผลของประสิทธิภาพของรูปแบบแล้วนั้น สอดคล้องกับแนวการสร้างแบบฝึกทักษะของ จำเนียง แซ่เล่า (2561) ที่ได้เสนอแนะรูปแบบการสร้างและพัฒนาแบบฝึกคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการคูณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.62/82.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การคูณ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน (ครองประชานุกูล) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นวาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมีการเรียงลำดับจากเนื้อหาจากง่ายไปหายาก เน้นกระบวนการปฏิบัติจริงมีขั้นตอนใน การช่วยเหลือ สนับสนุน อีกทั้งตัวหนังสือและภาพประกอบดึงดูดความสนใจให้เกิดความตั้งใจ ใฝ่เรียน อีกทั้งกระตุ้นให้นักเรียนได้ฝึกทำแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องเวลาด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกบผลการศึกษาวิจัยของ                    ปาริชาติ สุพรรณกลาง. (2560 : 68 – 73) ที่ได้ทำการศึกษาเรื่องการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์                   เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาสมการ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 ผลการวิจัยปรากฏว่าแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาสมการ มีประสิทธิภาพ 86.00/84.95 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80                  ที่ตั้งไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาสมการ ค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบหลังการใช้      แบบฝึกทักษะสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบก่อนใช้แบบฝึกทักษะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 
สรุปผล
แบบฝึกทักษะเรื่องเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน                      (ครองประชานุกูล) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 23 คน พบว่า มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 80.76/80.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์                   เรื่อง เวลา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน (ครองประชานุกูล)                           โดยใช้แบบฝึกทักษะ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้      

  1. ครูผู้สอนควรกระตุ้นให้กำลังใจและเสริมแรงให้นักเรียนกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมตาม แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์
  2. แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่จำเป็นในกระบวนการจัดการเรียนการสอนซึ่งส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ดังนั้นครูผู้สอนควรนำเอาแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจและอธิบายให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป

  1. ควรศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้แบบฝึกทักษะการเรียนการสอน ที่มีเทคนิคการสอนเข้ามาใช้ในการจัดทำแผนการสอนเพื่อให้นักเรียนสามารถมีผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้น เช่น ในเรื่องของเทคนิคการสอนแบบการคิดวิเคราะห์ เป็นต้น
  2. ควรมีการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเมื่อเรียนด้วยแบบฝึกทักษะกับสื่อหรือนวัตกรรมอื่นๆ เพื่อมีการนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน

 
เอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการ. (2551). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร :                โรงพิมพ์การศาสนา.
ขจรศักดิ์ สีเสน. (2560). การทำและการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์             กรมสามัญศึกษา.
จำเนียง แซ่เล่า (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน               เรื่อง การคูณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. โรงเรียนบ้านขอนหาด จังหวัดนครศรีธรรมราช.
ปาริชาติ สุพรรณกลาง. (2560). การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาสมการสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. โรงเรียนนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์.
วีณา วโรตมะวิชญ์. (2559). การสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ในโรงเรียนประถมศึกษา.เชียงใหม่:                    คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิวกานท์ ปทุมสูติ. (2559). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษา      ปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน                          บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สมวงษ์ แปลงประสพโชค, สมเดช บุญประจักษ์ และจรรยา ภู่อุดม. (2556). ผลสำรวจสาเหตุเด็กไทยอ่อนคณิตศาสตร์และแนวทางแก้ไข. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 จาก http://www. ripnmath.com/doc/25512502/child_ low_math.doc.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
 

คลิกให้คะแนนโพสต์นี้!
[รวม: 0 เฉลี่ย: % เฉลี่ย%]

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่