การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เรื่อง พอลิเมอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เรื่อง พอลิเมอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ครูวี asked 2 ปี ago

บทคัดย่อ
            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา   เรื่อง พอลิเมอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด อย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เรื่อง พอลิเมอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5                  3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนโดยการจัด       การเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ            และการแก้ปัญหา เรื่อง พอลิเมอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อเปรียบเทียบคะแนน  ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนโดย     การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ    และการแก้ปัญหา เรื่อง พอลิเมอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ    ของนักเรียน ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เรื่อง พอลิเมอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5                 วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre – Experimental Research) รูปแบบการวิจัย เป็นแบบ One Groups Pre – Test Post – Test Design กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียน         ที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม       อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 32 คน โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากห้องเรียนแต่ละห้องมีนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนเก่ง ปานกลาง อ่อน ใกล้เคียงกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เรื่อง พอลิเมอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 แผน    รวมเวลา 14 ชั่วโมง และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เรื่อง พอลิเมอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาเคมีเพิ่มเติม เรื่อง พอลิเมอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีลักษณะ       เป็นแบบทดสอบอิงเกณฑ์แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง        0.23 – 0.70 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33 – 0.84  และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84        แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เรื่อง พอลิเมอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบทดสอบอิงเกณฑ์ แบบปรนัย 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.31 – 0.70 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33 – 0.84 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86    และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธี    การโต้แย้ง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เรื่อง พอลิเมอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แบ่งเป็นด้านทั้งหมด 3 ด้าน จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐานด้วย t – test แบบ Dependent
           ผลการวิจัยพบว่า

  1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เรื่อง พอลิเมอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 81.53/81.15 เป็นไปตามเกณฑ์ ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
  2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เรื่อง พอลิเมอร์ สำหรับนักเรียน          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.6863
  3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เรื่อง พอลิเมอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  4. คะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาของนักเรียน ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ    และการแก้ปัญหา เรื่อง พอลิเมอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน    อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  5. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เรื่อง พอลิเมอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
Powered by GliaStudio
Back to top button