ค้นหาข้อมูลจาก Google

การจัดการเรียนรู้แบบ   Active Learningด้วยแบบฝึกทักษะพัฒนาการอ่านและเขียนคำควบกล้ำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการจัดการเรียนรู้แบบ   Active Learningด้วยแบบฝึกทักษะพัฒนาการอ่านและเขียนคำควบกล้ำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
Raweewan Thiphayanon asked 1 ปี ago

เรื่องที่ศึกษา       การจัดการเรียนรู้แบบ   Active Learningด้วยแบบฝึกทักษะพัฒนาการอ่านและเขียนคำควบกล้ำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
ผู้รายงาน          นางสาวระวีวรรณ ทิพยานนท์
ปีการศึกษา        2566
ปีที่พิมพ์            2566
 
บทคัดย่อ
            การศึกษาเรื่อง การใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย  คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2/6  โรงเรียนอนุบาลปราจีนบุรี  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2566  จำนวน  29  คน   ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling)  โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่  1) แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  3) แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ()  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  และสถิติการทดสอบค่าทีกรณีที่กลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน ( T-test  for  Dependent  Samples) 
               ผลการศึกษา  พบว่า    

  1. แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.89/83.63  
  2. 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  3. ความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
Back to top button