การประเมินโครงการความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา
ชื่อผู้ประเมินนางพัฒณามะลิวัลย์
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน คือ ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน รวมจำนวน 315 คน ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคือ แบบสอบถามการประเมินโครงการความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน การประเมินด้วยรูปแบบการประเมิน CIPP Model สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย( x̄ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมิน พบว่า
การประเมินโครงการความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนเทศบาล 2(อ่อนอุทิศ) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา โดยใช้การประเมินแบบซิปโมเดล (CIPP Model)ใน 4 ด้านดังนี้
1. ด้านสภาพแวดล้อมครูและคณะกรรมการสถานศึกษาประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากครูประเมินโครงการความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนมีความพร้อมในการดำเนินงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาประเมินมีความต้องการจำเป็นและความเป็นไปได้ในการดำเนินงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้า ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาประเมินโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ครูประเมิน บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีการดำเนินงาน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษา ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความรู้เกี่ยวกับโครงการความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และการสนับสนุนของฝ่ายบริหารทั้งภายในโรงเรียน และภายนอก มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการครูคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองประเมินโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากผลการประเมินของครูด้านการประชาสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนด้านงานเกี่ยวกับคณะกรรมการสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
4. ด้านผลผลิตครูคณะกรรมการสถานศึกษาผู้ปกครองและนักเรียนประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือนักเรียนมีการแต่งกายเหมาะสมและนักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ