การประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร
Aphichart Chairut asked 1 ปี ago

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง           การประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลาน
                     สถิตธรรมาทร
ชื่อผู้วิจัย           นายอภิชาติ  ไชยรุต
ปีที่ศึกษา         2565
          การประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร      มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน 1) เพื่อประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร ด้านบริบท (C : Context  Evaluation) 2) เพื่อประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร ด้านปัจจัยนำเข้า (I:Input Evaluation )  3) เพื่อประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร ด้านกระบวนการ (P : Process Evaluation)   4) เพื่อประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร ด้านผลผลิต (P : Products Evaluation)  5) เพื่อประเมินโครงการ    ค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร ด้านผลกระทบ (I : Impact Evaluation)   6) เพื่อประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร ด้านประสิทธิผล (E : Effectiveness Evaluation)   7) เพื่อประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร ด้านความยั่งยืน (S : Sustainability  Evaluation)   8) เพื่อประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร ด้านการถ่ายโยงความรู้ (T : Transportability Evaluation)  โดยใช้ CIPPIEST Model ของ  สตัฟเฟิลบีม  (Stufflebeam) โดยมีประชากรที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ครู จำนวน 10 คน ผู้ปกครอง จำนวน   30 คนและผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร สังกัดเทศบาลตำบลตำนาน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 136 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ดังนี้ รวบรวมข้อมูลที่ได้และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่มใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
 
          ผลการประเมินโครงการพบว่า

  1. ผลการประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทรโดยภาพรวม ทั้ง 8 ด้าน คือ ด้านบริบท (C : Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (I : Input Evaluation)   ด้านกระบวนการ( P : Process   Evaluation)  ด้านผลผลิต ( P : Product Evaluation)  ด้านผลกระทบ (I : Impact  Evaluation)  ด้านประสิทธิผล (E : Effectiveness Evaluation) ด้านความยั่งยืน (S : Sustainability Evaluation) และด้านการถ่ายโยงความรู้ (T : Transportability Evaluation) ของโครงการโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 2 ด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ คือด้านผลผลิต (P : Product   Evaluation) และด้านประสิทธิผล (E : Effectiveness Evaluation)    และมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จำนวน     6 ด้าน  โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านผลกระทบ (I : Impact  Evaluation)  ด้านกระบวนการ (P : Process  Evaluation) คือ ด้านการถ่ายโยงความรู้ (T : Transportability Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (I : Input   Evaluation) ด้านความยั่งยืน (S : Sustainability Evaluation) และด้านบริบท (C : Context Evaluation)    
  2. ผลการประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร ด้านบริบท (C : Context Evaluation) โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัดการประเมิน พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 3 ตัวชี้วัด โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ตัวชี้วัดโครงการมีความเหมาะสมกับความต้องการ ความสนใจของผู้ปกครอง ผู้เรียนและชุมชน  ตัวชี้วัดโครงการมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน และตัวชี้วัดโครงการสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษา และมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จำนวน 7 ตัวชี้วัด โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ตัวชี้วัดโครงการมีความเหมาะสมกับเวลา สถานการณ์ และความจำเป็นของผู้เรียนที่ต้องได้รับการพัฒนา ตัวชี้วัดโครงการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการที่ชัดเจนสามารถวัดและประเมินผลได้  ตัวชี้วัดโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและนโยบายด้านการศึกษาของเทศบาลตำบลตำนาน ตัวชี้วัดโครงการมีการบูรณาการกับกิจกรรมหลักประจำวันได้อย่างเหมาะสม  ตัวชี้วัดโครงการสามารถนำไปปฏิบัติในชั้นเรียนได้จริง ตัวชี้วัดโครงการมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร (พ.ศ. 2561–2565) และตัวชี้วัดโครงการมีความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา
  3. ผลการประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร ด้านปัจจัยนำเข้า (I : Input Evaluation) โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัดการประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 2 ตัวชี้วัด โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ตัวชี้วัดสถานศึกษามีความพร้อมทางด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์  อาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียน  และตัวชี้วัดผู้บริหารสถานศึกษาให้การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินโครงการ และมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จำนวน 3 ตัวชี้วัด โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ตัวชี้วัดมีงบประมาณในการดำเนินการผลิตสื่อการเรียนการสอน การจัดหาวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถประกอบการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม ตัวชี้วัดครูมีความพร้อมและศักยภาพในการดำเนินโครงการ และตัวชี้วัดการประเมินโครงการมีเนื้อหาและช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมเหมาะสมกับผู้เรียน
  4. ผลการประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิต ธรรมาทร ด้านกระบวนการ (P : Process Evaluation)  โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัดการประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน  2 ตัวชี้วัด โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ตัวชี้วัดการจัดทำกรอบแนวคิดและกำหนดจุดพัฒนาตามสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและผู้ปกครอง และตัวชี้วัดมีการเปิดโอกาสให้ครูและบุคลากร วิทยากรภายนอกหรือผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม  และมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จำนวน  5 ตัวชี้วัด โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ตัวชี้วัดผู้บริหารสถานศึกษา ครูและผู้เกี่ยวข้องนำผลการประเมินมาปรับใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนได้ เต็มตามศักยภาพ  ตัวชี้วัดผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีการนิเทศ กำกับ ติดตามเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมอย่างเหมาะสม  ตัวชี้วัดครูมีการจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม คำนึงถึงความสามารถและความสนใจของผู้เรียนเป็นรายบุคคล   ตัวชี้วัดการจัดกิจกรรมเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมร่วมกัน  และตัวชี้วัดการประเมินใช้วิธีการและเครื่องมืออย่างหลากหลายในการประเมิน เช่น การสังเกต สอบถาม และการจดบันทึก เพื่อให้ได้ข้อมูลในการประเมินอย่างพอเพียง
  5. ผลการประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร ด้านผลผลิต (P : Products Evaluation) ) โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัดการประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 4 ตัวชี้วัด โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ตัวชี้วัดผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับชาติทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และตัวชี้วัดผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถสอบเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทุกคน   ตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สูงขึ้น   และตัวชี้วัดคือโครงการสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และแก้ปัญหา  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีความรู้ ทักษะพื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)  และมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จำนวน 1 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดการประเมินโครงการสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะพื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)
  6. ผลการประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร ด้านผลกระทบ (I : Impact Evaluation) โดยภาพรวมมีผลค่าเฉลี่ยในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัดการประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 2 ตัวชี้วัด โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ตัวชี้วัดผู้เรียนมีความตระหนักในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของตนเองเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของตนเองให้สูงขึ้น และตัวชี้วัดผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครอง มีความตระหนักในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น  และมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จำนวน 3 ตัวชี้วัด คือตัวชี้วัดครู ผู้เรียน มีความรู้ความเข้าใจและเกิดทักษะในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น  ตัวชี้วัดผู้เรียนสามารถเรียนรู้และสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในการเรียนระดับสูงขึ้นได้อย่างดี   และตัวชี้วัดการประเมินการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และคำนึงถึงศักยภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนด้วยกิจกรรมที่หลากหลายส่งผลให้ผู้เรียนสนใจในการเรียนและมีความสุขต่อการเรียน
  7. ผลการประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร ด้านประสิทธิผล (E : Effectiveness Evaluation) โดยภาพรวมมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัดการประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 4 ตัวชี้วัด โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การดำเนินงานโครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น ตัวชี้วัดผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถสอบเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สถานศึกษายอดนิยมในจังหวัดพัทลุงได้มากกว่า ร้อยละ 50 ตัวชี้วัดครูผู้สอนจัดกิจกรรมตามกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาและระดับชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล และตัวชี้วัดสถานศึกษาได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครองในการให้การบริการด้านการศึกษาแก่บุตรหลานของตนเอง และมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จำนวน 1 ตัวชี้วัด คือตัวชี้วัดการประเมินการดำเนินงานโครงการมีประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้มีผลการเรียนระดับดี (3) ขึ้นไป ร้อยละ 75 ขึ้นไป
  8. ผลการประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร ด้านความยั่งยืน (S : Sustainability Evaluation) โดยภาพรวมมีผลการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัดการประเมิน พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 2 ตัวชี้วัด  โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ตัวชี้วัดผู้บริหารท้องถิ่น หน่วยงานต้นสังกัด  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองพร้อมให้การสนับสนุนและความร่วมมือดำเนินโครงการเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จต่อไป และตัวชี้วัดผู้บริหารสถานศึกษา ครู มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นทำงานที่เน้นผลสัมฤทธิ์แก่ผู้เรียนและเป้าหมายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา  และมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จำนวน 3 ตัวชี้วัด โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ตัวชี้วัดผู้เรียนมีองค์ความรู้ที่สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้อย่างเหมาะสม  ตัวชี้วัดผู้เรียนมีความมุ่งมั่นรักการเรียนรู้ มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนสามารถนำไปปรับใช้ในการค้นคว้าหาความรู้หรือเรียนระดับชั้นที่สูงขึ้น และตัวชี้วัดการประเมินโครงการควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป
  9. ผลการประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร ด้านการถ่ายโยงความรู้ (T : Transportability Evaluation) โดยภาพรวมมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัดการประเมิน พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 3 ตัวชี้วัด  โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ตัวชี้วัดสามารถเป็นแบบอย่างและขยายผลให้กับสถานศึกษาอื่นได้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ตัวชี้วัดครูมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนายกระดับผลสัมฤทธิ์คุณภาพผู้เรียน และตัวชี้วัดมีการถอดบทเรียน สรุปรายงานผลและประชาสัมพันธ์โครงการด้วยวิธีการที่หลากหลาย และมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จำนวน 2 ตัวชี้วัด โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ตัวชี้วัดการถ่ายทอดความรู้จากโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนผ่านการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายไปยังสถานศึกษาอื่นๆใกล้เคียง และตัวชี้วัดการประเมินการถ่ายทอดความรู้จากโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนผ่านการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายไปยังสถานศึกษาอื่นๆใกล้เคียง

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กิตติกรรมประกาศ
 
          การประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทรฉบับนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี   ผู้ประเมินขอขอบพระคุณในความกรุณาเป็นอย่างดียิ่งของ   ดร.ขจิต   ฝอยทอง ตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิศูนย์วิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร   นายศุภเกียรติ  หมื่นวงศ์ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ  โรงเรียนบ้านเกาะทองสม สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2    นางหัตถยา  เพชรย้อย  ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ โรงเรียนบ้านเขาพนม สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์  อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิกุล  เอกาวรางกูร  ตำแหน่งอาจารย์  สังกัดภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร นางนงค์รัตน์  หนูแก้ว ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ โรงเรียนเทศบาลจุ่งฮั่ว สังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง  ที่ได้กรุณาให้คำปรึกษาเสนอแนะประเมินแก้ไขข้อบกพร่องของเครื่องมือตลอดจนติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการตลอดมา ผู้ประเมินขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้  ณ ที่นี้ที่ได้กรุณาให้คำปรึกษา เสนอแนะ ประเมินแก้ไขข้อบกพร่องของเครื่องมือ ตลอดจนติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการตลอดมา ผู้ประเมินขอกราบขอบพระคุณ เป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้
          ขอขอบคุณ คณะผู้บริหารเทศบาลตำบลตำนาน  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครู ผู้ปกครอง และผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทรในการให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะในการหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน และให้ความร่วมมือในการประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทรอย่างดียิ่ง
          การประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทรที่ได้จัดทำขึ้นครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อครู ผู้เรียน สถานศึกษา ตลอดจนถึงชุมชน ที่จะนำมาใช้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งคุณค่าและประโยชน์อันพึงมีจากการประเมินโครงการค่ายวิชาการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทรในครั้งนี้ ผู้ประเมินขอมอบความดีและคุณประโยชน์ที่เกิดขึ้นเป็นเครื่องบูชาแด่บุพการีและบูรพาจารย์ ผู้ให้ชีวิตและให้การอบรมเลี้ยงดู ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ นับเป็นผู้อุปการคุณอันประเสริฐยิ่ง
 
 
                                                            อภิชาติ  ไชยรุต
                                                          (นายอภิชาติ   ไชยรุต)
                              ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร
 
 
 
 

Powered by GliaStudio
Back to top button