การประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านโคกยามู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2563

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านโคกยามู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2563
รดี นฤมิตสุธน asked 6 เดือน ago

ชื่อเรื่อง           การประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโรงเรียนบ้านโคกยามู  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส
                       เขต 2  ปีการศึกษา 2563
ผู้ประเมิน        นางสาวรดี  นฤมิตสุธน  ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
ปีที่ประเมิน      2563
 
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
 
           การประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียน บ้านโคกยามู  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2
ปีการศึกษา 2563 ครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1. ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านโคกยามู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2  ปีการศึกษา 2563 2.ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเพียงพอในการดำเนินโครงการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ งบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านโคกยามู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2563  3. ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการวางแผน การมี ส่วนร่วมในการพัฒนา การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน ครู และการนิเทศติดตามโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านโคกยามู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2563 และ 4. ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ และประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านโคกยามู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ผู้ประเมินประยุกต์ใช้แนวคิดของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Danial L.Stufflebeam, 1983: 261-265) แบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน  จำนวนทั้งสิ้น 188 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน  จำนวน 15 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน 7 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan. 1970 : 608) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6  จำนวน 83 คน เนื่องจากเป็นนักเรียนที่สามารถให้ข้อมูลได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการของโรงเรียนบ้านโคกยามู  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2563 และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 83 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selecting)  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน  ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 9 ฉบับ เพื่อใช้ประเมินด้านบริบท  (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product)   เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 

 

           ผลการประเมินพบว่า
           จากการประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโรงเรียนบ้านโคกยามู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2563  ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโดยรวม มีความเห็นว่า ผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านบริบท (Context) และด้านผลผลิต (Product) รองลงมาคือ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) และด้านกระบวนการ (Process) ตามลำดับ มีรายละเอียด  ดังนี้               

  1. การประเมินด้านบริบท (Context) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านโคกยามู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน เห็นว่า มีความต้องการในการดำเนินการโครงการ โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้
  2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านโคกยามู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  เห็นว่า ด้านปัจจัยนำเข้ามีความเหมาะสมและมีความเพียงพอ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้
  3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านโคกยามู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและนักเรียน เห็นว่า สรุปได้ดังนี้

                   3.1 ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านโคกยามู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เห็นว่า มีการปฏิบัติและมีกระบวนการดำเนินงานตามแผนหรือวัตถุประสงค์ของโครงการโดยรวม อยู่ในระดับมาก  ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้

 

                   3.2 ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านโคกยามู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน เห็นว่า มีการปฏิบัติและมีกระบวนการดำเนินงานตามแผนหรือวัตถุประสงค์ของโครงการโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด  ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้

  1. การประเมินด้านผลผลิต (Product) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านโคกยามู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2563 สรุปได้ดังนี้

                   4.1  ผลการประเมินระดับทักษะการปฏิบัติงานของครูในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านโคกยามูจากการดำเนินงานตามโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้
                   4.2  ผลการประเมินด้านความรู้ ความเข้าใจและทักษะปฏิบัติของนักเรียนเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐานการเรียนรู้กิจกรรมหลักเศรษฐกิจพอเพียง ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านโคกยามู  โดยรวม  มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้
                   4.3  ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนจากการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา  โดยรวม  มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้
                   4.4  ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านโคกยามู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2563  ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน สรุปได้ ดังนี้
                             4.4.1  ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน มีระดับความพึงพอใจต่อโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด  โดยรวมในระดับพึงพอใจมาก
                             4.4.2  นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกยามู มีความพึงพอใจต่อโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยรวมในระดับพึงพอใจมากที่สุด

คลิกให้คะแนนโพสต์นี้!
[รวม: 0 เฉลี่ย: % เฉลี่ย%]

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่