Jannah Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.

การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนร่มฉัตรวิทยา(เทศบาล 2)

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนร่มฉัตรวิทยา(เทศบาล 2)

ผลงาน                  การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนร่มฉัตรวิทยา(เทศบาล 2)
                            สังกัดเทศบาลตำบลแม่ลาน้อย
ผู้ประเมิน             นายสุพจน์  วรรณวินิจ
ปีที่ประเมิน           2565
 
บทคัดย่อ
 
              การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนร่มฉัตรวิทยา(เทศบาล 2) มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model         ตามความคิดเห็นของ ครู นักเรียนและผู้ปกครอง ตามประเด็น 4 ด้านได้แก่   ด้านสภาวะแวดล้อม(Context Evaluation) ด้านปัจจัยเบื้องต้น(Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต(Product Evaluation) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ครู จำนวน 22 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 99 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 99 คน  ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูอนามัยโรงเรียน ผู้นำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพและผู้ปกครองของผู้นำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 7 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลได้จาก (1)ข้อมูลจากเอกสาร (2)ข้อมูลจากแบบสอบถาม (3)ข้อมูลภาคสนาม โดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ ที่ผู้ประเมินได้สร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการหาค่าเฉลี่ย (µ, ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ, S.D.) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพนั้น ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาความและใช้การวิเคราะห์เชิงอธิบายความ
              ผลการประเมิน

  1. ด้านสภาวะแวดล้อม(Context Evaluation) พบว่า การประเมินความต้องการ ความจำเป็น และความเหมาะสมของการดำเนินโครงการ ซึ่งนำมาใช้ในการตัดสินใจวางแผน กำหนดนโยบาย กำหนดเป้าหมาย และจุดมุ่งหมายที่เหมาะสมกับโครงการ ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  
  2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) พบว่า ด้านความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้น    ต่าง ๆ เช่น งบประมาณ  วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ และสมรรถภาพบุคลากรที่สนับสนุนการดำเนินโครงการให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ความคิดเห็นโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
  3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า การประเมินการควบคุมบริหารโครงการ การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร ในขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินงาน และขั้นประเมินผลและรายงาน  ความคิดเห็นโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
  4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) พบว่า การประเมินผลหลังจากที่ได้ดำเนินโครงการสิ้นสุดลง เป็นการตัดสินคุณค่าผลผลิต ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพในการดำเนินงานนี้ได้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลที่เกิดจากการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ  สร้างความพึงพอใจให้แก่ ครู นักเรียนและผู้ปกครองของนักเรียน เป็นอย่างมาก ผลที่เกิดจากการดำเนินงาน มีผลทั้งต่อนักเรียน ต่อครู และต่อชุมชน

 

Powered by GliaStudio
ชุดข้าราชการ ชุดข้าราชการหญิง ชุดกากี ชุดข้าราชการ shopee
Back to top button