การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือประกอบแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผู้รายงาน : นางลำเพียง กะวันทา ตำแหน่ง : ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ สังกัด : โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ปีที่พิมพ์ : 2563 บทคัดย่อ การวิจัยการพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือประกอบแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือประกอบ แบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือประกอบแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือประกอบแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือประกอบแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 5) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือประกอบแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 6/3 โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 34 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ จำนวน 8 ชุด 2) แผนจัดการเรียนรู้ใช้เวลาแผนละ 2 ชั่วโมง จำนวน 9 แผน 3) แบบวัดความสามารถ ด้านการอ่านจับใจความสำคัญ เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 30 ข้อ 4) แบบวัดความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 30 ข้อ และ 5) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของ ลิเคิร์ท (Likert) ชนิด 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือประกอบแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.54/84.04 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือประกอบแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.7701 หรือคิดเป็นร้อยละ 77.01 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือประกอบแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนความสามารถการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือประกอบแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.27, S.D.=0.76)