การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์และปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI ร่วมกับ KWDL เรื่อง พีระมิด กรวย และทรงกลม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านปากกาง (ประชาราษฎร์รังสฤษฏ์) จังหวัดแพร่

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์และปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI ร่วมกับ KWDL เรื่อง พีระมิด กรวย และทรงกลม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านปากกาง (ประชาราษฎร์รังสฤษฏ์) จังหวัดแพร่
Pawitra Chaikhankaew asked 1 ปี ago

งานวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI ร่วมกับ KWDL และ 2) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI ร่วมกับ KWDL กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านปากกาง (ประชาราษฎร์รังสฤษฏ์) จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI ร่วมกับ KWDL 2) แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ทางคณิตศาสตร์ 3) แบบวัดปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน 4) แบบบันทึกการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5) แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู 6) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน และ 7) แบบทดสอบย่อยวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา ตีความหมาย และลงข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI ร่วมกับ KWDL ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 72.12 และมีนักเรียนจำนวนร้อยละ 63.63 ได้คะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไป รวมทั้งความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกวงจร โดยมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 68.41, 73.64 และ 74.09 ตามลำดับ และ 2) ปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับดีและมีพัฒนาการดีขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 3.76, 3.77 และ 3.93 ตามลำดับ

Powered by GliaStudio
Back to top button