การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ
บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผล ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้วิจัย นางซูไวบ๊ะ อาซัน ปีการศึกษา 2563 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในด้านความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สำนักการศึกษาเทศบาลเมืองนราธิวาส จำนวน 24 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และร้อยละ (%) ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญว่ามีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.48/86.39 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในด้านความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปรากฎผลดังนี้ 2.1 นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ( = 34.38, S.D. = 2.81) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 27.88, S.D. = 3.07) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มากกว่าร้อยละ 80 ทุกระยะ