การพัฒนาทักษะการตั้งสมมติฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2565 โดยใช้บัตรช่วยตั้งสมมติฐาน เรื่อง กระบวนการเกิดเมฆและหมอก
วัตถุประสงค์ของการสร้าง/พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
- เพื่อพัฒนาให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการตั้งสมมติฐาน
- เพื่อพัฒนาทักษะการตั้งสมมติฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โดยใช้บัตรช่วยตั้งสมมติฐาน เรื่อง กระบวนการเกิดเมฆและหมอก
- เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 เรื่อง กระบวนการเกิดเมฆและหมอก
กลุ่มเป้าหมาย/ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 71 คน
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 37 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง
หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการสร้าง/พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
- ทฤษฎีแรงจูงใจหรือโมเดล ARCS ของเคลเลอร์ (Keller, 1987
- ทฤษฎีพหุปัญญา (The Theory of Multiple Intelligences : MI) ของโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Gardner, 2006)
- สื่อการสอนแบบบัตรคำ (Flashcards)
- ทักษะการตั้งสมมติฐาน
ผลการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการตั้งสมมติฐาน
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้บัตรช่วยตั้งสมมติฐาน มีทักษะการตั้งสมมติฐานหลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียน
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้บัตรช่วยตั้งสมมติฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียน