การพัฒนาทักษะการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยของเด็กปฐมวัยโดยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบเชิงรุก Active Learningของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนาทักษะการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยของเด็กปฐมวัยโดยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบเชิงรุก Active Learningของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3

ผลงาน                     การพัฒนาทักษะการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยของเด็กปฐมวัย
                             โดยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบเชิงรุก Active Learning
                             ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3   ปีการศึกษา  2565
 
ชื่อผู้เสนอผลงาน         นางสาวจุฑาทิพญาณี   บุญจิตร
                             ตำแหน่ง  ครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ   โรงเรียนวิทยสัมพันธ์
 
 
                   ***********************************************************************************
1.ที่มาและความสำคัญของผลงาน
ปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีก้าวไกล อย่างไม่หยุดยั้ง ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาคนให้รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง สามารถปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์ต่างๆ ดำรงชีพ ได้อย่างเป็นปกติสุขในสังคมด้วยจิตใจอันเข้มแข็งมีสติไตร่ตรองเรื่องราวต่างๆ อย่างสุขุมรอบคอบ รัฐบาลได้ตระหนักถึง การพัฒนาคนในประเทศด้วยการจัดการศึกษา การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาบุคคลให้มีความเจริญงอกงามทุกด้าน คือ สติปัญญา อารมณ์และสังคม ถ้าประเทศใดพลเมืองมีการศึกษาสูงประเทศนั้นก็จะมีกำลังคนที่มีประสิทธิภาพ หากสังคมใดพลเมืองขาดการศึกษาเรียนรู้ สังคมนั้นย่อมประสบปัญหาต่างๆ อันเกิดจากความไม่รู้ การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพมีความ สามารถเต็มตามศักยภาพ มีการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาทั้งปวง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553 มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียนทุกคน มีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียน มีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ  และแผนการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) พ.ศ. 2555–2559 ระบุว่า การสร้างสังคมไทยที่พึงประสงค์ให้สำเร็จได้ เครื่องมือที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ คือ “คน” และ “การศึกษา” โดยมุ่งพัฒนาชีวิตให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจและสติปัญญา ความรู้คู่คุณธรรม การศึกษาเป็นการขัดเกลาบุคคลให้ มีความรู้ ความคิดและการกระทำในทางสร้างสรรค์ มีวัฒนธรรมที่ดี ดังนั้น การศึกษาจึงมีความสำคัญมากในการสร้างเสริมพฤติกรรมที่ดีของบุคคล (สำนักงานพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ. 2558 : 14)
ทักษะเด็กปฐมวัยแห่งศตวรรษที่ 21 ที่พัฒนาโดยองค์กรภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย 3 ทักษะ สำคัญ ได้แก่ 1) ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) มุ่งเน้นให้เกิดความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาการสื่อสาร การสร้างความร่วมมือ การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม 2) ทักษะชีวิตและการประกอบอาชีพ (Life and Career Skills) มุ่งเน้นให้มีความสามารถในการยืดหยุ่นและปรับตัวมีเป้าหมายของชีวิตและความมุ่งมั่น เข้าใจสังคมและยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม มีศักยภาพการผลิต และยอมรับตรวจสอบมีความเป็นผู้นําและรับผิดชอบ 3) ทักษะด้านข้อมูลสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information, Media and Technology Skills) มุ่งเน้น ให้มีความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศและสื่อต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม สามารถจัดการเชื่อมโยง ประเมินและสร้างสารสนเทศ รวมถึงการประยุกต์ใช้เรื่องจริยธรรมและกฎหมายกับการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศได้ (Toolkit for 21 Century, 2559 : 16)
 
          การจัดการเรียนรู้เชิงรุก หรือ Active Learning เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ และลงมือทำ หัวใจสำคัญของ Active Learning จำเป็นต้องมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การเรียนรู้ผ่านการคิดขั้นสูง (Thinking Based Learning) เรียนรู้จากการลงมือทำ (Learning by doing) เรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน (Cooperative Learning) และเรียนรู้จากการสำรวจค้นหา (Inquiry Based Learning) รูปแบบการเรียนรู้แบบนี้จะสามารถทำให้ผู้เรียนรักษาผลการเรียนรู้ได้อยู่คงทน และเก็บเป็นระบบความจำในระยะยาว การเรียนรู้จะเป็นไปอย่างมีความหมายโดยเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างครูและผู้เรียน ส่งผลให้เกิดความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดี อันจะนำไปสู่การเกิดสมรรถนะที่สำคัญตามเป้าหมายของการสอน
ดังนั้นจึงสนใจศึกษาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนเชิงรุก (Active learning) เรื่องพัฒนาการเขียนคำพื้นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ซึ่งมีความคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ พร้อมกับเรียนรู้อย่างสนุกสนาน เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม แลกเปลี่ยนความรู้ช่วยกันภายในกลุ่ม และเกิดความคงทนในการเรียนรู้วิชาภาษาไทย นำความสามารถที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของวิชาภาษาไทย และช่วยให้นักเรียนมีคุณสมบัติแห่งบุคคลในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างสมบูรณ์
 
2.จุดประสงค์ และเป้าหมายของการดำเนินงาน
          2.1 จุดประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาวิธีเรียนรู้แบบใช้การสอนเชิงรุก Active Learning การพัฒนาการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีเป้าหมายให้นักเรียนทุกคนมีผลการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เรื่องพัฒนาการเขียนคำพื้นฐาน
  2. เพื่อยกระดับคะแนนทักษะทางการเรียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ให้ดีขึ้นและเป็นแนวทางในการพัฒนาการสอน

 
2.2 เป้าหมาย
เชิงปริมาณ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ร้อยละ 80 มีคะแนนทักษะทางการพัฒนาการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย  การเขียนคำพื้นฐานที่ดีขึ้นและเป็นแนวทางในการพัฒนาการสอน
 
          เชิงคุณภาพ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการพัฒนาการสอนแบบเชิงรุก Active Learning สามารถทำให้นักเรียนทุกคนเข้าใจเนื้อหากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการเขียนคำพื้นฐาน โดยผู้สอนสามารถอธิบายเนื้อเรื่องในบทเรียนนั้นให้ชัดเจน เพื่อจัดประสบการณ์การเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนจากเรื่องที่ง่ายไปหาเรื่องที่ยากและนักเรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองและสรุปความคิดตนเองได้
 
3.ขั้นตอนการดำเนินงาน
เทคนิคการเรียนรู้แบบ Active Learning ข้างต้น เป็นแนวทางให้ผู้รับการนิเทศนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ หรือนำไปเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเทคนิคการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยตนเอง ทั้งนี้ผู้รับการนิเทศสามารถพิจารณาว่าเทคนิคการเรียนรู้เหล่านี้สอดคล้องกับแนวคิด การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกหรือไม่นั้น ผู้รับการนิเทศสามารถนำเกณฑ์ประเมินคุณภาพ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกมาเป็นกรอบในการตรวจสอบความสอดคล้องกับลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ดังตัวอย่างเช่น

เทคนิคการเรียนรู้
แบบ Active Learning

ความสอดคล้องของเทคนิคการเรียนรู้กับเกณฑ์การประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

เหตุผล

การเรียนแบบเชิงรุก ผู้เรียนแบ่งปันและเปรียบเทียบคำตอบของตนเองกับคู่ของตนก่อนที่จะทำการบอกเล่าในชั้นเรียน

สร้างการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์ให้คิด ลงมือปฏิบัติเพื่อเรียนรู้ หรือแก้ปัญหาในลักษณะของการเรียนรู้รายบุคคล กลุ่มเล็ก หรือกลุ่มใหญ่ตามสถานการณ์ 

เทคนิคเพื่อนคู่คิด มีกิจกรรม “แบ่งปันและการเปรียบเทียบคำตอบ” ซึ่งการเปรียบเทียบคำตอบเป็นทักษะการจำแนกความเหมือนและความแตกต่างซึ่งเป็นสถานการณ์ให้คิด และเป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติร่วมกันเพื่อการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ ได้แก่
1) การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ
2) การใช้ทักษะการคิดเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่การสร้างความรู้ใหม่
3) การใช้ทักษะการเรียนรู้ ได้แก่ การเขียน การพูด การฟัง การอ่าน และการอภิปรายสะท้อนความคิด เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ โดยลักษณะสำคัญดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการจัดบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเพื่อการสืบค้นองค์ความรู้อย่างหลากหลายที่ท้าทายความคิด ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีคุณค่าและสนุนสนาน ตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน โดยเมื่อสังเคราะห์แนวคิดของนักการศึกษาและการบูรณาการในขั้นตอนการจัดการเรียนรู้สามารถกำหนดเป็นเกณฑ์ประเมินการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ดังนี้

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้

เกณฑ์การประเมินความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

ขั้นที่ 1
กิจกรรมนำสู่การเรียนรู้

1.1 นำเข้าสู่การเรียนรู้ด้วยการทบทวนความรู้เดิมในรูปแบบของกิจกรรม
     ที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ความรู้ใหม่

 

1.2 เปิดโอกาสให้คาดเดาความรู้ใหม่จากฐานความรู้เดิมที่สร้างแรงจูงใจ
     ให้ผู้เรียน

 

1.3 กระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นในการเรียน

ขั้นที่ 2
กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้

2.1 สร้างการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์ให้คิด ลงมือปฏิบัติเพื่อเรียนรู้ หรือ
     แก้ปัญหาในลักษณะของการเรียนรู้รายบุคคล กลุ่มเล็ก หรือกลุ่มใหญ่
     ตามสถานการณ์ 

 

2.2 ส่งเสริมให้สรุปองค์ความรู้จากการเรียนรู้

 

2.3 มีการแลกเปลี่ยนผลงานการสรุปองค์ความรู้

 

2.4 มีกิจกรรมการฝึกปฏิบัติการนำองค์ความรู้ไปใช้

 

2.5 ใช้แหล่งเรียนรู้ สื่อ หรือเทคโนโลยีภายใน และภายนอกสถานศึกษา
     ประกอบการเรียนรู้

ขั้นที่ 3
กิจกรรมสรุปรวบยอด

3.1 สรุปเนื้อหาจากการเรียนรู้ หรือ สะท้อนความคิดจากการเรียนรู้
     หรือทดสอบองค์ความรู้จากการเรียนรู้รายบุคคล

 
หลักการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเชิงรุก Active Learning สรุปได้ ดังนี้

  1. การระบุปัญหา (Problem)
  2. การกำหนดจุดมุ่งหมาย (Objective)
  3. การศึกษาข้อจำกัดต่างๆ (Constraints)
  4. การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม (Innovation)
  5. การทดลองใช้ (Experimentation)
  6. การเผยแพร่ (Dissemination)

 
          การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเริ่มต้นจากปัญหาที่พบในการสอนจึงรวบรวมปัญหาและสร้างนวัตกรรมการสอนแบบเชิงรุกขึ้นเพื่อนำไปพัฒนาระบบการสอนใหม่ และทดลองใช้นวัตกรรมนำไปปรับปรุงและพัฒนาจนสามารถแก้ไขปัญหาที่พบได้จริง  
 
การประเมินผลการทำกิจกรรมแบบเชิงรุก Active Learning จากสื่อฯ ดังกล่าวถูกออกแบบมาอย่างครบกระบวนการ ตั้งแต่การวางแผนเพื่อให้เห็นแนวทางการสอน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ที่หลากหลาย เหมาะสมกับบริบทของเป้าหมายตามธรรมชาติของวิชาภาษาไทย และเรื่องที่เรียน พร้อมระบุขั้นตอนวิธีการนำไปใช้อย่างละเอียด มาพร้อมตัวอย่างกิจกรรมสมรรถนะย่อยที่ช่วยครูเตรียมผู้เรียนให้พร้อมสำหรับการทำกิจกรรมประเมินสมรรถนะหลัก และเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่ระบุเฉพาะเป็นรายกิจกรรม ตอบโจทย์ทั้งตัวชี้วัด และสมรรถนะผู้เรียน
ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก Active Learning จึงเป็นการพัฒนาสื่อการสอนบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทย ในรูปแบบที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของนักเรียนในปัจจุบัน ครูใช้งานง่าย นักเรียนเรียนสนุก เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนรู้ที่กำลังจะเปลี่ยนไปโดยเน้นที่ “กระบวนการเรียนรู้” มากกว่า “เนื้อหาวิชา” และปรับบทบาทของครูให้มาเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้
 
ขอบเขตการปฏิบัติ
          นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนวิทยสัมพันธ์ จำนวน 21 คน
 
ระยะเวลา  
ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2565
ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2565 – 30 มี.ค. 2566 ตามแผนการดำเนินงาน / ระยะเวลาในการดำเนินงาน  

วิธีการดำเนินงาน

ปีการศึกษา 2565

หมายเหตุ

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย

ธ.ค.

ม.ค.

ก.พ.

มี.ค.

1. จัดทำแผนการดำเนินงาน/ขออนุญาตดำเนินงาน

P

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. ประชุมคณะกรรมการ
ดำเนินงานและมอบหมาย
งานที่รับผิดชอบ

P

P

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3. ดำเนินงาน/กิจกรรม
3.1 ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองและนักเรียนรับทราบ

P

P

P

P

P

P

P

P

P

P

P

 

4. กำกับ นิเทศ ติดตามปัญหา/อุปสรรค

 

 

 

P

P

P

P

P

P

P

P

 

5. สรุปผล รายงานผลการดำเนินงาน

 

 

 

 

 

P

P

P

P

P

P

 

 
วิธีดำเนินการแผนงาน
ตัวแปรที่ศึกษา
– ตัวแปรต้น ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสอนเชิงรุก Active Learning พัฒนาการเรียนรู้ตามสมรรถนะในแผนการจัดการเรียนรู้
– ตัวแปรตาม ได้แก่ คะแนนทักษะทางการเรียนที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้น
 
เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติจำแนกตามลักษณะการใช้ดังนี้

  1. รูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก Active Learning เรื่องพัฒนาการเขียนคำพื้นฐาน
    2. แบบบันทึกคะแนนและใบงาน
    3. สมุดแบบฝึกหัดและใบกิจกรรมของนักเรียน
  2. แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนและแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน

 
ขั้นตอนดำเนินการปฏิบัติ

  1. จัดเตรียมเอกสารในการทำปฏิบัติเรื่องพัฒนาการเขียนคำพื้นฐาน
  2. ใช้การสอนเชิงรุกพัฒนาการเรียนรู้เรื่องพัฒนาการเขียนคำพื้นฐาน
  3. ตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียนจากแบบทดสอบ
  4. รวบรวมและสรุปผลการปฏิบัติเป็นตารางและคำบรรยาย

 
การเก็บรวบรวมข้อมูล

  1. นำแบบทดสอบวัดคะแนนทักษะทางการเรียนที่ผู้รายงานสร้างขึ้นไปทดสอบกับนักเรียน บันทึกคะแนนเป็นคะแนนก่อนเรียน ครูผู้สอนชี้แจงการเรียนแบบเชิงรุก โดยหลังจากครูสอนในแต่ละครั้งก็จะมอบหมายให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดโดยนักเรียนนั่งทำแบบฝึกหัดระดมสมองช่วยกันคิดหากหัวข้อใดสมาชิกในกลุ่มไม่เข้าใจ ผู้ที่เข้าใจก็จะช่วยกันอธิบายจนเพื่อนเข้าใจ หากสมาชิกในกลุ่มยังไม่เข้าใจก็จะปรึกษาครูผู้สอน
  2. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้สื่อการสอนประกอบการเรียน ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้น ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งหมดจำนวน 8 ชั่วโมง
  3. ครูสังเกตการทำกิจกรรมของกลุ่ม การช่วยกันแก้ปัญหา ความสนใจและความตั้งใจของสมาชิกในกลุ่ม
  4. สังเกตผลการทำแบบฝึกหัดว่าดีขึ้นหรือไม่
  5. สังเกตการประเมินตามสภาพจริงในแต่ละครั้ง
  6. วัดผลการเรียนเมื่อสิ้นบทเรียน
  7. ครูช่วยสรุปการเรียนรู้ทั้งหมดที่นักเรียนปฏิบัติเป็นความคิดรวบยอด

 
การวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้ในการปฏิบัติ
การเปรียบเทียบคะแนนทักษะการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 เรื่องพัฒนาการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหา Active Learning โดยการนำคะแนนของนักเรียนทั้ง 21 คน มาคำนวณหาค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย และนำเสนอข้อมูลโดยใช้ตารางประกอบคำบรรยาย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สรุปและอภิปรายผล
วิเคราะห์ข้อมูล
การปฏิบัติครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการเรียนแบบ Active Learning ของนักเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีเป้าหมายให้นักเรียนทุกคนมีผลการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นลำดับ ในลักษณะตารางประกอบคำบรรยายดังนี้
ตารางที่ 1  แสดงค่าร้อยละและค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบความสามารถในทักษะการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยของเด็กปฐมวัย ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในชั้นเรียนตลอดงานการปฏิบัตินี้ เรื่องพัฒนาการเขียนคำพื้นฐาน ของนักเรียนก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 21 คน

การทดสอบ

คะแนนเต็ม

คะแนนเฉลี่ย ( )

ร้อยละของคะแนนที่เพิ่มขึ้น

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ก่อนเรียน

10

4.72

78.38

2.14

หลังเรียน

10

8.42

1.38

 
จากตารางที่ 1 พบว่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ 4.72 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 8.42 คะแนน ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เท่ากับ 3.70 คะแนน และนักเรียนทุกคนมีคะแนนสูงขึ้นกว่าเดิมโดยมีคะแนนความก้าวหน้าเมื่อเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 78.38 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ลดลง มีการกระจายของข้อมูลที่ดี
          ผลจากการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก Active Learning มาใช้ในการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยของเด็กปฐมวัย ผลปรากฎว่า คะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ 4.72 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 8.42 คะแนน ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เท่ากับ 3.70 คะแนน และนักเรียนทุกคนมีคะแนนสูงขึ้นกว่าเดิมโดยมีคะแนนความก้าวหน้าเมื่อเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 78.38 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ลดลง นักเรียนมีคะแนนทักษะทางการเขียนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ และได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป เป็นการจัดกิจกรรมเรียนรู้ภายใต้สมมติฐาน 2 ประการ คือ 1. การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของนักเรียน 2. แต่ละคนมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ความรู้ที่ได้เกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว เกิดการเรียนรู้จากการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า
จากการศึกษาการสอนพบว่าการสอนโดยวิธีเชิงรุก Active Learning ระหว่างนักเรียนในการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยทำให้คะแนนทักษะทางการเขียนของผู้เรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนเรียนและเทียบกับเกณฑ์ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก เป็นกิจกรรมที่ให้โอกาสให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองตามแนวคิดการสร้างความรู้
นำมาใช้ในการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กระบวนการเรียนรู้ active learning (แอคทีฟเลินนิ่ง) ยังเป็นการให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ ความเข้าใจนำไปประยุกต์ใช้สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าหรือ สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และพัฒนาตนเองเต็มความสามารถ รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เขาได้มีโอกาสร่วมอภิปรายให้มีโอกาสฝึกทักษะการสื่อสาร ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 70% การนำเสนองานทางวิชาการ เรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง ทั้งมีการฝึกปฏิบัติในสภาพจริง มีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผลการเรียนรู้เกิดขึ้นถึง 90% เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเขียนคำพื้นฐาน
 
 
4.ผลการดำเนินการ ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่ได้รับ

  1. การสอนช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามอัตภาพ นักเรียนแต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกัน การให้ผู้เรียนได้ทำชุดฝึกทักษะ Active Learning ที่เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละคนใช้เวลาที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะการเรียนรู้ของแต่ละคนจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนเกิดกำลังใจในการเรียนรู้ นอกจากนั้นยังเป็นการซ่อมเสริมผู้เรียนที่เรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
  2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเชิงรุก Active Learning เป็นสื่อที่ช่วยเสริมบทเรียนหรือหนังสือเรียนหรือคำสอนของครูผู้สอน ชุดฝึกทักษะเชิงรุกที่ครูทำขึ้นเพื่อฝึกทักษะการเรียนนอกเหนือจากความรู้ในหนังสือเรียนหรือบทเรียน

 
 
5.ปัจจัยความสำเร็จ

  1. ความมุ่งมั่นทุ่มเทของผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา สร้างการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
  2. ความร่วมมือของนักเรียนทุกคน ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน มีการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน
  3. ผู้เรียนได้เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทำงาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
  4. การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งครู และมีภาระงานตามที่แผนงานกำหนด ผลการปฏิบัติงาน ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ผู้เรียน            นักเรียนประสบผลสำเร็จในการศึกษา มีความสุขในการเรียนรู้มีผลการเรียนที่ดี
ครูผู้สอน         การสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โดยครูต้องแสดงให้เห็นถึงการปรับประยุกต์ แก้ไขปัญหา ริเริ่ม พัฒนา คิดค้น ปรับเปลี่ยน หรือสร้างการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ข้อตกลงในการพัฒนางานต้องมีความสอดคล้องกับเป้าหมายและบริบทสถานศึกษา
โรงเรียน          โรงเรียนสามารถตอบสนองต่อความคาดหวังและความเข้าใจ ระหว่างนักเรียน ผู้ปกครองและโรงเรียนเพื่อนำไปสู่การพัฒนานโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้ปกครอง        ผู้ปกครองให้ความร่วมมือกับโรงเรียนและครูช่วยในการจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ
 
6.บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
          การบริหารเชิงคุณภาพอย่างเป็นระบบในรูปแบบเชิงรุก Active Learning บุคลากรที่สอนมีหน้าที่และความรับผิดชอบหลักในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ เตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม พัฒนาตนเองและวิชาชีพ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
          ทั้งนี้กระบวนการดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการทำงานในชีวิตประจำวัน ทำให้ทักคนรู้จักมีหน้าที่และความรับผิดชอบหลักในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ พัฒนาตนเองและวิชาชีพ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ฝึกฝนทักษะความรู้ความสามารถในเชิงบูรณาการ มีกระบวนการสอนด้วยเทคนิควิธีการสอนอย่างหลากหลาย ฝึกฝนทักษะความรู้ความสามารถในการแก้ปัญหา
 
ข้อเสนอแนะ

  1. การออกแบบกิจกรรมการเขียนควรคำนึงถึงความยากง่ายของเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน
  2. ควรออกแบบสื่อการเรียนการสอนให้เกิดความน่าสนใจ และเหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียน
  3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนรูปแบบการเรียนเชิงรุก (Active Learning) สามารถนำไปใช้เพื่อศึกษาและพัฒนาทักษะกระบวนการด้านอื่นๆ นอกเหนือจากพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแล้ว เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ หรือนำไปใช้เพื่อศึกษาและพัฒนาสมรรถนะทั้ง 5 สมรรถนะได้
  4. ควรมีการสอนให้เกิดทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นเชิงสหวิทยาการ สร้างโอกาสที่จะประยุกต์ทักษะเชิงบูรณาการข้ามสาระเนื้อหา และสร้างระบบการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะเป็นฐาน

 
7.การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ (รางวัลที่ได้รับ)
           การปฏิบัติ Active Learning และพัฒนาการบริหารเชิงคุณภาพอย่างเป็นระบบของโรงเรียน มีการเผยแพร่และทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา  ดังนี้
          1.มีการดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนรายบุคคลและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียนโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง เพื่อร่วมพัฒนาผู้เรียน
          2.เผยแพร่ในกลุ่ม Line วิทยะฐานะครูปฐมวัยไทยแลน์
          3.เผยแพร่ทางเว็บไซด์  
 8.การขยายผลต่อยอด หรือประยุกต์ใช้ผลงาน / นวัตกรรม

  1. การออกแบบกิจกรรมการเขียนควรคำนึงถึงความยากง่ายของเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน
  2. ควรออกแบบสื่อการเรียนการสอนให้เกิดความน่าสนใจ และเหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียน
  3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนรูปแบบการเรียนเชิงรุก (Active Learning) สามารถนำไปใช้เพื่อศึกษาและพัฒนาทักษะกระบวนการด้านอื่นๆ นอกเหนือจากพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแล้ว เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ หรือนำไปใช้เพื่อศึกษาและพัฒนาสมรรถนะทั้ง 5 สมรรถนะได้
  4. ควรมีการสอนให้เกิดทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นเชิงสหวิทยาการ สร้างโอกาสที่จะประยุกต์ทักษะเชิงบูรณาการและสร้างระบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พศ. 2560

 

คลิกให้คะแนนโพสต์นี้!
[รวม: 0 เฉลี่ย: % เฉลี่ย%]

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่