การพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านไสไทย จังหวัดกระบี่
ชื่อเรื่อง การพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านไสไทย จังหวัดกระบี่
ชื่อผู้วิจัย นายคำนึง รุ่งเรือง
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านไสไทย สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านไสไทย จังหวัดกระบี่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านไสไทย จังหวัดกระบี่ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ภายใต้บริบทโรงเรียนบ้านไสไทย และ 3) นวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านไสไทย จังหวัดกระบี่ ขยายผลไปยังในสถานศึกษาเครือข่ายที่มีบริบทใกล้เคียงกัน งานวิจัยชิ้นนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ด้วยการศึกษาเอกสาร การประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา และกระบวนการถอดบทเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือ จ านวน 4 ชุด ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล แบบบันทึกผลการถอดบทเรียน แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Dept Interview) และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ร่วมพัฒนานวัตกรรม ได้ผลการศึกษาวิจัย ดังนี้1. นวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านไสไทย จังหวัดกระบี่ พบว่า นวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม หรือ “SAITHAI MODEL” จะเห็นได้ว่า กลยุทธ์องค์กร โครงสร้างองค์กร ระบบการปฏิบัติงาน ภาวะผู้น าของผู้บริหาร การมีส่วนร่วมของบุคลากร ทักษะ ความรู้ ความสามารถของบุคลากร และค่านิยมร่วมของบุคลากร เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้การบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านไสไทย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านไสไทย จ านวน 7 ด้าน ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านกลยุทธ์ขององค์กร (2) ปัจจัยด้านโครงสร้างองค์กร (3) ปัจจัยด้านระบบการปฏิบัติงาน (4) ปัจจัยด้านภาวะผู้น าของผู้บริหาร (5) ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากร (6) ปัจจัยด้านทักษะ ความรู้ ความสามารถ และ (7) ปัจจัยด้านค่านิยมร่วม ทั้งนี้ทุกปัจจัยฯ โรงเรียนบ้านไสไทยมีการด าเนินการที่สอดคล้อง ส่งเสริม และสนับสนุนต่อการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ 3. การขยายผลนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านไสไทย จังหวัดกระบี่ ไปยังในสถานศึกษาเครือข่ายที่มีบริบทใกล้เคียงกัน พบว่า การขยายผลนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลให้โรงเรียนบ้านไสไทยสามารถเป็นต้นแบบการน านวัตกรรมการบริหารจัดการไปขยายผลสู่สถานศึกษาเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและการจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังส่งผลให้สถานศึกษาเครือข่ายสามารถน ารูปแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาดังกล่าว ไปปรับประยุกต์ใช้ในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาแต่ละแห่ง สามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้ตามเป้าหมายการจัดการศึกษา ทำให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานการศึกษาของชาติกำหน