การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนวิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนวิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนวิชาภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ  (ชะอำวิทยาคาร)  สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 31 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ได้แก่ การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนวิชาภาษาไทย ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ความสามารถทางทักษะการอ่านการเขียน และการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนวิชาภาษาไทย ใช้ระยะในการทดลองสอนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 18  ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถการการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนวิชาภาษาไทย  ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 30 ข้อ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ ค่าดัชนีประสิทธิผล และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)  
 
 
              ผลการศึกษาพบว่า

  1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ  (ชะอำวิทยาคาร) สาเหตุของปัญหาการอ่าน                  คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย จากการสนทนากลุ่ม พบว่า มีสาเหตุมาจาก 6 ประการ ได้แก่                1) ด้านนักเรียน คือ อ่านไม่ได้เขียนไม่ออก  ออกเสียงคำควบควบกล้ำไม่ถูกต้อง คิดวิเคราะห์และตีความไม่เป็น ขาดทักษะการอ่านการเขียน เขียนตามภาษาพูดของตน เขียนเรื่องราวไม่ได้ใจความ  2) ด้านครูผู้สอน ยังขาดเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ และใช้สื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ  3) ด้านผู้บริหารสถานศึกษา การส่งเสริมเพิ่มทักษะภาษาไทยให้ครู  4) ด้านผู้ปกครอง ผู้ปกครองบางท่านไม่มีเวลาฝึกเพิ่มเติม และติดตามดูแลเมื่อเด็กอยู่บ้าน  ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่มีเวลาให้ลูกไม่มีความรู้ ทำให้เด็กไม่มีความรับผิดชอบในภาระงาน และการบ้านของตน 5) ด้านสื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนไม่หลากหลาย สื่อการสอนไม่เพียงพอ ขาดแหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย และ 6) ด้านอื่นๆ ขาดการติดตามดูแล ส่งเสริม ทำให้เกิดความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การสอนวิชาภาษาไทย และจากการสัมภาษณ์ครูสอนวิชาภาษาไทย พบว่า ครูมีความจำเป็นและมีความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในทักษะการคิด เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิชาภาษาไทยที่เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสำคัญ และต้องการมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีการเรียนรู้จากสื่อที่หลากหลาย จากความต้องการดังกล่าวจึงทำให้เกิดรูปแบบการสอนวิชาภาษาไทย โดยพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และการเขียนวิชาภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
  2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาไทย โดยพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะ               การอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนวิชาภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

                   2.1 ได้รูปแบบการสอนวิชาภาษาไทย โดยพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนวิชาภาษาไทย มีองค์ประกอบของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระการเรียนรู้  และขั้นตอนการจัดกิจกรรม 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1  ขั้นกำหนดเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) ขั้นที่  2  ขั้นทำกิจกรรม (Activity Based Approach)  ขั้นที่ 3  ขั้นสร้างองค์ความรู้ (Construct) ความรู้ด้วยตนเอง และขั้นที่ 4 สร้างชิ้นงานตามศักยภาพ (create works ) โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนวิชาภาษาไทย  และได้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  จำนวน 6 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1  ฉันชอบผักอะไรบ้างนะ  ชุดที่ 2 ฉันชอบผลไม้อะไรบ้าง ชุดที่  3  ความทรงจำกับน้ำทะเล  ชุดที่ 4 ฉันชอบสัตว์อะไรนะ ชุดที่ 5 วันนี้ฉันทำอะไรบ้าง และชุดที่ 6  สิ่งที่ฉันชอบในโลกนี้ 
                   2.2 ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนวิชาภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 พบว่า ผลการทดลองแบบรายบุคคล  มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 90.56 / 93.33   ผลการทดลองแบบกลุ่มเล็ก มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 87.78 / 90.56  และผลการทดลองแบบภาคสนาม มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 87.30 / 90.08                            ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

  1. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

                   3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  จากการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 89.62 / 90.40  เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 
                   3.2 ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  มีค่าเท่ากับ 0.84  ซึ่งหมายความว่านักเรียนที่ได้เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์                มีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น  0.84 หรือ คิดเป็นร้อยละ 84.00    

  1. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

                   4.1 คะแนนเฉลี่ยของความสามารถการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนวิชาภาษาไทย  ก่อนเรียนมีคะแนนเท่ากับ 15.87  คะแนน และมีคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 36.16  คะแนน  เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนสอบทั้งสองครั้ง พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 
                   4.2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนวิชาภาษาไทย ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
 

Powered by GliaStudio
Back to top button