การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

ชื่อวิจัย     การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน  เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน
             ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 
ผู้วิจัย       นายนิพนธ์  แซ่กวน  ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่วิจัย     2565-2566
 
บทคัดย่อ
 
        การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัด           การเรียนการสอน  เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  กลุ่มสาระ              การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน  เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอน   เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ             พลศึกษา  วิธีดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 2            การสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัด            การเรียนการสอน และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้         ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านในวง อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร                    2) แบบสอบถาม 3) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน 4) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม             5) แผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นตามรูปแบบ 6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 7) แบบประเมินพฤติกรรรมสุขภาพ และ 8) แบบประเมินรูปแบบตามมาตรฐาน 4 ด้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t – test แบบ Dependent Samples)  และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
        ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติในระดับมาก คือ ด้านครูผู้สอน  และด้านการวัด            และประเมินผล  ลำดับสุดท้าย คือ ด้านหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษา

 

  1. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่สร้างขึ้นมีองค์ประกอบของรูปแบบ 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและแนวคิด 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนการสอน  และ 4) การวัดประเมินผล  โดยมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 ศึกษาและจัดกลุ่ม ขั้นที่ 3 ปฏิบัติกิจกรรม ขั้นที่ 4 นำเสนอและสรุป และขั้นที่ 5 ตรวจสอบและประเมินผลงานผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด และมีความสอดคล้องกันทุกขั้นตอน
  2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  พบว่า

             3.1 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ  มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยภาพรวมในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ เท่ากับ 84.56
               3.2  นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
               3.3  ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เท่ากับ 84.20/83.92 ถือว่ามีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 

  1. ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีผลการประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด              

 

Powered by GliaStudio
Back to top button