การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะ เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะ เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวณิชาภา ฐปนสิทธางกูร สาขาวิชา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อพัฒนาคุณภาพทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) การวัดและประเมินผล และ 5) ปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จของการใช้รูปแบบ การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นที่มีต่อความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวม พบว่า ประเด็นความเหมาะสมและความเป็นไปได้ มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทั้ง 2 ประเด็น (x-bar=4.64 , S.D.=0.11) และ (x-bar=4.67 , S.D.=0.09) ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 15.53 และ 23.60 ตามลำดับ และจากตาราง t ซึ่งมี df = 29ค่า t ที่ได้ = 20.72 ค่า Sig.(2-tailed) = .000 ซึ่งค่าน้อยกว่า .01 แปลว่าผลการสอบ 2 ครั้งแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ผลการวิเคราะห์การประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (4Cs) ของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยของทักษะในระดับดี (x-bar= 3.78, S.D.=0.12)เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายทักษะ พบว่า ทั้ง 4 ทักษะ นักเรียนมีทักษะในระดับดี โดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ทักษะความคิดสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด(x-bar=3.84 , S.D.=0.08) รองลงมา คือข้อ 2 ทักษะการสื่อสาร (x-bar= 3.80, S.D.=0.09)ข้อ 1 ทักษะความคิดอย่างมีวิจารณญาณ (x-bar=3.77 , S.D.=0.08) และ ข้อ 3 ทักษะการทำงานร่วมกัน (x-bar=3.74 , S.D.=0.02) ตามลำดับ 4. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนหลังจากการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าความพึงพอใจของนักเรียนหลังจากการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะฯ โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar=4.67 , S.D.=0.13)