การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
krunuan asked 2 ปี ago

ชื่อผลงาน     :  การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน
                     เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน
                     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย         :  นางศรีนวล แดงประพันธ์  ตำแหน่ง ครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ 
                   โรงเรียนวังไม้แดงพิทยาคม  อำเภอประทาย  จังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา    : 2565
 
บทคัดย่อ
 
            การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  2)  เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  3)  เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  และ 4)  เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  กลุ่มตัวอย่าง  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา  2565  โรงเรียนวังไม้แดงพิทยาคม  อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  คือ 1)  รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  2)  แผนการจัดการเรียนรู้  ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน 3)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  4)  แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ และ 5)  แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ การทดสอบค่าที  (Dependent  sample) 
 
 
 
 
ผลการวิจัยพบว่า

  1. ข้อมูลสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนขาดสมาธิในการเรียนขาดการควบคุมตนเองในการที่จะเรียนรู้  ขาดความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเรียนรู้ และการขาดการใช้ปัญญาในการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ของตนเองและผู้อื่นจากการเรียนรู้ภาษาไทย  ส่งผลให้ความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ลดลง ความต้องการในการจัดการเรียนรู้ มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ จากการเรียนรู้ภาษาไทย  โดยใช้หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา  นำไปสู่การพัฒนาตนเองให้มีความรู้  การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
  2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่  หลักการ  วัตถุประสงค์  กระบวนการจัดการเรียนรู้  สิ่งสนับสนุน และการนำไปใช้  โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ 6  ขั้นตอน  ได้แก่  1. ขั้นสถานการณ์ท้าทาย  2. ขั้นเตรียมพฤติกรรม  3. ขั้นตั้งจิตศึกษา  4. ขั้นปฏิบัติด้วยปัญญา  5. ขั้นนำมาสรุป  และ 6. นำเสนอและประเมินผล  เมื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบภาคสนาม จำนวน  26  คน พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ  82.64/83.08 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้  80/80
  3. นักเรียนมีความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์  จากการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 
  4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักไตรสิกขาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 
 

Powered by GliaStudio
Back to top button