Jannah Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีสากล สาระการเรียนรู้ศิลปะ โดยใช้ทฤษฎี การเรียนรู้แบบ Constructionism เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีสากล สาระการเรียนรู้ศิลปะ โดยใช้ทฤษฎี การเรียนรู้แบบ Constructionism เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Mrs. Piyakan Thongmai asked 2 ปี ago

บทคัดย่อ              การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ทางดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ ในรายวิชาวิชาศิลปะพื้นฐาน สาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) สร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอน 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้ทางดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ ก่อนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 จำนวน 35 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Prepositive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะพื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้ดนตรีสากล, แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาศิลปะพื้นฐาน (ดนตรี-นาฎศิลป์) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และแบบสอบถามความพึงพอใจ                  ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีสากล ตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบ Constructionism เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ช้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เก็บรวบรวมข้อมูลและสรุปผล โดยใช้ตารางและการพรรณา              ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกับนโยบายการศึกษาและสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนสามารถส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ทางดนตรี และความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น 2) รูปแบบการเรียนการสอนส่งเสริมความสามารถในด้านทักษะการเรียนรู้ ทางดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และประสิทธิภาพของรูปแบบ                การเรียนการสอนมีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ ( ) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ( ) เท่ากับ 86.08/86.48 3) เปรียบเทียบความสามารถทักษะการเรียนรู้ทางดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ ก่อนและหลังการเรียน พบว่า นักเรียนมีความสามารถหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01                 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก   คำสำคัญ รูปแบบการเรียนการสอน/ ทักษะทางดนตรี/ ความคิดสร้างสรรค์ *ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  โรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา” องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

Powered by GliaStudio
ชุดข้าราชการ ชุดข้าราชการหญิง ชุดกากี ชุดข้าราชการ shopee
Back to top button