การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขัน TGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขัน TGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ชื่อเรื่อง       การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขัน TGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง พหุนาม    สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย      นายกิติศักดิ์  ศักดิ์ศรีท้าว ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
                โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล กองการศึกษาเทศบาลเมืองหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
ปีที่วิจัย       2565
 
บทคัดย่อ
 
            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขัน TGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขัน TGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียน เรื่อง พหุนาม หลังจากใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขันTGT สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขันTGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล กองการศึกษาเทศบาลเมืองหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 16 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม ด้วยวิธีการจับฉลากมา 1 ห้องเรียนจากทั้งหมด 4 ห้องเรียน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสอนด้วยตัวเองในชั่วโมงเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ระหว่างวันที่ 1 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 28 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 รวมระยะที่ใช้ในการทดลองทั้งสิ้น 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขันTGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 12 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นข้อสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขันTGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t – test Dependent)
            ผลการวิจัย พบว่า
           1. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขัน TGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มี 4 องค์ประกอบได้แก่ 1)หลักการ  2)วัตถุประสงค์   3)กระบวนการการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นเตรียมการจัดการเรียนรู้ (2) ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม (3) ขั้นแข่งขันเกม (4) ขั้นตรวจสอบการเรียนรู้ (5) ขั้นสรุป 4)การวัดและประเมินผล  โดยพบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขันTGT ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 98/81.25
           2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขัน TGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
           3.นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียน เรื่อง พหุนาม หลังจากใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขันTGT สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
            4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขัน TGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.28)

Powered by GliaStudio
ชุดข้าราชการ ชุดข้าราชการหญิง ชุดกากี ชุดข้าราชการ shopee
Back to top button