Jannah Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ชื่อเรื่อง                 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้
                           ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
                        เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย                    นางสาววิลาสณีย์  ชูกลิ่น         
ตำแหน่ง                ครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา            โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์  อำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ
                            สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กระทรวงมหาดไทย
ปีที่ศึกษา                ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563
 
บทคัดย่อ
 
              การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎี    การสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้และหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5         ที่พัฒนาขึ้น 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3.2) เพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหาหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อประเมิน และปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
 
 
กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการ        สร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียน            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน โดยได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการรสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) แบบประเมินทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีสร้างความรู้       ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา  ปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean), ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation), ค่าสถิติทดสอบที      (t-test dependent Samples) และค่าประสิทธิภาพ E1 / E2  
                      ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้ปกครอง เห็นว่า โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์  มีความพร้อมด้านบริบทที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎี      การสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะ  การแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่า การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) จะเป็นประโยชน์กับนักเรียน 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.46/82.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 3) ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้     ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
พบว่า 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการ   ใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 คะแนน  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้      3.2) ทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ตามแนวทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับสูง   3.3) ผลของความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  พบว่า นักเรียนมีความ   พึงพอใจในระดับมากที่สุด (= 4.73 , S.D. = 0.46)

Powered by GliaStudio
ชุดข้าราชการ ชุดข้าราชการหญิง ชุดกากี ชุดข้าราชการ shopee
Back to top button