การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบเชิงรุก Active learning
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบเชิงรุก Active learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องกีฬาเปตอง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้รายงาน นายเฉลิมพล สังข์ฆพงษ์ ปีการศึกษา 2565 บทคัดย่อ การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด แบบเชิงรุก Active learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องกีฬาเปตอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า 1)เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบเชิงรุก Active learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องกีฬาเปตอง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบเชิงรุก Active learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องกีฬาเปตอง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบเชิงรุก Active learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องกีฬาเปตอง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบเชิงรุก Active learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องกีฬาเปตอง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยจับสลากได้นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (กบินทร์ราษฎรอำรุง) อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 3 ชนิด ได้แก่ (1)แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบเชิงรุก Active learning เรื่องกีฬาเปตอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 16 แผน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กีฬาเปตอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจานวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (p)ตั้งแต่ 0.37 ถึง 0.77 ค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.83 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับ(rcc) มีค่าเท่ากับ 0.95 และ (3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนซึ่งแบ่งเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านเนื้อหา 2)ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ 3) ด้านสื่อและอุปกรณ์ และ 4) ด้านการวัดและประเมินผล รวมทั้ง 4 ด้าน จำนวน 20 ข้อมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (α) มีค่าเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ร้อยละ (Percentage) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาพบว่า ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัญหาในการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลตำบลกบินทร์ และของครูผู้สอน ด้านผู้เรียน พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนตามหลักสูตรต่ำกว่าเกณฑ์ ผลการสัมภาษณ์นักเรียน เกี่ยวกับปัญหาในการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ด้านสภาพปัญหาในการเรียน ครูผู้สอนเน้นเนื้อหาสาระ และกฎเกณฑ์และคำศัพท์เฉพาะที่เป็นภาษาอังกฤษ กิจกรรมไม่น่าสนใจ และต้องการให้ครูปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนหรือวิธีจัดกิจกรรมให้น่าสนใจกว่านี้ ด้านผู้สอน พบว่า ผลจากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนเกี่ยวกับสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลตำบลกบินทร์ พบว่า ครูผู้สอนใช้เนื้อหาในสื่อการเรียนการ สอนจากสำนักพิมพ์ต่างๆ ภายในประเทศ ครูผู้สอนไม่ได้ออกแบบเนื้อหาในการจัดการเรียนการ สอนเอง ตลอดจนเทคนิควิธีการสอน ยังใช้รูปแบบเดิมๆ ยังคงเน้นการสาธิตจาการปฏิบัติของครู มากกว่าให้นักเรียนปฏิบัติกันเอง ยึดเอกสารประกอบการสอนเป็นหลัก ประสิทธิภาพของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบเชิงรุก Active learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องกีฬาเปตอง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.02/82.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ผลการทดลองใช้รูปแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบเชิงรุก Active learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องกีฬาเปตอง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3.1 ค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบเชิงรุก Active learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องกีฬาเปตอง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.6367 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ซึ่งมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.67 3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบเชิงรุก Active learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องกีฬาเปตอง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยหลังเรียน () = 24.73 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน () = 15.47 นั่นคือ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบเชิงรุก Active learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องกีฬาเปตอง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบเชิงรุก Active learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องกีฬาเปตอง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยแบบประเมินแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านเนื้อหา ( = 52 , S.D = 0.59) ระดับพึงพอใจมากที่สุด 2) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้( =4.50 ,S.D =0.56) ระดับความพึงพอใจมากที่สุด 3) ด้านสื่อและอุปกรณ์ ( =4.54 , S.D= 0.52 )ระดับความพึงพอใจมากที่สุด 4) ด้านการวัดและประเมินผล( =4.53 ,S.D= 0.53 ) ระดับความพึงพอใจมากที่สุด และรวมทุกด้าน (=4.52, S.D= 0.52) ระดับความพึงพอใจมากที่สุด