Jannah Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิด

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิด

ชื่อวิจัย   การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิด              การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ               เรื่อง ประวัติศาสตร์สากล  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม              สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผู้วิจัย      อนัญญา รัตนะวัน  ปีที่วิจัย   2564-2565   บทคัดย่อ               การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนการสอน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอน การดำเนินการวิจัย ดำเนินการตามขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่  แบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสัมภาษณ์  ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่  รูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอน เครื่องมือ             ที่ใช้ ได้แก่  แบบประเมินความเป็นประโยชน์  ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องของรูปแบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างที่นำรูปแบบไปใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2  โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม  อำเภอกันทรลักษ์  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 33 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการคำนวณหาค่าประสิทธิภาพ (E1/ E2) ค่าเฉลี่ย                  ค่าร้อยละ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติที (t – test  แบบ  Dependent  Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา          ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน พบว่า การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ครูมีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีสอนแบบบรรยายอย่างเดียว ไม่เห็นความสำคัญของการใช้สื่อ และผู้เรียนเห็นความสำคัญของการเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์น้อยมาก เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ น่าเบื่อหน่าย เนื้อหาการเรียนค่อนข้างเยอะและต้องท่องจำ ไม่เน้นกระบวนการคิดทางประวัติศาสตร์เท่าที่ควร ทำให้นักเรียนไม่สามารถวิเคราะห์หรือตัดสินใจแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้  ครูอยากให้มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้ที่รู้จักคิดอย่างมีวิจารณญาณ รู้จักใช้เหตุผลในวิเคราะห์และตัดสินใจ นักเรียนสร้างความรู้ได้ด้วยตนเองและนำความรู้ไปใช้เป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตอย่างถูกแบบแผน ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีองค์ประกอบสำคัญ 5 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดของรูปแบบ 2) จุดมุ่งหมายของรูปแบบ 3) วิธีดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบ 4) การประเมินผล และ 5) ปัจจัยที่สนับสนุนการเรียนรู้ ประกอบด้วย ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และระบบสนับสนุน โดยในองค์ประกอบที่ 3 วิธีดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบ มี 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นทบทวนเรื่องราว ขั้นที่ 2 ขั้นเข้าใจแหล่งข้อมูล ขั้นที่ 3 ขั้นเพิ่มพูนวิธีคิด ขั้นที่ 4 ขั้นติดตามหลักฐาน และขั้นที่ 5 รายงานผลอย่างรอบคอบ และผลการประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอน มีความเหมาะสมมากที่สุด (= 4.52, S.D. = 0.61)    ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน สรุปได้ดังนี้                3.1 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05                 3.2 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  มีคะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณภาพรวมในระดับสูงมาก ( = 2.75, S.D. = 0.43)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยการเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ การตัดสินข้อมูล การนิยามปัญหา  การลงข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผล และการกำหนดและเลือกสมมติฐาน ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอน สรุปได้ดังนี้                4.1  รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีผลการประเมินมาตรฐานความเป็นประโยชน์  ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้อง ในระดับมากที่สุด (= 4.51, S.D. = 0.56)                 4.2  ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก (= 4.49, S.D. = 0.60)

Powered by GliaStudio
ชุดข้าราชการ ชุดข้าราชการหญิง ชุดกากี ชุดข้าราชการ shopee
Back to top button