การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEAM Education วิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน และสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1
เรื่องที่วิจัย : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEAM Education
วิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1
ผู้วิจัย : นางสาวเพิ่มบุญ สาลีนาค
สถานศึกษา : วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
ปีที่วิจัย : 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 โดยใช้วิธีการสอนตามแนวทาง STEAM Education เพื่อเปรียบเทียบผลคะแนนเฉลี่ยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 โดยใช้วิธีการสอนตามแนวทาง STEAM Education จำแนกตามเพศและสาขาวิชาเอก และเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีการสอนตามแนวทาง STEAM Education การวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองซึ่งทำการทดลองแบบกลุ่มเดี่ยวและทำการวัดผลหลังการทดลอง (Posttest only experimental design) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 5 สาขาวิชาเอก รวมจำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม แบบประเมินผลงานศิลปะ แบบประเมินกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม แบบประเมินการปฏิบัติการทดลอง และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () การทดสอบค่าที (t – test) แบบ One Sample T Test และค่าที (t-test) แบบ Independent Sample T Test การทดสอบค่าความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance : F-test) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Scheffe’ test
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
- ผลคะแนนเฉลี่ยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 โดยใช้วิธีสอนตามแนวทาง STEAM Education มากกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- ผลคะแนนเฉลี่ยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 โดยใช้วิธีสอนตามแนวทาง STEAM Education ของเพศหญิงและเพศชายไม่แตกต่างกันด้วยความเชื่อมั่นร้อยละ 95
- ผลคะแนนเฉลี่ยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 โดยใช้วิธีสอนตามแนวทาง STEAM Education ของทุกสาขาวิชาเอกไม่แตกต่างกันด้วยความเชื่อมั่นร้อยละ 95
- นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEAM Education โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.34 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.345 และเมื่อพิจารณารายข้อทั้งหมดพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ วิธีการสอนแบบ STEAM Education ทำให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงความคิดสร้างสรรค์ได้ ซึ่งมีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.78 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ .428