การพัฒนารูปแบบการนิเทศตามแนวคิดของแฮริส (Harris) เพื่อส่งเสริมศักยภาพครู

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการนิเทศตามแนวคิดของแฮริส (Harris) เพื่อส่งเสริมศักยภาพครู

ชื่อเรื่อง          การพัฒนารูปแบบการนิเทศตามแนวคิดของแฮริส (Harris) เพื่อส่งเสริมศักยภาพครูในการจัดกิจกรรมบูรณาการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน                      สำหรับเด็กปฐมวัย  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส  เขต 2 ผู้วิจัย             ธิติมา  เรืองสกุล ปีที่วิจัย           2563-2564 บทคัดย่อ   การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์หลัก คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ ในการนิเทศตามแนวคิดของแฮริส (Harris) เพื่อส่งเสริมศักยภาพครูในการจัดกิจกรรมบูรณาการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน 2)  เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการนิเทศตามแนวคิดของแฮริส (Harris) เพื่อส่งเสริมศักยภาพครูในการจัดกิจกรรมบูรณาการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศตามแนวคิดของแฮริส (Harris) เพื่อส่งเสริมศักยภาพครู ในการจัดกิจกรรมบูรณาการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการนิเทศตามแนวคิดของแฮริส (Harris) เพื่อส่งเสริมศักยภาพครู ในการจัดกิจกรรมบูรณาการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน                  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นครูปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส  เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 157 คน ที่ผู้วิจัยให้การนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครซี่และมอร์แกน (Kerjcie & Mogan 1970 : 608) และสุ่มเป็นตัวแทนแต่กลุ่มด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและประเด็นการสนทนากลุ่มและแบบนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t – test (Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการนิเทศการจัดกิจกรรมบูรณาการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส  เขต 2 พบว่า มีการดำเนินงานในระดับมาก ด้านที่มีการดำเนินงานมากที่สุด คือ การพัฒนาเครื่องมือ สื่อและพัฒนาการนิเทศ รองลงมาคือ การปฏิบัติตามแผนการนิเทศ  การประเมินผล และการรายงานผลการนิเทศ การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ และการวางแผนการนิเทศ ตามลำดับ  และครูปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดต้องการให้มีการส่งเสริมและพัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดกิจกรรมบูรณาการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน ในระดับมาก โดยครูให้ข้อเสนอแนะว่าการได้เรียนรู้วิธีการจัดกิจกรรมบูรณาการพัฒนาทักษะการคิดที่หลากหลาย จะทำให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่ง          ใหม่ ๆ ได้คิดวิเคราะห์จากสถานการณ์หรือคำถาม ลงมือปฏิบัติจริง และได้ทักษะที่สำคัญคือ การแก้ปัญหา ความมีเหตุผล และการตัดสินใจ การเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง จะทำให้เด็กเกิดความมั่นใจและกล้าแสดงออกมากขึ้น ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศ พบว่า รูปแบบการนิเทศตามแนวคิดของแฮริส (Harris) เพื่อส่งเสริมศักยภาพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2  ในการจัดกิจกรรมบูรณาการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย มีองค์ประกอบหลัก              4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการนิเทศตามแนวคิดของแฮริส (Harris)  และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ ซึ่งกระบวนการนิเทศตามแนวคิดของแฮริส (Harris)                มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นการประเมินสภาพงาน (Assessing)  ขั้นออกแบบวิธีการทำงาน (Designing)  ขั้นการประสานงาน (Coordinating) ขั้นอำนวยการหรือการสั่งการ (Directing) และ ขั้นการติดตามประเมินผลการปฏิบัติ (Monitoring and Evaluation)  ผลการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการนิเทศ มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด  ผลการใช้รูปแบบการนิเทศตามแนวคิดของแฮริส (Harris) เพื่อส่งเสริมศักยภาพครู ในการจัดกิจกรรมบูรณาการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 พบว่า                3.1 ครูปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดมีความรู้ ความเข้าใจเรื่อง การจัดกิจกรรมบูรณาการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ                3.2  ผลการนิเทศ ติดตามผลการจัดกิจกรรมบูรณาการ พบว่า ครูปฐมวัยของโรงเรียน ในสังกัด มีผลการประเมินการปฏิบัติงานการจัดกิจกรรมบูรณาการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด                3.3 เด็กปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมบูรณาการ มีการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน อยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 86.67 ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศตามแนวคิดของแฮริส (Harris) เพื่อส่งเสริมศักยภาพครู ในการจัดกิจกรรมบูรณาการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน พบว่า                4.1  ผลการประเมินด้านความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุมของรูปแบบการนิเทศตามแนวคิดของแฮริส (Harris) เพื่อส่งเสริมศักยภาพครูในการจัดกิจกรรมบูรณาการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2  อยู่ในระดับมาก                4.2 ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาและครูปฐมวัยต่อการนิเทศตามแนวคิดของแฮริส (Harris) ในการจัดกิจกรรมบูรณาการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส  เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Powered by GliaStudio
Back to top button