การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับครูสังกัดเทศบาลนครเชียงราย

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับครูสังกัดเทศบาลนครเชียงราย
Kwanji asked 1 ปี ago

ผู้วิจัย             นางธัญญรัตน์  คำสุรันทร์
ปีที่วิจัย           ปี 2565
บทคัดย่อ
           การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับครูสังกัดเทศบาลนครเชียงราย  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการนิเทศแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ  2) พัฒนารูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ  และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับครูสังกัดเทศบาลนครเชียงราย มีวิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการนิเทศแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้การคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับครูสังกัดเทศบาลนครเชียงราย โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน  ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้การคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับครูสังกัดเทศบาลนครเชียงราย ตรวจสอบยืนยัน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง  ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบรูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้การคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับครูสังกัดเทศบาลนครเชียงราย จากตัวแทนครูผู้สอนภาษาไทย
จำนวน 4 คน เลือกแบบเจาะจง จำนวน 2 โรงเรียน ได้แก่  โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีทรายมูล และโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบนิเทศ
และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
           ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. ศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการนิเทศแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า องค์ประกอบของกระบวนการนิเทศ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วางแผนการนิเทศ  2) ให้ความรู้  3) ดำเนินการนิเทศ  4) ประเมินผลการนิเทศ  5) การสร้างเสริมกำลังใจ                        2. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับครูสังกัดเทศบาลนครเชียงราย  ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่  องค์ประกอบที่ 1หลักการ  องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์  องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการนิเทศ ที่เรียกว่า “CHEER Model”
    มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการจำเป็น (Classifying : C) ขั้นที่ 2 การให้ความรู้ก่อนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Heart to learn : H) ขั้นที่ 3 ดำเนินการนิเทศแบบมีส่วนร่วม (Execute : E) ขั้นที่ 4 การประเมินผลการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Evaluating : E) และขั้นที่ 5 การสร้างขวัญและกำลังใจ (Reinforcing : R)  องค์ประกอบที่ 4 การประเมินผล  องค์ประกอบที่ 5 การนำรูปแบบไปใช้ และ องค์ประกอบที่ 6 เงื่อนไขความสำเร็จ  ซึ่งผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
    อยู่ในระดับมากที่สุด 
  2. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับครูสังกัดเทศบาลนครเชียงราย พบว่า คะแนนประเมินความรู้หลังการเข้าร่วมรูปแบบ สูงกว่าคะแนนประเมินความรู้ก่อนการเข้าร่วมรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินระดับความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 
คำสำคัญ : รูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วม, ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
 

Powered by GliaStudio
Back to top button