การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น เทศบาลนครเชียงราย
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริม การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น เทศบาลนครเชียงราย
ผู้วิจัย ระดับศิลป์ บุดดี
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น เทศบาลนครเชียงราย 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น เทศบาลนครเชียงราย 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น เทศบาลนครเชียงราย 4) ประเมินความคิดเห็นของครูผู้รับการนิเทศที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายใน แบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น เทศบาลนครเชียงราย โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น เทศบาลนครเชียงราย ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น เทศบาลนครเชียงราย ขั้นตอน ที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น เทศบาลนครเชียงราย และขั้นตอนที่ 4 การประเมินความคิดเห็นของครูผู้รับการนิเทศที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น เทศบาลนครเชียงราย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูที่ต้องการเข้าร่วมพัฒนา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบแบบเลือกตอบ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า การนิเทศภายในแบบบูรณาการเป็นเป็นกระบวนการนิเทศที่เน้นการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อให้คำแนะนำ ปรับปรุง พัฒนาการสอน ให้มีคุณภาพโดยเน้นการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เกิดจากการบูรณาการการนิเทศแบบคลินิก การนิเทศ แบบพี่เลี้ยงและการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ โดยมีผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศร่วมปรึกษาหารือ วางแผนการจัดการเรียนรู้ สังเกตการสอน ลงมือปฏิบัติและให้ข้อมูลย้อนกลับจนประสบผลสำเร็จ ตามจุดมุ่งหมาย
- ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการพบว่า รูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น เทศบาลนครเชียงราย มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ(Principle) 2) วัตถุประสงค์ (Objective) 3) เนื้อหา (Content) 4) กระบวนการนิเทศ (Supervision Process) 5) การวัดและประเมินผล (Evaluation) 6) เงื่อนไขความสำเร็จ (Success Condition) โดยมีกระบวนการนิเทศ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนกำหนดทิศทาง (D: Directional Planning) ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติการนิเทศ (S: Supervisory Management ) ขั้นตอนที่ 3 การเรียนรู้และพัฒนา (L: Learning and Development) และ ขั้นตอนที่ 4 การสร้างขวัญกำลังใจ (D: Dynamics) ซึ่งผลการประเมินรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ทั้งสองรายการ ส่วนผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการ พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจ สามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกได้ อีกทั้งมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
- ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริม การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น เทศบาลนครเชียงราย พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สูงกว่าหลังการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและจัดการเรียน การสอนที่สร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมากที่สุด อีกทั้งมีเจตคติที่ดีต่อการจัด การเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับดี
- ผลการประเมินความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น เทศบาลนครเชียงราย พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด