การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนไกรภักดีวิทยาคมโดยใช้ SMART KPW (we are friends)
1.ชื่อนวัตกรรม การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนไกรภักดีวิทยาคมโดยใช้ SMART KPW (we are friends) 2.ผู้จัดทำ นางสาวสิลิลทราทิพย์ สดมพฤกษ์ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัด โรงเรียนไกรภักดีวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร 3.แนวทางการคิดค้นนวัตกรรม þแสวงหานวัตกรรม/แบบอย่างที่ดีจากแหล่งต่าง ๆ ที่มีผู้สร้างหรือทำไว้แล้วแล้วนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาใหม่ ¨สร้างนวัตกรรมใหม่ 4.ปีที่จัดทำ พ.ศ. 2566 5.ประเภทนวัตกรรม þ ด้านบริหารจัดการ □ ด้านหลักสูตร □ ด้านจัดการเรียนรู้ □ ด้านสื่อและเทคโนโลยี □ ด้านวัดและประเมินผล หลักการ /ที่มาความสำคัญของการศึกษา ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นกระบวนการหนึ่งในการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่จะดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีขั้นตอน วิธีการและเครื่องมือการทำงานที่ชัดเจน มีครูประจำชั้นหรือครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงาน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา อาทิ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้บริหารครูทุกคน ฯลฯ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ ) จึงกำหนดนโยบายสำคัญให้สถานศึกษาในสังกัดทุกแห่งจัดให้มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และดำเนินการอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนนักเรียนทุกคนจะต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือ พิทักษ์ ปกป้อง คุ้มครองอย่างรอบด้านด้วยกระบวนการที่ถูกต้อง เหมาะสมและทันการณ์ ได้รับการพัฒนาในทุกมิติ เพื่อให้เป็นคนดี มีความสุขและปลอดภัยในสภาพสังคมปัจจุบัน การพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรม และมีวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษานั้น นอกจากจะดำเนินการ ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนแล้ว การป้องกันและการช่วยเหลือแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดกับนักเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกมิติ ทั้งด้านการสื่อสาร เทคโนโลยี ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการระบาดของสารเสพติด ปัญหาครอบครัว ปัญหาการแข่งขันทุกรูปแบบ ก่อให้เกิดความทุกข์ ความวิตกกังวล ความเครียด ซึ่งล้วนแต่เป็นผลเสียต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกาย ของทุกคน จนนำไปสู่การเกิดปัญหาและสภาวะวิกฤติทางสังคม ดังนั้น ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน ให้มีความสมบูรณ์พร้อมอย่างเป็นองค์รวมทั้ง ด้านร่างกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ คุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนให้มีทักษะในการดำรงชีวิต จึงจำเป็นที่ทุกโรงเรียน ในฐานะหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้เรียน และแก้วิกฤติสังคม จึงควรนำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาประยุกต์ใช้และพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละโรงเรียน การดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ การส่งเสริม พัฒนา การป้องกัน และแก้ไขปัญหาเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข็มแข็ง คุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะการดำรงชีวิต และรอดพ้นจากวิกฤติทั้งปวง กระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนชัดเจน พร้อมทั้งมีวิธีการและเครื่องมือที่มีมาตรฐาน คุณภาพ และมีหลักฐานการทำงานที่ตรวจสอบได้โดยมี ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงาน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกสถานศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้บริหาร และครูทุกคน มีวิธีการและเครื่องมือที่ชัดเจน มีมาตรฐานคุณภาพ และมีหลักฐานการทำงานที่ตรวจสอบได้ ประโยชน์และคุณค่าของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 1. นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึง และตรงตามสภาพปัญหา 2. สัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี และอบอุ่น 3. นักเรียนรู้จักตนเอง และควบคุมตนเองได้ 4. นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และได้รับการส่งเสริมพัฒนาเต็มตามศักยภาพอย่างรอบด้าน 5. ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนอย่างเข้มแข็ง จริงจัง ด้วยความเสียสละ เอาใจใส่ กระบวนการและขั้นตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน มีครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงาน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกสถานศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้บริหาร และครูทุกคน มีวิธีการและเครื่องมือที่ชัดเจน มีมาตรฐานคุณภาพ และมีหลักฐานการทำงานที่ตรวจสอบได้ กระบวนการและขั้นตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ 1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2. การคัดกรองนักเรียน 3. การป้องกันและแก้ไขปัญหา 4. การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน 5. การส่งต่อ 1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้วยความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคนที่มีพื้นฐานความเป็นมาของชีวิตที่ไม่เหมือนกัน หล่อหลอม ให้เกิดพฤติกรรมหลากหลายรูปแบบ ทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนั้น การรู้จักข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับตัวนักเรียน จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้ครูที่ปรึกษามีความเข้าใจนักเรียนมากขึ้นสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อการ คัดกรองนักเรียน เป็นประโยชน์ในการส่งเสริม การป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้อย่างถูกทาง ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์มิใช่การใช้ความรู้สึกหรือการคาดเดาโดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหานักเรียน ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดข้อผิดพลาดต่อการช่วยเหลือนักเรียนหรือเกิดได้น้อยที่สุด 2. การคัดกรองนักเรียน การคัดกรองนักเรียน เป็นการพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวนักเรียน เพื่อการจัดกลุ่มนักเรียน อาจนิยามกลุ่มได้ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ คือ นักเรียนที่ได้รับการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียนแล้วอยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มปกติ ซึ่งควรได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันและการส่งเสริมพัฒนา กลุ่มเสี่ยง คือ นักเรียนที่จัดอยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มเสี่ยงตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนต้องให้การป้องกันหรือแก้ไขปัญหาตามแต่กรณี กลุ่มมีปัญหา คือ นักเรียนที่จัดอยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มมีปัญหาตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนต้องช่วยเหลือและแก้ปัญหาโดยเร่งด่วน กลุ่มพิเศษ คือ นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ มีความเป็นอัจฉริยะ แสดงออกซึ่งความสามารถอันโดดเด่นด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน อย่างเป็นที่ประจักษ์เมื่อเทียบกับผู้มีอายุในระดับเดียวกันภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกัน ซึ่งโรงเรียนต้องให้การส่งเสริมนักเรียนได้พัฒนาศักยภาพความสามารถพิเศษนั้นจนถึงขั้นสูงสุด การจัดกลุ่มนักเรียนนี้ มีประโยชน์ต่อครูที่ปรึกษาในการหาวิธีการเพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาให้ตรงกับปัญหาของนักเรียนยิ่งขึ้น และมีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา เพราะ มีข้อมูลของนักเรียนในด้านต่าง ๆ ซึ่งหากครูที่ปรึกษาไม่ได้คัดกรองนักเรียนเพื่อการจัดกลุ่มแล้ว ความชัดเจนในเป้าหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาของนักเรียนจะมีน้อยลง มีผลต่อความรวดเร็วในการช่วยเหลือ ซึ่งบางกรณีจำเป็น ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน 3. การป้องกันและแก้ไขปัญหา ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูควรให้ความเอาใจใส่กับนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน แต่สำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหานั้น จำเป็นอย่างมากที่ต้องให้ความดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและหาวิธีการช่วยเหลือทั้งการป้องกัน และการแก้ไขปัญหา โดยไม่ปล่อยปละละเลยนักเรียนจนกลายเป็นปัญหาของสังคม การสร้างภูมิคุ้มกัน การป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียน จึงเป็นภาระงานที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่าอย่างมากในการพัฒนาให้นักเรียนเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป การป้องกันและการแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียนนั้นมีหลายเทคนิค วิธีการ แต่สิ่งที่ครูประจำชั้น/ ครูที่ปรึกษา จำเป็นต้องดำเนินการมีอย่างน้อย 2 ประการ คือ 1. การให้คำปรึกษาเบื้องต้น 2. การจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา 4. การพัฒนาและส่งเสริมผู้เรียน การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนเป็นการสนับสนุนให้นักเรียนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนกลุ่มปกติ หรือกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา กลุ่มความสามารถพิเศษ ให้มีคุณภาพมากขึ้น ได้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีความภาคภูมิใจในตนเองในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันมิให้นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มปกติและกลุ่มพิเศษกลายเป็นนักเรียนกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา และเป็นการช่วยให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหากลับมาเป็นนักเรียนกลุ่มปกติและมีคุณภาพ ตามมาตรฐานที่โรงเรียนหรือชุมชนคาดหวังต่อไป การส่งเสริมพัฒนานักเรียนมีหลายวิธีที่โรงเรียนสามารถพิจารณาดำเนินการได้ แต่มีกิจกรรมหลักสำคัญที่โรงเรียนต้องดำเนินการ คือ 1. การจัดกิจกรรมโฮมรูม 2. การเยี่ยมบ้าน 3. การจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน (Classroom Meeting) 4. การจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 5. การส่งต่อ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนโดยครูที่ปรึกษา อาจมีกรณีที่บางปัญหามีความยากต่อการช่วยเหลือ หรือช่วยเหลือแล้วนักเรียนมีพฤติกรรมไม่ดีขึ้นก็ควรดำเนินการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่อไป เพื่อให้ปัญหา ของนักเรียนได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกทางและรวดเร็วขึ้น หากปล่อยให้เป็นบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษาหรือครู คนใดคนหนึ่งเพียงลำพังความยุ่งยากของปัญหาอาจมีมากขึ้น หรือลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่โตจนยากต่อการแก้ไข ซึ่งครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษาสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่กระบวนการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล หรือการคัดกรองนักเรียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปัญหาของนักเรียน ในแต่ละกรณี การส่งต่อแบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1. การส่งต่อภายใน ครูที่ปรึกษาส่งต่อไปยังครูที่สามารถให้การช่วยเหลือนักเรียนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปัญหา เช่น ส่งต่อครูแนะแนว ครูพยาบาล ครูประจำวิชา หรือฝ่ายปกครอง 2. การส่งต่อภายนอก ครูแนะแนวหรือฝ่ายปกครองเป็นผู้ดำเนินการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญภายนอก หากพิจารณาเห็นว่าเป็นกรณีปัญหาที่มีความยากเกินกว่าศักยภาพของโรงเรียนจะดูแลช่วยเหลือได้ ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือ 1. ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารทุกฝ่าย ตระหนักถึงความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และให้การสนับสนุนการดำเนินงานหรือร่วมกิจกรรมตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ 2. ครูทุกคนแลผู้เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องมีความตระหนักในความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีทัศนคติที่ดีต่อนักเรียน และมีความสุขที่จะพัฒนานักเรียนในทุกด้าน 3. คณะกรรมการหรือคณะทำงานทุกคณะ ต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิด และมีการประชุมในแต่ละคณะอย่างสม่ำเสมอตามที่กำหนด 4. ครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงาน โดยต้องได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย 5. การอบรมให้ความรู้และทักษะ รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูล ความรู้แก่ครูที่ปรึกษาหรือผู้เกี่ยวข้อง ในเรื่องที่เอื้อประโยชน์ต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสิ่งที่จำเป็นโดยเฉพาะเรื่องทักษะการปรึกษาเบื้องต้น และแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียนซึ่งโรงเรียนควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ การพัฒนาและขับเคลื่อนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 1. ศึกษาสภาพและทิศทางการดำเนินงาน 2. วางแผนการดำเนินงานจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3. ดำเนินการตามแผนที่กำหนด 4. นิเทศ กำกับ ติดตาม 5. ประเมินเพื่อทบทวน (ประเมินภายใน) 6. สรุปรายงาน/ประชาสัมพันธ์ แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา แนวคิดหลักการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผลงานหรือนวัตกรรม คือ แนวคิดที่ใช้ในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โรงเรียนไกรภักดีวิทยาคม ยึดหลักการบริหารแบบการมีส่วนร่วมของ ภาคีเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ยึดหลักธรรมาภิบาล เน้นการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาแบบมุ่ง ผลสัมฤทธิ์ คิดค้นนวัตกรรมบริหารจัดการศึกษาด้วย SMART KPW (we are friends) เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีทักษะชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยทฤษฎีที่ใช้ในการบริหารจัดการที่เป็นแบบอย่างของการจัดการศึกษา คือ ทฤษฎีวงล้อเดมมิ่ง (Deming Wheel หรือ วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) ของ วิลเลี่ยม เอ็ดเวิร์ดเดมมิ่ง เดมมิ่ง (Deming in My coted, 2004) กล่าวว่า การจัดการอย่างมีคุณภาพเป็นกระบวนการที่ดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลผลิตและบริการที่มีคุณภาพขึ้น โดยหลักการที่เรียกว่า วงจรคุณภาพ (PDCA) ประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบ และการปรับปรุงแก้ไข การวางแผน (Plan) คือ การกำหนดสาเหตุของปัญหา จากนั้นวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงหรือทดสอบเพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น การปฏิบัติตามแผน (Do) คือ การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบและประเมินผล (Check) คือ การตรวจสอบเพื่อทราบว่าบรรลุผลตามแผนหรือไม่หากมีสิ่งใดที่ทาผิดพลาดหรือได้เรียนรู้อะไรมาแล้วบ้าง การปรับปรุงแก้ไข (Action) คือ การยอมรับการเปลี่ยนแปลง หากบรรลุผลเป็นที่น่าพอใจหรือหาก ผลการปฏิบัติไม่เป็นไปตามแผน ให้ทำช้ำวงจรโดยใช้การเรียนรู้จากการกระทาในวงจรที่ได้ปฏิบัติแล้ว วิธีการดำเนินงาน-กระบวนการ รูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วย SMART KPW (we are friends) ผ่านกระบวนการวงจรคุณภาพ P-D-C-A ในการดำเนินการจัดการศึกษา มีรายละเอียดดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นการวางแผน (Plan) ดำเนินการ SWOT วิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ของโรงเรียน ขั้นตอนที่ 2 ขั้นปฏิบัติตามแผน (Do) ปฏิบัติงานการจัดการเรียนการสอนตามแผนที่กำหนดไว้โดยใช้การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ผู้บริหาร ครู นักเรียนและผู้ปกครอง โดยใช้ช่องทางติดต่อสื่อสารในไลน์กลุ่มประจำชั้นเรียน การระดมความคิด แก้ไขปัญหานักเรียนรายบุคคลร่วมกัน ติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน ขั้นตอนที่ ๓ ขั้นตรวจสอบ (Check) ผู้บริหารนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา โดยการเยี่ยมชั้นเรียน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อช่วยกัน ประชุม PLC ร่วมกันกับครูที่ปรึกษาพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 2019 โดยจะมีการนำเสนอนวัตกรรม และรูปแบบการจัดการเรียนการสอน หรือแนะนำ Application ได้นำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ ๔ ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Action) เป็นการสะท้อนผลการดำเนินงาน ตามสภาพจริง Effectiveness (Reflection) มีการพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนเกิด ประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ด้วยการนำผลการประเมิน โดยยึดตามประเด็นพิจารณารายข้อของมาตรฐาน ที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน ใช้นวัตกรรมรูปแบบการจัดการการเรียนมาวิเคราะห์และสะท้อนผลการดำเนินงานตามสภาพจริง (Reflection) เพื่อวิเคราะห์ว่ามีปัญหา อุปสรรคที่ควรแก้ไขและพัฒนาหรือไม่ ถ้าหาก \”ไม่ผ่าน\” ก็จะนำปัญหา อุปสรรคที่พบมาเป็นสิ่งที่จะต้องแสวงหาวิธีการแก้ไข ปรับปรุงในขั้นตอนของการวางแผนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอีกครั้ง ถ้าหาก \”ผ่าน\” แสดงว่า รูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักรียนบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ สามารถ ประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่และขยายผลการดำเนินงานสู่โรงเรียนและหน่วยงานอื่น ๆ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 1. เพื่อให้การดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นไปอย่างมีระบบ มีประสิทธิภาพ 2. เพื่อให้โรงเรียน กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการทำงานเพื่อพัฒนาและดูแลช่วยเหลือผู้เรียนร่วมกัน 3.ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ ขอบเขตของการศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 จำนวนทั้งสิ้น 352 คน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 24 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 295 คน ผู้ปกครอง 24 คน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 คน วิธีดำเนินการศึกษา วิธีการดำเนินงาน-กระบวนการ รูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วย SMART KPW (we are friends) ผ่านกระบวนการวงจรคุณภาพ P-D-C-A ในการดำเนินการจัดการศึกษา มีรายละเอียดดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นการวางแผน (Plan) ดำเนินการ SWOT วิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ของโรงเรียน ขั้นตอนที่ 2 ขั้นปฏิบัติตามแผน (Do) ปฏิบัติงานการจัดการเรียนการสอนตามแผนที่กำหนดไว้โดยใช้การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ผู้บริหาร ครู นักเรียนและผู้ปกครอง โดยใช้ช่องทางติดต่อสื่อสารในไลน์กลุ่มประจำชั้นเรียน การระดมความคิด แก้ไขปัญหานักเรียนรายบุคคลร่วมกัน ติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน ขั้นตอนที่ ๓ ขั้นตรวจสอบ (Check) ผู้บริหารนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา โดยการเยี่ยมชั้นเรียน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อช่วยกัน ประชุม PLC ร่วมกันกับครูที่ปรึกษาพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 2019 โดยจะมีการนำเสนอนวัตกรรม และรูปแบบการจัดการเรียนการสอน หรือแนะนำ Application ได้นำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ ๔ ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Action) เป็นการสะท้อนผลการดำเนินงาน ตามสภาพจริง Effectiveness (Reflection) มีการพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนเกิด ประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ด้วยการนำผลการประเมิน โดยยึดตามประเด็นพิจารณารายข้อของมาตรฐาน ที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน ใช้นวัตกรรมรูปแบบการจัดการการเรียนมาวิเคราะห์และสะท้อนผลการดำเนินงานตามสภาพจริง (Reflection) เพื่อวิเคราะห์ว่ามีปัญหา อุปสรรคที่ควรแก้ไขและพัฒนาหรือไม่ ถ้าหาก \”ไม่ผ่าน\” ก็จะนำปัญหา อุปสรรคที่พบมาเป็นสิ่งที่จะต้องแสวงหาวิธีการแก้ไข ปรับปรุงในขั้นตอนของการวางแผนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอีกครั้ง ถ้าหาก \”ผ่าน\” แสดงว่า รูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักรียนบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ สามารถ ประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่และขยายผลการดำเนินงานสู่โรงเรียนและหน่วยงานอื่น ๆ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป รูปภาพโมเดล วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล แผนภูมิแสดงแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนไกรภักดีวิทยาคม ผลการศึกษา การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนไกรภักดีวิทยาคมโดยใช้ SMART KPW (we are friends) มีผลลัพธ์ในการพัฒนา ดังนี้ เชิงปริมาณ ผู้เรียนร้อยละ 80 มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม ไม่มีนักเรียนออกกลางคันระหว่างวันที่ 4 เมษายน – 30 กันยายน 2565 นักเรียนในเขตพื้นที่บริการ ร้อยละ 100 ได้รับโอกาสทางการศึกษา เชิงคุณภาพ โรงเรียนไกรภักดีวิทยาคมมีการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วย SMART KPW (we are friends) 2.โรงเรียนไกรภักดีวิทยาคมมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพศวิถีในโรงเรียน โดยบูรณาการในรายวิชาสุขศึกษา วิชาแนะแนว และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3.โรงเรียนไกรภักดีวิทยาคมมีเครือข่ายในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน 4.ครูได้รับการพัฒนาด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการคัดกรอง ติดตาม และพัฒนาผู้เรียนตามความถนัด 5.นักเรียนได้รับการพัฒนาตรงตามศักยภาพ เช่น นักเรียนได้รับคักเลือกเป็นตัวแทนนักกีฬาทีมชาติไทย ประเภทกีฬาโรลเลอร์สกี นักกีฬาตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษานครสวรรค์เกมส์ ประเภทกีฬากระบี่กระบอง นักกีฬาตัวแทนภาค 3 กรีฑา นักเรียนได้รับรางวัล 18 เหรียญทอง 23 เหรียญเงิน 9 เหรียญทองแดง รวม 58 เหรียญ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และได้รับรางวัลเหรียญทองการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ รายการนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ อีกทั้งยังเข้าร่วสมกิจกรรมส่งเสริมศิลปะ ดนตรีและกีฬาอื่นๆในระดับชุมชนและจังหวัดอีกมากมาย อ้างอิง/บรรณานุกรม คู่มือการดําเนินงาน ระบบการดูแลช่วยเหลือ และคุ้มครองนักเรียน ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 คู่มือการคัดเลือกสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2565 ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและเยี่ยมบ้านนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน https://training.skarea2.go.th/course/chapterview/77.html การเผยแพร่ผลงาน/การแลกเปลี่ยนผลงาน http://www.kraipakdee.ac.th/ https://www.การศึกษาไทย.com/board/category/เผยแพร่ผลงานวิชาการ/ https://www.facebook.com/kraipakdeewitayakhom https://www.facebook.com/profile.php?id=100081219016087 ภาคผนวก สรุปคะแนนผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การให้คะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของแต่ละข้อตามตัวชี้วัดกำหนดให้เป็นตัวเลข 0 1,2 และ3 ซึ่งตัวเลขมีความหมาย ดังนี้ ระดับคุณภาพ 3 หมายถึง ระดับ ดีเยี่ยม ระดับคุณภาพ 2 หมายถึง ระดับ ดี ระดับคุณภาพ 1 หมายถึง ระดับ ผ่าน ระดับคุณภาพ 0 หมายถึง ระดับ ไม่ผ่าน สรุปคะแนนผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทั้ง 8 ข้อ เป็นร้อยละรายระดับชั้น ดังนี้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 54 คน สรุปผลการประเมิน ระดับคุณภาพ 3 ดีเยี่ยม จำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 96.29 ระดับคุณภาพ 2 ดี จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.9 ระดับคุณภาพ 1 ผ่าน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.9 ระดับคุณภาพ 0 ไม่ผ่าน จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 36 คน สรุปผลการประเมิน ระดับคุณภาพ 3 ดีเยี่ยม จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 97.2 ระดับคุณภาพ 2 ดี จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.9 ระดับคุณภาพ 1 ผ่าน จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 ระดับคุณภาพ 0 ไม่ผ่าน จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 53 คน สรุปผลการประเมิน ระดับคุณภาพ 3 ดีเยี่ยม จำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 98.1 ระดับคุณภาพ 2 ดี จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.9 ระดับคุณภาพ 1 ผ่าน จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 ระดับคุณภาพ 0 ไม่ผ่าน จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 37 คน สรุปผลการประเมิน ระดับคุณภาพ 3 ดีเยี่ยม จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ระดับคุณภาพ 2 ดี จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 ระดับคุณภาพ 1 ผ่าน จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 ระดับคุณภาพ 0 ไม่ผ่าน จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 58 คน สรุปผลการประเมิน ระดับคุณภาพ 3 ดีเยี่ยม จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ระดับคุณภาพ 2 ดี จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 ระดับคุณภาพ 1 ผ่าน จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 ระดับคุณภาพ 0 ไม่ผ่าน จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 34 คน สรุปผลการประเมิน ระดับคุณภาพ 3 ดีเยี่ยม จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 82.3 ระดับคุณภาพ 2 ดี จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 17.8 ระดับคุณภาพ 1 ผ่าน จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 ระดับคุณภาพ 0 ไม่ผ่าน จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 ผู้รายงาน สิลิลทราทิพย์ สดมพฤกษ์ (นางสาวสิลิลทราทิพย์ สดมพฤกษ์ ) รองผู้อำนวยการโรงเรียนไกรภักดีวิทยาคม