Jannah Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.

การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ โดย ผอ.มงคล ใบแสง

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ โดย ผอ.มงคล ใบแสง
GingMan asked 1 ปี ago

การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ มงคล ใบแสง โรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่, สังกัดเทศบาลนครเชียงราย กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น* Corresponding author. E-mail address: [email protected]: xx January 2022; Revised: xx January 2022; Accepted: xx December 2022 Abstract     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหาร สถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา และ 4) ประเมินผลรูปแบบการบริหารงานสถานศึกษา ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาที่ประสบความสำเร็จ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย และขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย ซึ่งเริ่มดำเนินการใช้รูปแบบในปีการศึกษา 2565      ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย มีองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการและเหตุผล องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 3 รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย องค์ประกอบที่ 4 กลไกการบริหารงาน และองค์ประกอบที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ ผลการประเมินร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย ที่พัฒนาขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อนำไปทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 และประเมินผลการใช้รูปแบบจากผู้เกี่ยวข้อง โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดKeywords : รูปแบบการบริหาร, การเรียนรู้ในวิถีใหม่, ยกระดับคุณภาพการศึกษา Introduction     โรงเรียนเป็นองค์การทางการศึกษาที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาโดยมีเจตนารมณ์ที่จะยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ได้กำหนดจุดมุ่งหมายการพัฒนาคนในศตวรรษที่ 21 ให้มีทักษะการเรียนรู้ การอ่านออก เขียนได้ คิดคำนวณได้ มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการคิดแก้ปัญหา ทักษะด้านการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานและมีความรอบรู้ พัฒนาคนให้เหมาะสมตามช่วงวัย มีค่านิยมตามบรรทัดฐานที่ดีทางสังคมเป็นคนดี มีสุขภาวะที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวิจัยและมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การพัฒนาคนให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพ คือ การยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ การจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน มีแหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน นวัตกรรมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีระบบและกลไกการวัด การติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ (ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย, 2560); (อัจฉรา นิยมาภา, 2561) การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมายังไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและคุณภาพ ดังจะเห็นได้จากรายงานการวิจัย รายงานสภาวะการศึกษาไทย แนวคิดของนักการศึกษาและนักวิชาการ ที่ได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุการปฏิรูปการศึกษาของไทยที่ไม่สามารถไปถึงคุณภาพได้นั้น มีสาเหตุสำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) โครงสร้างการบริหารจัดการศึกษาเป็นแบบรวมศูนย์ 2) การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองส่งผลต่อการบริหารจัด 3) ระบบการศึกษาไม่เอื้อต่อการสร้างความรับผิดชอบ (Accountability) ทั้งในส่วนของการทดสอบระบบประเมินผลโรงเรียนและครู และระบบการเงินเพื่อการศึกษา 4) แนวคิดวัฒนธรรมที่มีต่อระบบการศึกษาของคนไทยที่มุ่งเน้นการทดสอบแบบท่องจำ วัฒนธรรมการศึกษาเพื่อการแข่งขัน การประกวด การประเมิน รวมถึงการประเมินของสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลนำชื่อเสียงมาสู่ครู ผู้บริหาร และโรงเรียน 5) หลักสูตรการจัดการเรียนรู้ สื่อ และเทคโนโลยีไม่สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เด็กไทยมีชั่วโมงเรียนมาก จำนวนวิชามาก และมีสัดส่วน จำนวนชั่วโมงต่อวิชาเรียนหลักอาจยังไม่เหมาะสม และ 6) ระบบการพัฒนาผู้บริหาร ครู และ บุคลากรทางการศึกษา พบว่า ยังไม่มีการประเมินสมรรถนะตามวิชาชีพที่แท้จริง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แนวใหม่ที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (มนต์นภัส มโนการณ์, 2561)      เนื่องจากทักษะในศตวรรษที่ 21 มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตในโลกปัจจุบันที่ซับซ้อน ซึ่งประกอบด้วยทักษะที่หลากหลายและแตกต่างกันไป เช่น มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความคิดสร้างสรรค์ และเรียนรู้แบบร่วมมือ เน้นทักษะทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งมีทัศนคติและค่านิยมที่พึงประสงค์ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ทักษะการคิดที่ซับซ้อน ทักษะการเรียนรู้และทักษะการสื่อสาร โดยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากกว่าการท่องจำ (Saavedra and Opfer, 2012 : 5) การจัดการศึกษามีบทบาทหน้าที่หลักในการเตรียมคนที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์เท่าทันกับกระแสความเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงต้องเปลี่ยนแปลงทัศนะจากกระบวนทัศน์แบบดั้งเดิม (Tradition Paradigm) ไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm) ที่เป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิต สามารถนำทักษะที่ได้รับจากการเรียนรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2561) ผู้บริหารจึงควรมีแนวคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับความต้องการจำเป็น และสอดคล้องกับแนวทางการบริหารของหน่วยงานต้นสังกัด รวมทั้งมีแนวทางในการกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียนอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2558) โดยต้องแสวงหาแนวทางจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับองค์กรหรือกลไกต่าง ๆ ในชุมชนและในสังคม นั่นคือ การเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning : PBL) ที่บรรจบเข้ากับการเรียนรู้แบบ “สถานที่เป็นฐาน” (Place-Based Learning : PBL) เรียกว่า การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning : CBL) นั่นเอง (วิจารณ์ พานิช, 2557) ซึ่งมีความแตกต่างจากการเรียนการสอนแบบเดิม กล่าวคือ การเรียนรู้แบบเดิมผู้เรียนรับการถ่ายทอดจากครูโดยตรง (Reception Learning) ในขณะที่การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานมีการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบ (Discovery Learning) มีการวิเคราะห์การประเมิน และการแก้ปัญหา โดยมีครูเป็นผู้กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากเรียนรู้ (มณฑล จันทร์แจ่มใส, 2558) เพื่อส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 จำนวน 5 ด้าน ดังนี้ 1) ความสามารถในการสื่อสาร 2) ความสามารถในการคิด 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา 4) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี      จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมาส่งผลต่อวิถีชีวิตคนไทย ทำให้เกิดรูปแบบการดำเนินชีวิตที่แตกต่างจากอดีตตามวิถีความปกติใหม่ (New Normal) ซึ่งส่งผลกระทบกับระบบการศึกษาทำให้สถานศึกษาต้องปรับตัวเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ให้สอดคล้องกับความปกติใหม่ที่เกิดขึ้น การเสริมสร้างทักษะทางด้านการใช้งานเทคโนโลยีที่เหมาะสม ถือเป็นสิ่งจําเป็นต่อการดำเนินชีวิตในวิถีใหม่ ที่ต้องปรับการจัดการศึกษาในยุคนี้จะกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในทุก ๆ สถานที่ เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น และเกิดการโต้ตอบมากยิ่งขึ้น ด้วยการนําเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการเรียนการสอน (ธัญญ์นภัส วิรัตน์เกษม, 2564) นอกจากการพัฒนานักเรียนผ่านกระบวนการทางการศึกษาแล้ว การป้องกันและการช่วยเหลือแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดกับนักเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกมิติ ทั้งด้านการสื่อสาร เทคโนโลยี ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการระบาดของสารเสพติด ปัญหาครอบครัว ก่อใหเกิดความทุกข์ ความวิตกกังวล ความเครียด ซึ่งล้วนแต่เป็นผลเสียต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายของทุกคน จนนําไปสู่การเกิดปัญหาและสภาวะวิกฤติทางสังคม ดังนั้น ทุกภาคส่วนต้องพัฒนาตนเองให้ทันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตที่เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ส่งผลให้การดำรงชีวิตเป็นวงจรของความเป็นปกติใหม่ (New Normal) อย่างไม่มีที่สิ้นสุด กล่าวคือ เมื่อวิกฤตการณ์ใดเกิดขึ้นย่อมต้องมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นอยู่เดิมให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงนั้นจากความปกติเดิมสู่ความปกติใหม่เสมอ (สุพริศร์ สุวรรณิก, 2564)     ดังนั้น การบริหารสถานศึกษาในวิถีใหม่ (New Normal) ต้องให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 39 กำหนดว่าให้ กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไปไปยังคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง หลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉะนั้น บทบาทของสถานศึกษาจึงมีหน้าที่หลักในการบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมงานทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านงานวิชาการ งานงบประมาณ งานบุคลากร และงานบริหารทั่วไป ให้เกิดความสอดคล้องกับสังคมในยุคปัจจุบัน เพื่อบรรลุเป้าหมายของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ คือ มุ่งสร้างคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม มีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการทำงาน มีคุณธรรมจริยธรรมตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ โดยรัฐบาลมุ่งเน้นให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายหลักสามประการ คือ พัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษา และการเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา และมีกรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษาสี่ประการ คือ พัฒนาคณภาพคนไทยยุคใหม่ พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2552) พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงโลกในยุคศตวรรษที่ 21 และการเสริมสร้างปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพของคน ทั้งในเชิงสถาบัน ระบบโครงสร้างของสังคมให้เข้มแข็ง สามารถเป็นภูมิคุ้มกันการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา, 2555)     โรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงราย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จึงได้จัดการเรียนการสอนหลักสูตรคู่ขนานร่วมกับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ มาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โดยเน้นการพัฒนานวัตกรรมและกระบวนการเรียนรู้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีวิชาที่เรียนเป็นภาษาอังกฤษในรายวิชาเพิ่มเติม ได้แก่ Math Science และ Phonics ที่สอนโดยครูชาวต่างชาติ สามารถบูรณาการกับชีวิตจริงของผู้เรียน และใช้แนวการสอนตามแบบโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านการใช้สื่อทำมือและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน มุ่งหวังพัฒนาให้นักเรียนเป็นผู้มีความรู้ ทักษะ ปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงน้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการใช้ชีวิตในประจำวันที่จะพัฒนาศักยภาพและทักษะด้านวิชาการของผู้เรียนตามมาตรฐานสากลที่บูรณาการกับชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ     ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย ตระหนักถึงการยกระดับคุณภาพการศึกษา จึงสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ ซึ่งจะเป็นแนวทางให้โรงเรียนที่มีบริบทใกล้เคียงได้นำไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงการบริหารการศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษาให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป Methods and Materialsวัตถุประสงค์     1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่      2. เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่      3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่      4. เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ วิธีดำเนินการวิจัย     การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย เป็นงานวิจัยที่มีลักษณะวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ผู้วิจัยกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา (Research : R1) โดยดำเนินการ 2 ตอน คือ     ตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย      1. ขั้นตอนดำเนินการ          1.1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา แนวคิดการบริหารคุณภาพด้วยวงจรเดมมิ่ง แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในวิถีชีวิตใหม่ และแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบและการพัฒนารูปแบบ          1.2 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปจากการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)          1.3 สังเคราะห์องค์ประกอบ/ตัวบ่งชี้ของการการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อนำไปสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย และสร้างแบบสอบถามศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา     2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน คณะครู จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 487 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน คณะครู จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน โดยเก็บข้อมูลจากประชากร และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 215 คน โดยเทียบจำนวนประชากรทั้งหมด กับตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan)     3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย          3.1 แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของลิเคอร์ท (Likert)         3.2 การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ              ผู้วิจัยศึกษาแนวคิด หลักการ ทฤษฎี สังเคราะห์องค์ประกอบ/ตัวบ่งชี้ของการดำเนินของการบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อนำไปสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย แล้วนำไปเสนอผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 5 ท่าน พิจารณาความเหมาะสม จากนั้นสร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย โดยดำเนินการดังนี้              1) สร้างแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า(rating scale) ใหhเลือกตอบ 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ ตามกรอบแนวคิดการวิจัย             2) นำแบบสอบถามไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านประเมินความตรงเชิงเนื้อหา (content validity)             3) คัดเลือกข้อคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและจุดประสงค์ (Index of Item Objective Congruence: IOC) ตั้งแต่ 0.80 ขึ้นไป และปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ที่ปรึกษา             4) นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (try out) กับครูโรงเรียนในเขตเทศบาลเชียงราย จำนวน 20 คน5) นำข้อมูลที่ได้จากการทดลองใช้แบบสอบถาม (try out) ไปตรวจสอบหาความเชื่อมั่น (reliability) โดยใช้สูตร Cronbach’s alpha coefficient (Cronbach, 1970)     4. การเก็บรวบรวมข้อมูล          ประชุมครู และผู้ปกครอง เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการวิจัยพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย และขอเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ เมื่อได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาแล้ว ผู้วิจัยดำเนินการตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม     5. การวิเคราะห์ข้อมูล          ผู้วิจัยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยการแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ แล้วจะนำเสนอรูปตารางประกอบความเรียงท้ายตาราง และวิเคราะห์หาความต้องการจำเป็นโดยใช้วิธีจัดลำดับความสำคัญแบบและหาผลต่างโดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified)      ตอนที่ 2 ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของโรงเรียนต้นแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา          ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของสถานศึกษาที่มีผลงานด้านการบริหารสถานศึกษาที่เป็นเลิศ ระหว่างปี พ.ศ. 2561–2563 อย่างต่อเนื่อง จำนวน 3 โรงเรียน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ 1) โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น 2) โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด และ 3) โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว          1. ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนละ 1 คน และรองผู้อำนายการ โรงเรียนละ 1 คน จากสถานศึกษาที่มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) รวมทั้งสิ้น 6 คน         2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย             2.1 แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง             2.2 การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ                  1) สร้างเป็นข้อคำถามของแบบสัมภาษณ์                  2) นำข้อคำถามของแบบสัมภาษณ์ที่สร้างได้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ (ชุดเดิม)ตรวจสอบความเหมาะสมของแบบสัมภาษณ์ สำนวนภาษา และปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ                 3) นำแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นเรียบร้อยแล้วไปให้ผู้เชี่ยวชาญ (ชุดเดิม) ในการตรวจสอบเครื่องมือวิจัย พิจารณาความสอดคล้องระหว่างประเด็นข้อคำถามในการสัมภาษณ์ กับวัตถุประสงค์และนิยามศัพท์เฉพาะ ในขั้นตอนนี้ใช้การวิเคราะห์ความสอดคล้อง (IOC : Index of Congruence) โดยผู้วิจัยเลือกข้อคำถามที่มีค่าความสอดคล้องตั้งแต่ .60 ขึ้นไป                 4) ปรับปรุงแบบสัมภาษณ์ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ     3. การเก็บรวบรวมข้อมูล          ผู้วิจัยดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานต้นสังกัดของผู้ให้ข้อมูลและสัมภาษณ์ด้วยตนเอง โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้น ผู้วิจัยจัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีการจดบันทึก ใช้เครื่องบันทึกเสียงและกล้องถ่ายภาพ     4. การวิเคราะห์ข้อมูล          วิเคราะห์แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของโรงเรียนต้นแบบด้านการบริหารสถานศึกษา จากการสัมภาษณ์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)     ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา (Development : D1)         1. ขั้นตอนดำเนินการ             1.1 ศึกษาทฤษฎี แนวคิด เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทฤษฎีการบริหารสถานศึกษา และการพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษา              1.2 นำข้อมูลที่ได้จากข้อ 1 มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลสารสนเทศที่ได้ในขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย             1.3 นำร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย เบื้องต้น เสนอผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เพื่อให้ข้อเสนอแนะ โดยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group)             1.4 ปรับปรุงแก้ไขรูปแบบตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ             1.5 จัดทำคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย     2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย         2.1 แบบประเมินร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย         2.2 คู่มือการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย     3. การเก็บรวบรวมข้อมูล         ผู้วิจัยได้ดำเนินการนำร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย เสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่าน วิพากษ์ร่างรูปแบบการบริหารฯ โดยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) และประเมินรูปแบบการบริหารฯ ด้วยแบบประเมินที่สร้างขึ้น     4. การวิเคราะห์ข้อมูล         ผู้วิจัยได้แบ่งข้อมูลที่ได้ออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย ข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยจะรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณนำมาวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์ พร้อมทั้งดำเนินการปรับปรุงแก้ไขรูปแบบตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ จนได้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย ฉบับสมบูรณ์ สำหรับนำไปทดลองใช้ในขั้นตอนต่อไป     ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา (Research : R2)         ในขั้นตอนนี้ผู้วิจัยได้นำรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย มาทดลองใช้ในการบริหารสถานศึกษา โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลหลังการทดลอง (One Group Post-test Only) และจากการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากเอกสารสำคัญ เพื่อถอดบทเรียนการปฏิบัติ โดยมีขั้นตอนดังนี้         1. ขั้นตอนดำเนินการ             1.1 ผู้วิจัยดำเนินการชี้แจงแก่รองผู้อำนวยการ คณะครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ ทราบวิธีการดำเนินการตามคู่มือการใช้รูปแบบฯ และวิธีการประเมินผลหลังเสร็จสิ้นการทดลอง             1.2 ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการตามคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย              1.3 วิเคราะห์ผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย      2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย          แบบประเมินความเหมาะสมเชิงเนื้อหาของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย สำหรับรองผู้อำนวยการ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน      3. การเก็บรวบรวมข้อมูล         รวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมเชิงเนื้อหาของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาฯ กับผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน คณะครู จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน โดยเก็บข้อมูลจากประชากร ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 หลังการทดลองใช้รูปแบบการบริหารฯ     4. การวิเคราะห์ข้อมูล         ผู้วิจัยได้แบ่งข้อมูลที่ได้ออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย ข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยจะรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณนำมาวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์      ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษา (Development : D2)         ในขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ซึ่งประเมินโดยผู้ที่เกี่ยวข้องหลังจากที่ได้ทดลองใช้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนในปีการศึกษา 2565 โดยดำเนินการดังนี้         1. ขั้นตอนการดำเนินการนำรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย ไปสอบถามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบกับผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน          2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง              ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน คณะครู จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 487 คน              กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน คณะครู จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน โดยเก็บข้อมูลจากประชากร และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 215 คน โดยเทียบจำนวนประชากรทั้งหมด กับตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan)         3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย             3.1 แบบประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ และให้ข้อเสนอแนะต่อของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย             3.2 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย         4. การเก็บรวบรวมข้อมูล             การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน โดยผู้วิจัยดำเนินการนัดหมายวัน เวลาและสถานที่ เพื่อนำแบบประเมินฯ ไปเก็บข้อมูล กับกลุ่มตัวอย่างที่กำหนด          5. การวิเคราะห์ข้อมูล             5.1 ข้อมูลจากแบบประเมินความเหมาะสมกับการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประเด็นไหนที่มีค่าเฉลี่ยสูงแสดงว่าเรื่องนั้นมีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์กับการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย             5.2 ข้อมูลจากแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบฯ ให้ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม ตอนที่ 1 ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย โดยใช้วิธีหาค่าร้อยละ และบรรยายประกอบตาราง ตามคะแนนเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ประเด็นไหนที่มีค่าเฉลี่ยสูงแสดงว่าเรื่องนั้นมีความความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย Results     ผลการวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วย “PARTNER Model” ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัยเป็น 4 ตอน ดังนี้     ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา          1. กรอบแนวคิดการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา มีดังต่อไปนี้             1.1 การบริหารโรงเรียน ยึดตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550 ประกอบด้วย การบริหารงาน 4 ด้าน ได้แก่ การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป              1.2 คุณภาพการศึกษา ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น โดยอาศัยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องด้านนโยบายการยกระดับคุณภาพโรงเรียน หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของรัฐบาลด้านการศึกษา ด้านทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาในศตวรรษที่ 21 และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้วิจัยวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล และพัฒนากรอบคุณภาพการศึกษา โดยเน้นคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ในด้านคุณภาพผู้เรียน ได้แก่ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยพิจารณาจากผลการเรียนเฉลี่ย (GPA) และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) และ 2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ประกอบด้วย ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านทักษะชีวิต และด้านสุขภาพกาย         2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย              2.1 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านตามขอบข่ายการบริหารสถานศึกษา พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารทั่วไป รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ และการบริหารวิชาการ ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายด้านตามคุณภาพการศึกษา พบว่า การปฏิบัติเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติในระดับมากทุกด้าน ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีค่าเฉลี่ยมากกว่า ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน              2.2 สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เมื่อพิจารณารายด้านตามขอบข่ายการบริหารสถานศึกษา พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารทั่วไป รองลงมาคือ ด้านการบริหารงบประมาณ การบริหารวิชาการ และการบริหารงานบุคคล ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายด้านตามคุณภาพการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติมากที่สุดทุกด้าน และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีค่าเฉลี่ยมากกว่าด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน              2.3 ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย เมื่อพิจารณาตามขอบข่ายการบริหารสถานศึกษา พบว่า ด้านที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการบริหารวิชาการ รองลงมาคือ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามคุณภาพการศึกษา พบว่า ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความต้องการจำเป็นสูงกว่าด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังรายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 1 และ 2              สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ จำแนกตามขอบข่ายการบริหารงาน             ด้านการบริหารวิชาการ                     สภาพปัจจุบัน x : 3.75 S.D. : 0.74 แปลผล : มาก                     สภาพที่พึงประสงค์ x : 4.65 S.D. : 0.53 แปลผล : มากที่สุด                     PNImodified : 0.234             ด้านการบริหารงบประมาณ                     สภาพปัจจุบัน x : 3.82 S.D. : 0.76 แปลผล : มาก                     สภาพที่พึงประสงค์ x : 4.62 S.D. : 0.53 แปลผล : มากที่สุด                     PNImodified : 0.232             ด้านการบริหารงานบุคคล                     สภาพปัจจุบัน x : 3.80 S.D. : 0.79 แปลผล : มาก                     สภาพที่พึงประสงค์ x : 4.67 S.D. : 0.57 แปลผล : มากที่สุด                     PNImodified : 0.221             ด้านการบริหารทั่วไป                     สภาพปัจจุบัน x : 3.74 S.D. : 0.74 แปลผล : มาก                     สภาพที่พึงประสงค์ x : 4.71 S.D. : 0.50 แปลผล : มากที่สุด                     PNImodified : 0.217             รวม                     สภาพปัจจุบัน x : 3.77 S.D. : 0.75 แปลผล : มาก                     สภาพที่พึงประสงค์ x : 4.66 S.D. : 0.53 แปลผล : มากที่สุด                     PNImodified : 0.226              สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ จำแนกตามคุณภาพการศึกษา             ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน                      สภาพปัจจุบัน x : 3.72 S.D. : 0.73 แปลผล : มาก                     สภาพที่พึงประสงค์ x : 4.67 S.D. : 0.54 แปลผล : มากที่สุด                     PNImodified : 0.238             คุณลักษณะอันพึงประสงค์                     สภาพปัจจุบัน x : 3.84 S.D. : 0.76 แปลผล : มาก                     สภาพที่พึงประสงค์ x : 4.69 S.D. : 0.52 แปลผล : มากที่สุด                     PNImodified : 0.211             รวม                     สภาพปัจจุบัน x : 3.78 S.D. : 0.74 แปลผล : มาก                     สภาพที่พึงประสงค์ x : 4.68 S.D. : 0.53 แปลผล : มากที่สุด                     PNImodified : 0.224                      จากข้างต้นแสดงให้เห็นว่า สภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และจากตารางที่ 1 พบว่า ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นจากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ในด้านการบริหารวิชาการ มีความต้องการจำเป็นในระดับมากที่สุด โดยมีค่าดัชนี PNI = 0.234 และตารางที่ 2 พบว่า คุณภาพการศึกษาในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความต้องการจำเป็นในระดับมากที่สุด โดยมีค่าดัชนี PNI = 0.238          3. ผลการศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา จากสถานศึกษาที่มีผลงานด้านการบริหารสถานศึกษาที่เป็นเลิศ ระหว่างปี พ.ศ. 2561–2563 อย่างต่อเนื่อง เพื่อศึกษาวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น,โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด และโรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว โรงเรียนที่มีแบบวิธีปฏิบัติที่ดี 3 โรงเรียน ได้เสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา มีองค์ประกอบสำคัญสรุปได้ดังนี้             3.1 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ              3.2 กระบวนการบริหารอย่างมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา              3.3 เงื่อนไขความสำเร็จ คือ ผู้บริหารโรงเรียนต้องมีความเป็นผู้นำในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องให้ความร่วมมือดำเนินการอย่างจริงจัง และนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง     ตอนที่ 2 ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย         1. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย ด้วยนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแนวคิดการบริหารงานคุณภาพของเดมมิ่ง (Deming Cycle : PDCA) มาใช้ร่วมกับการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ทำให้ผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดความพึงพอใจในประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 3 ระบบกลไก องค์ประกอบที่ 4 วิธีการดำเนินงาน 7 ขั้นตอน ที่เรียกว่า “PARTNER Model” ขั้นที่ 1 นำนโยบายสู่การวางแผนงานอย่างมีส่วนร่วม (Policy/Plan/Participated) ขั้นที่ 2 รวบรวมปัญหา และแนวทางแก้ปัญหา (Access for Action) ขั้นที่ 3 ดำเนินการตามแผนที่ยืดหยุ่นได้ (Run and Resilience) ขั้นที่ 4 สร้างพลังความเชื่อมั่นทางวิชาการแก่สังคม (Trust) ขั้นที่ 5 ปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ในวิถีชีวิตใหม่ (New normal) ขั้นที่ 6 จัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (Environment) ขั้นที่ 7 สรุปผลการจัดการศึกษา เพื่อการพัฒนาปรับปรุงต่อไป (Reporting) และองค์ประกอบที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ          2. ผลตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ตอนที่ 3 ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย ผู้บริหารสถานศึกษาได้ดำเนินการทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยปรับนโยบายของโรงเรียนให้เป็นนโยบายเชิงรุก ดำเนินการบริหารด้วย “PARTNER Model” ผู้บริหารอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมหรือการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ครูผู้สอนรวมพลังวิเคราะห์ วางแผน หาแนวทางในการดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบควบคู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนที่เน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และสื่อที่หลากหลาย รวมทั้งปรับวิธีสอนให้เป็น Active Learning เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมทั้งการปรับเปลี่ยนวิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายตามศักยภาพของนักเรียน ส่งเสริมให้ครูสอนเพิ่มเติม ทำวิจัยในชั้นเรียน และการติวนักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนมากขึ้น ครูประจำชั้นมีบทบาทหน้าที่ในการดูแลช่วยเหลือ และสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งผู้ปกครองมีบทบาทหน้าที่ในการดูแลและช่วยเหลือนักเรียนในการทบทวนบทเรียน ทำงานที่ได้รับมอบหมายเมื่ออยู่ที่บ้าน หลังการทดลองใช้รูปแบบได้ให้ครูประเมินความเหมาะสมเชิงเนื้อหาของรูปแบบ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับดีมาก     ตอนที่ 4 ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย          1. ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด          2. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย พบว่า มีความเป็นประโยชน์ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด          ผลจากการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ ส่งผลให้คะแนนการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศทุกกลุ่มสาระ Discussion     ผู้วิจัยมีประเด็นที่นำมาสู่การอภิปราย ดังนี้         1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ในภาพรวมพบว่าสภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปjจจุบันทุกด้าน แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ ยังต้องได้รับการพัฒนาในทุกด้าน สอดคล้องกับงานวิจัยของ ทัศพร ปูมสีดา,ชญาพิมพ์ อุสาโห และพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ (2564) ที่ได้ศึกษาการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา พบว่า โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กส่วนใหญ่ประสบปัญหา 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ความต้องการจำเป็น จำแนกตามการบริหารงาน พบว่า การบริหารวิชาการมีความต้องการจำเป็นมากที่สุด สอดคล้องกับ Hoy and Miskel (2007) ที่ได้กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอน ถือเป็นแก่นของการบริหารโรงเรียน และถือเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา ผู้บริหารควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก และถือเป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนการสอน          2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ระบบกลไก วิธีการดำเนินงาน 7 ขั้นตอน ที่เรียกว่า “PARTNER Model” และเงื่อนไขความสำเร็จ และผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า รูปแบบโดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะว่า ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อนำมาสังเคราะห์ได้องค์ประกอบของรูปแบบ และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ จึงได้รูปแบบจากข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ ดำรงค์ บุญกลาง และคณะ (2560) ที่ได้พัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือ และงานวิจัยของ ทนงศักดิ์ โพธิ์เกตุ (2564) ได้เสนอรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนบ้านดอนแยง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 และผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด         3. จากการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย พบว่า โรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ มีผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับดีมาก สอดคล้องกับผลการวิจัยของ พายุ วรรัตน์ (2560) ที่พบว่า ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพอาเซียนของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นการดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมของครูทั้งโรงเรียน จึงส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าโรงเรียนได้ส่งเสริมให้ครูโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ ทำวิจัยในชั้นเรียน และการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ และพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียน สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครู นักเรียน และผู้ปกครอง ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา          4. ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะว่า ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวนำข้อมูลไปสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพ และนำไปผ่านกระบวนการสนทนากลุ่ม ให้ผู้ทรงคุณวุฒิได้วิพากษ์และประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ จึงได้รูปแบบที่เป็นข้อมูลมาจากข้อมูลเชิงคุณภาพและมีแนวปฏิบัติที่ดีเหมาะกับบริบทของโรงเรียน สอดคล้องกับงานวิจัยของ อร่าม วัฒนะ (2561) ที่พบว่ารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด Conclusion and Suggestions         1. ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญกับการบริหารวิชาการเป็นอันดับแรก เพราะจากการวิจัยพบว่า การบริหารวิชาการมีความต้องการจำเป็นสูงสุดและเป็นงานที่ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพผู้เรียน โดยเฉพาะด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน         2. โรงเรียนควรส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความสามารถของครูผู้สอนเพิ่มมากขึ้น โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง         3. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ควรสร้างความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนกับโรงเรียน โรงเรียนกับชุมชน โรงเรียนกับผู้ปกครอง เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมการเรียนรู้แก่นักเรียน Acknowledgments     การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ สำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้ด้วยการรวมพลังครูโรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่ ขับเคลื่อน “PARTNER Model” เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วยใจรักในวิชาชีพครูอย่างแท้จริง ผู้วิจัยขอขอบคุณครู และผู้ปกครองนักเรียนทุกท่านที่ให้เกียรติและสนับสนุนทุกกิจกรรมให้สำเร็จราบรื่นเป็นอย่างดี Referencesดำรงค์ บุญกลาง และคณะ. (2560).     การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือ.     JOURNAL OF NAKHONRATCHASIMA COLLEGE Vol.11 No.2 May – August 2017.ทนงศักดิ์ โพธิ์เกตุ. (2564). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนบ้านดอนแยง     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4.     วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม 2564.ทัศพร ปูมสีดา,ชญาพิมพ์ อุสาโห และพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2564).     การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา.     วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 49 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2564.ธัญญ์นภัส วิรัตน์เกษม. (2564).     การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมในวิถีชีวิตความปกติใหม่ (New Normal)     ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. 7(2). 114-127.ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย. (2560). พื้นฐานการจัดการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุง).     กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.      พายุ วรรัตน์. (2560).     การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพอาเซียนของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์.ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.      มนต์นภัส มโนการณ์. (2561). การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์,      19(1), 1-15.มณฑล จันทร์แจ่มใส. (2558).     โครงการถอดชุดประสบการณ์การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน :      กรณีศึกษาการบูรณาการการจัดการเรียนรู้วิชาออกแบบสถาปัตยกรรมกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย.     วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 10(1), 143-156.วิจารณ์ พานิช. (2557). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล.สุพริศร์ สุวรรณิก. (2564). โลกจะเปลี่ยนไปอย่างไรหลังโควิด-19 จบลง?. สืบค้นจาก      https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/aticle/Page/Areticle_30Mar2020.aspxสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2561).     การขับเคลื่อนการศึกษามัธยมศึกษาไทย 4.0 เพื่อการมีงานทำแห่งศตวรรษที่ 21.     กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2558).     เเนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.อร่าม วัฒนะ. (2561). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด.     ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.อัจฉรา นิยมาภา. (2564). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ในบริบทที่เปลี่ยนแปลง.      วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ.ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (ก.ค. –ธ.ค.) 2564.Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2007). Educational administration: Theory, research and practice (6th ed.).     McGrawHill.Saavedra, A. R. and Opfer, V. D. (2012, April). Teaching and learning 21st century skills : Lessons     from the learning sciences. Asia Society, Retrieved on June 15, 2018,     from https://asiasociety.org/education/teaching-and-learning-21st-century-skills.  

Powered by GliaStudio
ชุดข้าราชการ ชุดข้าราชการหญิง ชุดกากี ชุดข้าราชการ shopee
Back to top button