การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้                        
                  1) การศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาสภาพรูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้       เพื่อส่งเสริม การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
                  2) การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มาร่างรูปแบบการบริหาร จัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ตรวจสอบ ความเหมาะสมของรูปแบบด้วยการสอบถามการยืนยันผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน                  
                  3) การทดลองใช้รูปแบบ การบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มเป้าหมายได้จากการเลือกแบบเจาะจงจากสถานศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียงกับ สถานศึกษาของผู้วิจัย
                   4) การประเมินผลความพึงพอใจผลของรูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ไปใช้ด้วยการตอบแบบสอบถามและรับทราบ ความคิดเห็นจากผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
 
            ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดทฤษฎีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร การบริหารจัดการศึกษา แบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์หน่วยการรู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (3 หลักการ 2 เงื่อนไข 4 มิติ) การประเมินคุณภาพสถานศึกษาพอเพียงและการนิเทศเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา มีคุณภาพอย่างยั่งยืนและวงจรคุณภาพ PDCA รูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่
                          1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร
                          2) การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม
                          3) การวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาฯ(3หลักการ 2 เงื่อนไข 4 มิติ)
                          4) การประเมิน คุณภาพสถานศึกษาพอเพียง และ
                          5) การนิเทศเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษามีคุณภาพอย่างยั่งยืน
                 ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก่อนทดลองใช้ พบว่า การบริหารจัดการและการจัด กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง และหลังทดลองใช้รูปแบบ พบว่า การบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมิน ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า โดยรวมและรายองค์ประกอบของรูปแบบอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาโดยใช้รูปแบบ พบว่า โดยรวมและรายองค์ประกอบ อยู่ในระดับมาก
 
 
 
 
 
 
 
 
รูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์)
 
 
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
 
 

 
 
 

 

 

 
 
 

 
 

 
 
 
 

 

 

 

 
 
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
                                                    กิตติกรรมประกาศ

  • บทนำ

การจัดการศึกษาตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2545 – 2564) ซึ่งเป็น      แผนยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาที่มีความสอดคล้องกันทั้งประเทศ ได้นำแนวคิดว่าด้วย“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญาพื้นฐานของแผนการศึกษาแห่งชาติ โดยเป็นแผนบูรณาการ แบบองค์รวมคือ มีการเชื่อมโยงการพัฒนาการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ เป็นกระบวนการเดียวกันคำนึงถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยมีครอบครัวเป็นสถาบันหลัก       ที่สำคัญที่สุด ตลอดจนมีการผสมผสานวิทยาการสมัยใหม่ให้เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งกระบวนการดังกล่าว จะพัฒนาผู้เรียน ทั้งในด้านศักยภาพทางวิชาการ และคุณธรรมจริยธรรมอันเป็นคุณลักษณะ         ที่สำคัญยิ่ง ในการก้าวไปสู่ความพอเพียง ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ โดยยึดหลักทางสายกลางและความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนการใช้ความรู้ ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และมีคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ และการกระทำ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปเป็นพื้นฐานและแนวทางในการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ เพื่อให้ก้าวทัน ต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ โดยการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน อันจะทำให้ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข สังคมมีความเข้มแข็งและประเทศชาติมั่นคง ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายและเป้าหมายการขับเคลื่อนหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ให้เป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหาร จัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะต้องมีแนวทางการดำเนินงานสู่สถานศึกษาพอเพียงที่ดี เพื่อเป็นแนวทางให้กับสถานศึกษาอื่นในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ทั้งในด้านการบริหารจัดการ ศึกษาและการจัดการเรียนการสอน เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จักใช้ชีวิตที่พอเพียง เห็นคุณค่าของทรัพยากร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และแบ่งปัน มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม เห็นคุณค่าของวัฒนธรรม ค่านิยมและเอกลักษณ์ของ ความเป็นไทย โรงเรียนในฐานะหน่วยงานทางการศึกษาที่ให้ความรู้ อบรมสั่งสอนเยาวชนจึงมีหน้าที่ ในการนำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาถ่ายทอดโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา (สำนักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2550 : 3)
 
 
 
โรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) จึงได้นำพระราชดำรัสปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ  ยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ มาส่งเสริม ให้สถานศึกษาในสังกัดนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยบูรณาการเข้ากับ การบริหารการศึกษา การจัดประสบการณ์หรือกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อให้เกิดการพัฒนา ที่ยั่งยืน ทางโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) ได้ผ่านการประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “สถานศึกษาพอเพียง” ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ และพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงด้านการศึกษา โรงเรียนจะต้องพัฒนาให้เป็นสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ เพื่อให้การขับเคลื่อน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาเกิดความยั่งยืนพร้อมทั้งเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เป็นแหล่งศึกษาดูงานของสถานศึกษาอื่นๆ ในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบริหาร จัดการสถานศึกษา ซึ่งสถานศึกษาพอเพียงยังขาดการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและไม่มีแนวทางที่ชัดเจน ในการพัฒนาให้เป็นสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ม, 2558 : 5)
ผู้วิจัยในฐานะ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จึงมีความสนใจที่จะพัฒนา รูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) เข้าสู่สถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ เพื่อเป็นแนวทางให้สถานศึกษาพอเพียงพัฒนาสู่สถานศึกษาพอเพียง ต้นแบบเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นระดับคุณภาพที่จะพัฒนาไปสู่ ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ดังนั้นผู้วิจัยจึงทำการศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาการดำเนินงานสู่สถานศึกษาพอเพียง ต้นแบบ และพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรม        การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) ไปสู่สถานศึกษาพอเพียง ต้นแบบ สำหรับโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  1. เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาปัจจุบันและองค์ความรู้ประกอบการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียน เทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์)
  2. เพื่อพัฒนาแลประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์)
  3. เพื่อทดลองใช้และศึกษาความพึงพอใจของรูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์)

คำถามการวิจัย

  1. สภาพปัญหาปัจจุบันและองค์ความรู้ประกอบการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) เป็นอย่างไร
  2. การพัฒนาการใช้รูปแบบที่มีประสิทธิภาพ และการประเมินที่มีประสิทธิผล ในการดำเนินงานสู่สถานศึกษาพอเพียงต้นแบบโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) ควรเป็นอย่างไร

          ขอบเขตของการวิจัย

  1. ขอบเขตด้านเนื้อหา

                      การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กรอบแนวคิดของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (3 หลักการ 2 เงื่อนไข 4 มิติ)

  1. ขอบเขตประชากรและกลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล

          เพื่อให้สอดคล้องกับคำถามและความมุ่งหมายการวิจัย ผู้วิจัยจึงนำเสนอแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้
                  ระยะที่ 1 การวิเคราะห์การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรม  ประชากร ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีวิทยฐานะเชี่ยวชาญ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีวิทยฐานะผู้อำนวยการเซี่ยวชาญ 3 คน และอาจารย์มหาวิทยาลัย 2 คน รวม 5 คนได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง
                 ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรม ประชากร ได้แก่             (1) คณะกรรมการสถานศึกษา 5 คน  ผู้วิจัยจะศึกษาจากประชากร (2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรม 5 คน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีวิทยฐานะ เชี่ยวชาญ 3 คน และอาจารย์มหาวิทยาลัย 2 คน
                 ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษา 5 คน คณะกรรมการ เครือข่ายผู้ปกครอง 5 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 50 คน ผู้ปกครอง นักเรียน 55 คน ของโรงเรียนเทศบาล 4 จำนวน 115 คน
                 ระยะที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการประเมินความพึงพอใจของเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษา 5 คน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง 5 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 50 คน ผู้ปกครอง นักเรียน จำนวน 55 คน ของโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) รวมจำนวน 115 คน
   รูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาฯ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

  • นิยามศัพท์เฉพาะ

          การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) มาบริหารจัดการสถานศึกษา   ซึ่งมี องค์ประกอบ ดังนี้

  1. รูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง รูปที่กำหนดขึ้นเป็นแนวเพื่อการสร้างหรือทำซ้ำเป็นแบบจำลองใช้เป็นตัวแทน ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เป็นหลักการแนวคิดที่แสดงความเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่างๆ ให้เห็นเป็นภาพ หรือข้อความอย่างง่ายเกี่ยวกับการลำดับขั้นตอนการปฏิบัติเชิงแผนผัง เพื่อสร้างสัญลักษณ์ ที่แท้จริงของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นรูปธรรมและเป็นระบบ ในการจัดกระบวนการดำเนินงานกิจกรรมด้านต่างๆ ของการพัฒนา โรงเรียนสู่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์)

                   2.การบริหารแบบมีส่วนร่วม หมายถึง การที่สถานศึกษานั้นมีการมอบหมายหน้าที่ให้ผู้บริหาร สถานศึกษา ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันประเมินการดำเนินงานให้ข้อเสนอแนะแนวทางดำเนินการของโครงการ งานกิจกรรม เมื่อสิ้นสุดการดำเนินการรายงานเผยแพร่ให้บุคลากรทุกคนในสถานศึกษาได้รับรู้ เพื่อนำผลไปพัฒนากระบวนการทำงานเพื่อให้ทราบถึงผลดีผลเสียและหาทางแก้ไข ปรับปรุงการดำเนินงาน ในครั้งต่อไป ประกอบด้วย 

  1. สถานศึกษาพอเพียง หมายถึง สถานศึกษาได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามแนวทาง การประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง(สถานศึกษาพอเพียง) เป็นการประเมินระดับคุณภาพ/การปฏิบัติของสถานศึกษาใน 5 ด้าน 17 องค์ ประกอบ 62 ตัวชี้วัด
  2. สถานศึกษา หมายถึง โรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
  3. ผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาและ รองผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัด สมุทรปราการ
  4. การนิเทศเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา หมายถึง การกระตุ้นส่งเสริมสนับสนุน ติดตาม กำกับ ตรวจสอบประเมินผล การดำเนินการขับเคลื่อนปรัญญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา

            อภิปรายผลการวิจัย
            จากการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) ประกอบด้วย 5องค์ประกอบ มีประเด็นที่ในแต่ละองค์ประกอบ ได้ดังนี้
                   องค์ประกอบที่ 1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร ประกอบด้วย การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร การเปรียบเทียบสมรรถนะ หลักการประเมินตนเอง หลักการที่นับว่าเป็นการประเมินตนเอง วิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กร ปัจจัยภายนอกขององค์กร เปรียบเทียบสมรรถนะขององค์กร
                   องค์ประกอบที่ 2 หลักของการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 4 ข้อ การมีส่วนร่วมตัดสินใจ การมีส่วนในการวางแผน การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการประเมินผล
                   องค์ประกอบที่ 3 การวิเคราะห์หน่วยการรู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง    (3 หลักการ 2 เงื่อนไข 4 มิติ) ประกอบด้วย ความพอประมาณ การมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกัน ความรู้คุณธรรมและจริยธรรม มิติด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ มิติด้านสังคม มิติด้านสิ่งแวดล้อม มิติด้านวัฒนธรรม
                   องค์ประกอบที่ 4 การประเมินสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                       4.1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) นโยบาย 2) วิชาการ              3)งบประมาณ 4) บริหารทั่วไป
                       4.2 ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) หน่วยการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดกิจกรรม       การเรียนรู้ 3) สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) การวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                       4.3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วย 1) การแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน 2) กิจกรรมนักเรียน 3) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
                       4.4 ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) การพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) การติดตามและขยายผล
                       4.5 ผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารสถานศึกษา 2) ครูผู้สอน         3) บุคลากรทางการศึกษา 4) ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และชุมชน 5) นักเรียน
                   องค์ประกอบที่ 5 การนิเทศเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษามีคุณภาพอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การวางแผนการนิเทศ 3) การดำเนินการนิเทศเพื่อพัฒนางาน     ในสถานศึกษา 4) การประเมินการดำเนินงาน 5) สรุปผลการดำเนินงาน และแนวทางการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
 
 
บรรณานุกรม
 
ณัฐพร เอี่ยมหรุ่น. (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพ
            ชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์
            การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. นครปฐม :
            มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทรงศักดิ์ โฉมเฉลา. (2557). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้และบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญา
            ของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26.
            วิทยานิพนธ์ คม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นันทกาญจน์ ชินประหัษฐ์ และศาลินา บุญเกื้อ. (2558). การศึกษาภาพความสำเร็จของการจัดการศึกษา
            ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานวิจัยศูนย์สถานศึกษาพอเพียงมูลนิธิยุวสถิรคุณ.
สมรภูมิ อ่อนอุ่น. (2557). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ
            โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 38.
            รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ
            (Proceedings) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15.
อัจฉรา โยมสินธุ์. (2559). “ ชีวิตสมดุลของครูพอเพียงแบบอย่าง” รายงานการวิจัยเชิงพัฒนาศูนย์
            สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ.
อัญญารัตน์ นาเมือง. (2566). การพัฒนารูปแบบบริหารสถานศึกษาบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
            พอเพียงเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวน
            รังสรรค์) สังกัดเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. 
            วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 10
            ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2566.
Calkins, Peter. (2009). ”Sufficiency Economy Matrices : Multi-Period Optimization for
            Local Development Planners,” Journal of Economics and Management Canada:
            Laval University Canada.5,2.
Cronbach, Lee J.,Essential of psychological Testing, 3th ed. New York : Herper & Row
            Dessler, Gard Personnel : Human Resources Management,4.
Hong Philip Young P., Vamadu A. Sheriff, and Sandra R. Naeger, (2009) “A Bottom-up
            Definition of Self-sufficiency Voices from Low-income Jobseekers,” Qualitative
            Sovial Work 8,3 ,September 2009.
 

Powered by GliaStudio
Back to top button