การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร)

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร)

ชื่อเรื่อง           การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร)
ผู้วิจัย             นางสาวพจนีย์  กุลกัลยา  ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
                   โรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร) เทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
ปีที่วิจัย           2565
 
บทคัดย่อ
 
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร) วัตถุประสงค์         ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร)
2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร) และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้               โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร)                 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ครูผู้สอนในโรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) จำนวน 31 คน และนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) จำนวน 560 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน แบบสังเกต และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า
          การดำเนินการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร) สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้

  1. ผลการศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น โรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร) 5 ด้าน พบว่า

          ด้านที่ 1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา การนําผลการติดตามมาพัฒนานโยบาย/แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยให้ความสำคัญกับความเป็นท้องถิ่น ความเป็นไทย และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในสถานศึกษา พบว่า มีค่อนข้างน้อย ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาไม่นำรายงานผลการปฏิบัติงานของปีที่ผ่านมาไปทบทวน ปรับปรุง พัฒนากำหนดไว้           ในแผนปฏิบัติการ ทำให้การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการไม่ตรงประเด็น และไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง         ในปัญหาที่เกิดขึ้น
          ด้านที่ 2 ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาไม่นำนโยบายหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติและไม่เห็นความสำคัญของการนำหลักสูตรสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูยังไม่เข้าใจหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สาระการเรียนรู้ ครูส่วนใหญ่ไม่ให้ความตระหนักและความสนใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีคุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูเพื่อส่งเสริมการใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและนอกสถานศึกษา พบว่า มีค่อนข้างน้อย และการจัดกิจกรรมไม่ส่งผลเพื่อฝึกนักเรียนถอดบทเรียน การเรียนรู้สู่วิถีความพอเพียง
          ด้านที่ 3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษาดำเนินการการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง ได้อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครูขาดการเอาใจด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและชื่นชมให้กำลังใจผู้เรียนเพื่อเป็นการเสริมแรงทางบวก ทั้งนี้ ครูผู้สอนยังไม่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการตั้งคำถาม
ให้นักเรียนคิดและให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการพูดคุยเชื่อมโยงเพื่อใช้เหตุและผลเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเชิงบวกและจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมปลูกฝังพฤติกรรมมีค่อนข้างน้อย โดยผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครูต้องนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการสู่การปฏิบัติจริงในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
          ด้านที่ 4 ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา สถานศึกษาดำเนินการวิเคราะห์แผนงาน/โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในคุณค่าของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้ความสำคัญกับความเป็นท้องถิ่น ความเป็นไทย และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาขาดการส่งเสริมพัฒนาบุคลากรต่อการสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการติดตามผลการจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากร ส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามหลักปรัชญา                    ของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า มีค่อนข้างน้อย โดยผู้บริหารสถานศึกษาต้องดำเนินการวางแผนพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาทุกด้านตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
          ด้านที่ 5 ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ การส่งเสริมให้ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุล และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัฒนธรรมและบุคลากรของสถานศึกษามีความรู้      ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ผู้บริหารต้องมีภาวะของผู้นำ มีความรู้ความเข้าใจ และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติจริง สามารถเป็นบุคคลตัวอย่าง (Key Person) ให้กับองค์กร ซึ่งลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความนับถือศรัทธาต่อคณะครู นักเรียน ชุมชน ซึ่งเป็นความสำคัญต่อภาพความสำเร็จของงาน การสร้างจุดเด่นขององค์กร สถานศึกษา สามารถจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนข้อมูล และสะท้อนผลการปฏิบัติงานเพื่อทำให้ทราบถึงคุณลักษณะความสำเร็จ ของสถานศึกษา และเป็นภาพคุณลักษณะนิสัยจนเป็นวิถีความพอเพียง

  1. ผลการศึกษาการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร) พบว่า โครงสร้างของรูปแบบประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ส่วนที่ 1 แนวคิดและหลักการ ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ ส่วนที่ 3 กระบวนการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4 ขั้นตอนและสาระการพัฒนา 5 ด้าน 13 ประเด็นการพัฒนา 46 แนวทางดำเนินการ 65 วิธีการพัฒนา และ 36 เงื่อนไขความสำเร็จ โดยประเด็นสำคัญที่ต้องได้รับการพัฒนาแต่ละองค์ประกอบ  มีดังนี้

            2.1 แนวคิดและหลักการประเด็นสำคัญ พบว่า เป็นรูปแบบที่เปิดโอกาสให้ครูสามารถพัฒนาตนเองเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ ๆ และดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องด้วยตนเองเป็นระยะ และต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถบริหารจัดการสถานศึกษา โดยยึดหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงให้เหมาะสมกับบริบและวัฒนธรรมขององค์กร พัฒนาแนวคิด ศึกษาหาความรู้สร้างสรรค์นวัตกรรม สื่อการเรียนรู้ใหม่ ๆ สร้างเจนตคติ ค่านิยมที่เหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีนำสู่การปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
          2.2 วัตถุประสงค์ ประเด็นสำคัญ พบว่า เป็นรูปแบบเพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษาและครูสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการ ขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ            โดยประยุกต์ใช้กับการบริหารสถานศึกษา และเพื่อนำเสนอประเด็นแนวทางดำเนินการ วิธีการพัฒนา เงื่อนไขความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร)
          2.3 กระบวนการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 เตรียมการก่อนการพัฒนา ขั้นตอนที่ 2 ประเมินตนเองก่อนการพัฒนา ขั้นตอนที่ 3 การบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น 5 ด้าน 13 ประเด็นการพัฒนา 46 แนวทางดำเนินการ           65 วิธีการพัฒนา และ 36 เงื่อนไขความสำเร็จ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินหลังการพัฒนา และพัฒนาซ้ำ กรณีไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
          ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ ประเมินโดยผู้บริหารระดับปฏิบัติการ จำนวน 6 คน มีความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ย 4.80 อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นประโยชน์ มีค่าเฉลี่ย 4.81 อยู่ในระดับมากที่สุด

  1. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร) พบว่า ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก่อนการพัฒนาด้วยรูปแบบ ผู้ร่วมวิจัยได้คะแนนเฉลี่ย 20.33 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 67.78 และมีผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 3 คน  หลังการพัฒนาด้วยรูปแบบ พบว่า ผู้ร่วมวิจัยได้คะแนนเฉลี่ย 26.50 คิดเป็นร้อยละ 88.33 จะเห็นได้ว่าผู้ร่วมวิจัย             ทุกคนมีคะแนนความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหลังการพัฒนาด้วยรูปแบบ  สูงกว่าก่อนการพัฒนาด้วยรูปแบบ ผลการประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยผู้นิเทศภายใน พบว่า โดยรวมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีระดับความเหมาะสมของการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก                  ( = 4.35) และนักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง โดยค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.98 , S.D = 0.45) 
  2. 4. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร) พบว่า การทดสอบความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก่อนการพัฒนาด้วยรูปแบบ ผู้ร่วมวิจัยได้คะแนนเฉลี่ย 21.10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 70.33 และมีผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 5 คน หลังการพัฒนาด้วยรูปแบบ พบว่า ผู้ร่วมวิจัยได้คะแนนเฉลี่ย 25.83 คิดเป็นร้อยละ 86.1 จะเห็นได้ว่าผู้ร่วมวิจัยทุกคน มีคะแนนความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหลังการพัฒนาด้วยรูปแบบสูงกว่าก่อนการพัฒนาด้วยรูปแบบ ผลการประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยผู้นิเทศภายใน พบว่า โดยรวมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีระดับความเหมาะสมของการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (= 3.78) และนักเรียน           มีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง                โดยค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.19 , S.D =47)   

 
 

Powered by GliaStudio
Back to top button