การพัฒนารูปแบบการสอนนาฏศิลป์ โดยใช้การสอนแบบทักษะการปฏิบัติ (Harrow) เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนนาฏศิลป์ โดยใช้การสอนแบบทักษะการปฏิบัติ (Harrow) เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย กรพินธ์ เหมะธุรินทร์
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการสอนนาฏศิลป์ โดยใช้การสอนแบบทักษะการปฏิบัติ (Harrow) เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการสอนนาฏศิลป์ โดยใช้การสอนแบบทักษะการปฏิบัติ (Harrow) เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ 2) รูปแบบการสอนนาฏศิลป์ โดยใช้การสอนแบบทักษะการปฏิบัติ (Harrow) เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสอนนาฏศิลป์ โดยใช้การสอนแบบทักษะการปฏิบัติ (Harrow) เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการสอนนาฏศิลป์ โดยใช้การสอนแบบทักษะการปฏิบัติ (Harrow) เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ ชุด ฟ้อนสักการะพระธาตุเมืองพล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัตินาฏศิลป์ 4) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัตินาฏศิลป์ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ ที่มีต่อรูปแบบการสอนนาฏศิลป์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติค่าที (t – test Dependent) และ การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
- ครูผู้สอนมีความต้องการพัฒนารูปแบบการสอนนาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 พัฒนาทักษะการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะการปฏิบัติของผู้เรียน ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนนาฏศิลป์เสนอให้ครูใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการมีส่วนร่วม และตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ผู้เรียนนำความรู้และทักษะไปใช้ได้อย่างสวยงามและมีคุณค่าทางวัฒนธรรม
- รูปแบบการสอนนาฏศิลป์ โดยใช้การสอนแบบทักษะการปฏิบัติ (Harrow) เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการสอน การวัดและประเมินผล และปัจจัยและเงื่อนไขการใช้ มีขั้นตอนการสอนชื่อว่า “SILAEM Model” ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Stimulate) ขั้นที่ 2 การเลียนแบบ (Imitate) ขั้นที่ 3 เรียนรู้โดยฝึกปฏิบัติตรง (Learning By Doing) ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ (Exchange learning) ขั้นที่ 5 นำความรู้และทักษะไปใช้ (Apply knowledge) ขั้นที่ 6 วัดและประเมินผล (Measure and Evaluation) เกณฑ์คุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
- ประสิทธิผลของรูปแบบการสอนนาฏศิลป์ โดยใช้การสอนแบบทักษะการปฏิบัติ (Harrow)
เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ พบว่า
3.1 นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัตินาฏศิลป์ หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการ
สอนนาฏศิลป์ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 นักเรียนมีความสามารถในการปฏิบัตินาฏศิลป์ หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนนาฏศิลป์
โดยใช้การสอนแบบทักษะการปฏิบัติ (Harrow) เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ โดยรวมอยู่ ในระดับดี
3.3 ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการสอนนาฏศิลป์ โดยใช้การสอนแบบทักษะ
การปฏิบัติ (Harrow) เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด