การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง เครื่องดื่มสู่อาชีพ วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง เครื่องดื่มสู่อาชีพ วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพข้อมูลพื้นฐานและปัญหาในการพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง เครื่องดื่มสู่อาชีพ วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง เครื่องดื่มสู่อาชีพ วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) ตรวจสอบรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง เครื่องดื่มสู่อาชีพ วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 27 คน จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง เครื่องดื่มสู่อาชีพ วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดทักษะปฏิบัติ 5) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ 6) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x bar) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test for dependent samples) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริม ทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง เครื่องดื่มสู่อาชีพ วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า สภาพปัจจุบันด้านการจัดการเรียนการสอนการงานอาชีพ ครูผู้สอนจะใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย ยึดเนื้อหาตามหนังสือเรียนเป็นหลัก ให้นักเรียนทำใบงาน มีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่ไม่หลากหลาย ไม่ดึงดูดความสนใจของนักเรียน นอกจากนี้จะใช้วิธีการสอนแบบสาธิตและให้นักเรียนปฏิบัติทำตามแบบที่ครูสอนเท่านั้น ส่งผลให้นักเรียนขาดความคิดสร้างสรรค์ ครูผู้สอนขาดการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่ม ทำให้นักเรียนไม่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการให้จัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ฝึกปฏิบัติ ศึกษาค้นคว้า มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่ม และสมาชิกกลุ่มควรเป็นสมาชิกที่นักเรียนเป็นคนตัดสินใจเลือกตามความพึงพอใจ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง เครื่องดื่มสู่อาชีพ วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รูปแบบการสอนที่มีชื่อว่า ABIACE MODEL ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 7 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบการสอน 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5) การวัดและประเมินผล 6) การนำรูปแบบการสอนไปใช้ และ 7) ผลที่ได้จากรูปแบบการสอน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มี 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างความสนใจ (Attraction: A) 2) ขั้นระดมสมอง (Brainstorming: B) 3) ปฏิบัติตามแบบ (Imitation: I) 4) ขั้นฝึกปฏิบัติและให้เทคนิค (Advice: A) 5) ขั้นสร้างสรรค์ผลงาน (Creativity: C) และ 6) ขั้นนำเสนอและประเมินผล (Exhibit and Evaluation: E)
3. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการสอน พบว่า ผลการประเมินโดยรวม อยู่ในระดับมาก ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง เครื่องดื่มสู่อาชีพ วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า 1) การทดลองแบบกลุ่มเดี่ยว มีประสิทธิภาพเท่ากับ 71.67/67.78 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) การทดลองแบบกลุ่มเล็ก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.67/72.96 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และ 3) การทดลองภาคสนาม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.83/81.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4. ผลการตรวจสอบรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง เครื่องดื่มสู่อาชีพ วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า
4.1 รูปแบบการสอน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.21/85.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการสอนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.3 ทักษะปฏิบัติของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการสอนได้คะแนนคิดเป็นร้อยละ 87.04 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4.4 ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.5 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก